พัฒนาการการสหกรณ์ในประเทศไทย

Main Article Content

ศิริลักษณ์ นามวงศ์
ประเสริฐ จรรยาสุภาพ

บทคัดย่อ

บทความเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอพัฒนาการการสหกรณ์ในประเทศไทย ช่วงเวลาปี พ.ศ. 2457-2558 ด้วยบริบทของการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีที่ได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิในลักษณะของการวิจัยเอกสาร และนำมาอธิบายสภาพความเป็นจริงของการสหกรณ์ในประเทศไทย ในช่วงเวลา 4 ยุค คือ (1) ยุคที่หนึ่งช่วงเวลาปี พ.ศ. 2457-2470 เป็นยุคจัดตั้งสหกรณ์ (2) ยุคที่สองช่วงเวลาปี พ.ศ. 2471-2510 เป็นยุคที่สหกรณ์ขยายตัวและมีสถานะเป็นสถาบันการเงินหลัก (3) ยุคที่สามช่วงเวลาปี พ.ศ. 2511-2541 เป็นยุคการปรับตัวและขยายบทบาททางเศรษฐกิจของสหกรณ์ และ (4) ยุคที่สี่ช่วงเวลาปี พ.ศ. 2542-2558 เป็นยุคที่มีพระราชบัญญัติสหกรณ์ที่มุ่งสร้างความเชื่อถือทางธุรกิจของสหกรณ์ ผลจากการสังเคราะห์และวิเคราะห์เอกสาร พบว่า การสหกรณ์ในแต่ละช่วงเวลาที่ผ่านมามีส่วนช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนในส่วนภูมิภาค นโยบายด้านสหกรณ์ สถานการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี ตลอดจนการแนะนำส่งเสริมของภาครัฐต่างมีส่วนทำให้การสหกรณ์ในประเทศประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว แต่การสหกรณ์จะประสบความสำเร็จได้อย่างแท้จริง คือ การที่ประชาชนในประเทศตระหนักถึงปัญหาด้านเศรษฐกิจและสังคมที่ตนเองประสบอยู่ และแก้ไขปัญหานั้นด้วยการจัดตั้งและดำเนินงานสหกรณ์ตามอุดมการณ์ หลักการและวิธีการสหกรณ์ บนพื้นฐานของการพึ่งพาตนเองและมีความเข้าใจในระบบสหกรณ์อย่างถูกต้อง

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมส่งเสริมสหกรณ์. (2550). การสหกรณ์ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: ฝ่ายเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ สำนักพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์.

______. (2559). “จำนวนสหกรณ์และสมาชิกสหกรณ์ในประเทศไทย” [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2559 จาก http://www.cpd.go.th/ewt_w3c/more_news.php?cid =431&filename=

คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2556). “ขบวนการสหกรณ์กับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ” [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อ 16 กรกฎาคม 2556 จาก http://coop.eco.ku.ac.th

จุมพล ชละเอม. (2556). ความหมาย ค่านิยม อุดมการณ์ หลักการ และวิธีการสหกรณ์. ใน ประมวลสาระชุดวิชาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการสหกรณ์. หน่วยที่ 1. นนทบุรี: สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

เชิญ บำรุงวงศ์. (2546). ความหมาย ค่านิยม อุดมการณ์ หลักการ และวิธีการสหกรณ์. ใน ประมวลสาระชุดวิชาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการสหกรณ์. หน่วยที่ 3. นนทบุรี: สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ประเสริฐ จรรยาสุภาพ. (2545). การสหกรณ์ COOPERATIVES. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

______. (2556). การสหกรณ์ในประเทศไทย. ใน ประมวลสาระชุดวิชาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการสหกรณ์ (หน่วยที่ 2). นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ภาสันต์ นุพาสันต์ และ มนกรณ์ ยอดใจ. (2556). การศึกษา อบรม และสารสนเทศทางสหกรณ์. ใน ประมวลสาระชุดวิชาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการสหกรณ์. หน่วยที่ 10. นนทบุรี: สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2550). “แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ” [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2550 จาก http://master-coop.eco.ku.ac.th

รัตนา โพธิสุวรรณ. (2551). วิเคราะห์หลักและปรัชญาสหกรณ์. มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่.

สุพิทยา พุกจินดา. (2550). การวิเคราะห์ขบวนการสหกรณ์ไทยจากอดีตถึงปัจจุบัน กรณีศึกษา กรมส่งเสริมสหกรณ์. (การศึกษาค้นคว้าอิสระ ไม่ตี พิมพ์). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สถาพัฒนานโยบายและการจัดการ. (2554). โครงการจัดทำแผนพัฒนาการสหกรณ์ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 25553-2559). กรุงทพฯ: คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อนุกูล สังข์ศิริ. (2550). การวิเคราะห์ขบวนการสหกรณ์ไทยจากอดีตถึงปัจจุบัน กรณีศึกษา สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย. (การศึกษาค้นคว้าอิสระ ไม่ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

International Co-operative Alliance (ICA). (1996). “Co-operative Agenda 21”. ICA Communications Department, Geneva. Switzerland.