โมเดลการจัดการความรู้การปลูกพืชเพื่อความมั่นคงทางอาหาร ในภาคกลางของประเทศไทย

Main Article Content

อรุณรัตน์ ไกรลาศศิริ
เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ
บำเพ็ญ เขียวหวาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพพื้นฐานทั่วไป การได้รับการจัดการความรู้ การได้รับและความต้องการความรู้การปลูกพืชเพื่อความมั่นคงทางอาหารและสภาพความมั่นคงทางอาหารของผู้ปลูกพืชในภาคกลาง 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติในการจัดการความรู้การปลูกพืชเพื่อความมั่นคงทางอาหารของผู้จัดการความรู้ในภาคกลาง 3) ศึกษาการจัดการความรู้ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงทางอาหารของตัวแทนจากหน่วยงานและองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน 4) สร้างโมเดลการจัดการความรู้การปลูกพืชเพื่อความมั่นคงทางอาหารในภาคกลาง การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี โดยมีประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการศึกษา 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) ผู้ปลูกพืชภาคกลางที่ผ่านการอบรมค่ายกสิกรรมไร้สารพิษ 3,088 คน สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจาก 7 จังหวัดภาคกลางที่มีจำนวนผู้ปลูกพืชสูงสุดจำนวน 354 คน 2) ผู้จัดการความรู้ที่ให้การอบรมในค่ายกสิกรรมไร้สารพิษ 201 คน สุ่มตัวอย่างแบบง่ายโดยวิธีจับสลากจำนวน 134 คน 3) ตัวแทนจากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนที่เกี่ยวข้องกับการปลูกพืชเพื่อความมั่นคงทางอาหาร เพื่อสัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน 10 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา วิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลวิจัยพบว่า 1) ผู้ปลูกพืชส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 53.79 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ได้รับการจัดการความรู้ในระดับมากที่สุดในประเด็นการแบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่มีรูปแบบการอบรมที่หลากหลาย บรรยากาศเสริมหนุนในการอบรมที่เป็นมิตรและเอื้อเฟื้อ ได้รับความรู้การปลูกพืชเพื่อความมั่นคงทางอาหารในระดับมาก มีความต้องการความรู้การปลูกพืชเพื่อความมั่นคงทางอาหารในภาพรวมอยู่ในระดับมากและมีความมั่นคงทางอาหาร 4 มิติในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติในการจัดการความรู้การปลูกพืชเพื่อความมั่นคงทางอาหารของผู้จัดการความรู้ในภาคกลาง คือ คนและเทคโนโลยีสารสนเทศที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 3) การจัดการความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการปลูกพืชเพื่อความมั่นคงทางอาหารของตัวแทนจากภาครัฐ เอกชนและประชาชน โดยภาพรวมมีการจัดการใน 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ ปัจจัยด้านคน ด้านกระบวนการและด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ  และตัวแทนเหล่านี้เห็นด้วยกับปัจจัยสู่ความสำเร็จทั้งภายในและภายนอกอยู่ในระดับมากที่สุด 4) โมเดลการจัดการความรู้การปลูกพืชเพื่อความมั่นคงทางอาหารประกอบด้วย (1) ปัจจัยนำเข้า ได้แก่ ปัจจัยด้านคน โดยมีการกำหนดบทบาทหน้าที่ การกำหนดเกณฑ์คุณสมบัติและการเสริมสร้างศักยภาพ ปัจจัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยมีการใช้สังคมเครือข่าย เทคโนโลยีสนับสนุนการทำงานร่วม เทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูลและเทคโนโลยีการสื่อสาร (2) กระบวนการมี 8 ขั้นตอน ได้แก่ การระบุเป้าหมาย กำหนดหัวข้อความรู้ สร้างและแสวงหาความรู้ ประมวลและกลั่นกรอง จัดระบบคลังความรู้ แบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประเมินผลการจัดการความรู้ และเผยแพร่ขยายผล (3) ผลผลิตของผู้ปลูกพืช คือ ได้เครือข่ายการเรียนรู้ ได้องค์ความรู้และเกิดการเรียนรู้ ส่วนของผลผลิตของผู้จัดการความรู้ คือได้ความสำเร็จของงาน พัฒนาสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ พัฒนาคนและความเอื้ออาทรต่อกันในองค์กร โดยมีปัจจัยสู่ความสำเร็จภายในและภายนอกเป็นตัวเอื้อกระบวนการให้ไปสู่เป้าหมาย คือ ความมั่นคงทางอาหาร 4 มิติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Amnuaysit, A. (2021). Food Security: Food Security Crisis Amid the Covid-19 Pandemic. Retrieved June 18, 2022, from https://www.scbeic.com/th/detail/product/7400

