การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลรอบเมือง อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น (2) ความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับการมีส่วนร่วม (3) ความสัมพันธ์ของปัจจัยจูงใจกับการมีส่วนร่วม (4) ความสัมพันธ์ของหลักธรรมาภิบาลกับการมีส่วนร่วม โดยประชากรที่ใช้ในศึกษาคือ ประชาชนทั่วไปและผู้นำชุมชนที่อาศัยอยู่ในเขตตำบลรอบเมือง จำนวน 15,958 คน กลุ่มตัวอย่าง 390 คนและผู้นำชุมชน 10 คน ทำการสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ มีค่าความเชื่อถือได้ที่ระดับ 0.85 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยการทดสอบ T-test (Independence Samples) F-test (One way ANOVA) และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson’s correlation) ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับการมีส่วนร่วมโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ที่ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.29 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.89 (2) ปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกันมีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมอย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ยกเว้นปัจจัยด้านเพศ (3) ปัจจัยจูงใจมีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (4) หลักธรรมาภิบาลมีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
Article Details
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ ตารางประกอบ ที่ตีพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชแต่อย่างใด
บทความที่เสนอพิจารณาในวารสาร e-JODIL ต้องเป็นบทความที่ไม่เคยส่งไปลงพิมพ์ เผยแพร่ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตัดสินการตีพิมพ์บทความในวารสาร
References
ถวิลวดี บุรีกุล. (2551). การมีส่วนร่วม: แนวคิดทฤษฎีและกระบวนการ. กรุงเทพฯ. สถาบันพระปกเกล้า.
พระมหาประกาศิต สิริเมโธ. (2556). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนบ้านคลองใหม่ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ตีพิมพ์), มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมบัติ ทัพธานี. (2554). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตอำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ตีพิมพ์), มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
สมบัติ บุญเลี้ยง, อารีย์ นัยพินิจ, และธงพล พรหมสาขา ณ สกลนคร. (2555). ลักษณะภาวะของผู้นำที่ดีในการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารมนุษย์ศาสตร์สังคมศาสตร์. 29 (2). 97-112.
สมยศ นาวีการ. (2525). การบริหารแบบมีส่วนร่วม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สิจิตรา บุณยรัตพันธุ์, 2538 ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับรัฐประศาสนศาสตร์, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, คณะรัฐประศาสนศาสตร์, กรุงเทพฯ.
สิริพัฒน์ ลาภจิตร. (2550). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจมีส่วนร่วมของประชาชนในการสนับสนุนการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ตีพิมพ์), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวรรณ พิณตานนท์. (2546). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งขององค์การบริหารส่วนตำบล. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นกระทรวงมหาดไทย, โรงพิมพ์อาสารักษาดินแดน.
เสน่ห์ จามริก. (2537). นโยบายและกลวิธีการมีส่วนร่วมของชุมชนในยุทธศาสตร์การพัฒนาในปัจจุบันของประเทศไทย. กรุงเทพฯ.
องค์การบริหารส่วนตำบลรอบเมือง อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด. (2554). แผนพัฒนาสามปี พ.ศ. 2555 – 2557. ร้อยเอ็ด: องค์การบริหารส่วนตำบลรอบเมือง อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด.
อักษร ทองพลอย และคณะ. (2554). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์กรบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี กรณีเลือกตั้งซ่อม พ.ศ.2554. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ตีพิมพ์), มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
Gene Rowe & Lynn J. Frewer. (2004). Evaluating Public-Participation Exercises: A Research Agenda, Wageningen University.
XiaoHu Wang. (2007). When Public Participation in Administration Leads to Trust: An Empirical Assessment of Managers Perceptions, University of Central Florida.