โมเดลการส่งเสริมการตลาดผลิตผลเกษตรอินทรีย์อย่างยั่งยืนของเกษตรกร ในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 ประเทศไทย

Main Article Content

ชยารัตน์ รัตนเสน
เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ
สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยส่วนบุคคล เศรษฐกิจ สังคม สภาพการได้รับการส่งเสริม ความรู้ และความคิดเห็นของเกษตรกรอินทรีย์ ที่มีผลต่อการปฏิบัติต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 2) ปัจจัยส่วนบุคคล เศรษฐกิจ สังคม พฤติกรรมการบริโภค และความคิดเห็นต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของผู้บริโภค ที่มีผลต่อการซื้อสินค้าเกษตรอินทรีย์ 3) สร้างและพัฒนาโมเดลการส่งเสริมการตลาดผลิตผลเกษตรอินทรีย์อย่างยั่งยืน ประชากรและกลุ่มตัวอย่างมี 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) เกษตรกรในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 399 คน 2) ผู้บริโภคในพื้นที่เดียวกัน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 100 คน 3) ผู้ประเมินโมเดลการส่งเสริม ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตร นักส่งเสริมการเกษตร และเกษตรกรในพื้นที่ จำนวน 32 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่ได้รับการส่งเสริมในระดับน้อย มีความรู้และความต้องการการส่งเสริมเกี่ยวกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในระดับมาก มีความคิดเห็นและการปฏิบัติเกี่ยวกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในระดับมากที่สุด 2) การได้รับการส่งเสริม ความคิดเห็นด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านการจัดการเกี่ยวกับบุคลากร ด้านกระบวนการให้บริการ และด้านสิ่งแวดล้อมกายภาพมีผลต่อการปฏิบัติต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3) ผู้บริโภคส่วนใหญ่ได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ในระดับปานกลาง มีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในระดับมากที่สุด 4) ความคิดเห็นด้านราคา และด้านการส่งเสริมการตลาดมีผลต่อการซื้อสินค้าเกษตรอินทรีย์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 5) โมเดลการส่งเสริมการตลาดผลิตผลเกษตรอินทรีย์อย่างยั่งยืนถูกพัฒนาขึ้นจากทฤษฎี SMCR ประกอบด้วย (1) นักส่งเสริม (2) ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (3) ช่องทางการส่งเสริม ได้แก่ การอบรม การจัดประชุม และการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (4) เกษตรกร และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้บริโภค รูปแบบตลาดเกษตรอินทรีย์ ปัจจัยหนุน ปัญหาและข้อจำกัดในการส่งเสริม และผลการส่งเสริมการตลาด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Cronbach, L.J. (1970). Essentials of Psychological Testing (3rd ed.). New York: Harper and Row.

Hangsoongnern, T., Angkasith, P., Opatpatanakit, A., & Sirisunyluck, R. (2014). Organic Farming System in the Context of Sufficiency Economy: Case Study of Organic Farmers in Mae Rim Watershed, Chiang Mai Province. Journal of Agriculture, 30(1), 61-69.

Kotler, P. (1997). Marketing Management: Analysis, Planning, Implementation and Control (14th ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice-Hall.

Krungthai COMPASS. (2022). Get to Know Plant-Based Food... When Plant-Based Meat Becomes a Global Food Trend. Retrieved June 25, 2022, from https://krungthai.com/Download/economyresources/EconomyResourcesDownload_625Slide_Plant_Base_Food_24_11_63_1.pdf.

Land Development Department. (2021). Central Database of Farmers Who Have Received Organic Agricultural Standard Certification. Under the Supervision of the Ministry of Agriculture and Cooperatives. Retrieved June 23, 2022, from https://organicmoac.ldd.go.th.

Lopburi Provincial Agricultural Extension Office. (n.d.). What is Organic Farming. Retrieved July 9, 2022, from http://www.lopburi.doae.go.th/Organic.htm.

Lukrak, N., Athinuwat, D., & Sindecharak, T. (2013). Problems and Barriers in Changing to Organic Vegetable Production of Ratchaburi Farmers Who Qualified in the Organic Farming Development Project. Thai Journal of Science and Technology, 2(2), 126-133.

Maneechoti, S., & Athinuwat, D. (2019). Success Impacts on Organic Farming in Small Farmer Community in Nakhon Sawan Province. Thai Journal of Science and Technology, 8(6), 597-608.

Office of the National Economic and Social Development Council. (2021). Regional and Provincial Products Chain Quantity Form (2019 edition). Retrieved June 25, 2022, from https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=11539.

Pangsan, J., Repon, R., Pholasith, K., Sermpong, A., & Theerak, W. (2022). A Path to Success in Organic Rice Farming: A Case Study of Rice Farmers in Si Wilai, Bueng Kan Province. Area Based Development University Journal, 1(2), 11-21.

Panyakul, W. (2012). Basic Knowledge of Organic Agriculture. Bangkok: Earth Net Foundation.

Phanniphong, K., & Sawetwatana, S. (2019). A Model of Marketing Management for Business of Packed Rice in Bangkok Metropolitan. Pathumthani University Academic Journal, 11(2), 264-277.

Sriprasert, W. (2016). Knowledge Management Development on Organic Agriculture Marketing of Farmer Group, Makha Sub-District, Kantharawichai District, Maha Sarakhamprovince. Research and Development Journal Loei Rajabhat University, 11(36), 104-114.

Strategic Management Office of Lower North-Eastern Provincial Cluster 2. (2016). Development Plan of Lower North-Eastern Provincial Cluster 2 (2018-2021). Retrieved June 27, 2022, from http://www.osmnortheast-s2.moi.go.th/ub/index.php/plan/plan4-year/%E0%B8%9E-%E0%B8%A8-2561-2564/70-%E0%B8%9E-%E0%B8%A8-2561-2564.html.

Sustainable Agriculture Foundation of Thailand. (2021). Adaptation Experiences of Farmers Practicing Sustainable Agriculture. Retrieved June 23, 2022, from https://sathai.org/?p=2402.

Wadeecharoen, W., Lertnaisat, R., & Teekhasup, S. (2017). Research Methods from Theoretical Concepts to Practice. Bangkok: SE-Education Public Company Limited.

Willer, H., Jan, T., Claudia, M., & Bernhard, S. (2021). The World of Organic Agriculture Statistics and Emerging Trends 2021. Bonn: Research Institute of Organic Agriculture FiBL, Frick, and IFOAM – Organics International.

Wongyos, N. (2021). Factors Affecting the Consumer Decision to Purchase Organic Vegetables in Phayao Province Agricultural Market. SAU Journal of Social Sciences & Humanities, 5(1), 133-145.

Wutcharapongchai, A., Youprasert, B., & Kiewwhan, B. (2019). Area-Based Management Extension Model of Rice Farmers in the Lower Northeastern Region of Thailand. Journal of Suvarnabhumi Institute of Technology, 5(2), 156-168.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd ed.). New York: Harper and Row.