Bardo, J. W., & Hartman, J.J. (1982). Urban Sociology: A Systematic Introduction. New York: F. E. Peacock.

Chan-on, N. (2014). Thailand Food Security. (Academic article). Retrieved April, 2 2022, from https://library.senate.go.th/document/Ext7091/7091777_0002.PDF.

Jai-aree, A. (2016). The Curriculum Development “Growing Pesticide Residue Free” to Promote Food Security and Safety in Community under the Cooperation of Development Partners. In Proceedings of the 13th KU-KPS Conference (pp. 782-796). Nakhon Pathom: Kasetsart University. Kamphaeng Saen Campus.

Lakaphun, T. (2015). Knowledge Management of Herb: Case Study Bandongbang Herbal Group Tambon Dongkeerek Mueang District, Prachinburi Province (Master’s thesis). Kasetsart University. Bangkok.

Lertpatcharasirikul, P. (2022). Community Enterprise Knowledge Management Process Model: Case Study of Bean Cultivation Community Enterprise in Northern of Thailand (Master’s thesis). Mahidol University, Bangkok.

Liangruenrom, A., Rattanasupa, S., Khansakun, C., & Kongsong, P. (2019). Knowledge Management for Extension of Organic Rice Growing Outcome in Pak phanang river basin. in The 10th Hatyai National and International Conference (pp.215-222). Hat Yai, Songkhla: Hat Yai University.

Limcharoen, S. (2020). An Extension Model for Business Development of Meat Goat Production in the Three Southern Border Provinces of Thailand (Doctoral Dissertation). Sukhothai Thammathirat Open University. Nonthaburi.

Marquardt, M.J. (1996). Building the Learning Organization: A Systems Approach to Quantum Improvement and Global Success. New York: McGraw Hill.

National Housing Authority. (2023). Demographic and Housing Data Report for 2022. Retrieved March 19, 2023, from http://housingkc.nha.co.th/files/article/attachments/aed52b2717f2d051d449844fc4f1ddc6.pdf

Ousap, P. (2020). Bad News at the End of 2020: Thai Pan Found 58.7% of Fruits and Vegetables had Toxic Residues Exceeding Standards. Retrieved November 22, 2022, from https://thaipan.org/highlights/2283

Phromchan, C. (2019). Agricultural Media Exposure of Farmers in Phra Phrom District Nakhom Si Thammarat Province (Master’s thesis). Sukhothai Thammathirat Open University. Nonthaburi.

Sirasarn, N. (2020). Concepts about Knowledge Management in Government Agencies. Bangkok: Arun Press.

Supapornhemin, P. (2012). Knowledge Management for Sustainable Utilization of Herbs Using Community Participation (Research report). Bangkok: Office of the Vocational Education Commission.

Tanwiwat, P. (2018). Concepts and Principles Regarding Knowledge and Knowledge Management. Bangkok: Arun Press.

Techakittheerapong, W. (2015). Factors Affecting Employee Adoption of Collaboration Technology in Thai Organizations (Master’s thesis). Thammasat University. Bangkok.

Yaimueang, S., Nimhattha, W., & Phromsri, N. (2021). Economic Development of Urban People: Case Study Farming in the City (Research report). Bangkok: Thailand Science Research and Innovation.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd ed.). New York: Harper and Row.