การบริหารจัดการท้องถิ่นที่ดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อสนับสนุนการมีส่วนร่วมแบบร่วมกันรับผิดชอบขององค์การที่มีชุมชนเป็นฐานในเทศบาลตำบลหนองบัวระเหว
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบทบาทการบริหารจัดการท้องถิ่นที่ดีของเทศบาลตำบลหนองบัวระเหวด้านการบริหารจัดการที่ดีแบบตอบสนอง แบบมีความรับผิดชอบ และแบบพร้อมรับการตรวจสอบ 2) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมแบบร่วมกันรับผิดชอบขององค์การที่มีชุมชนเป็นฐานในเทศบาลตำบลหนองบัวระเหวด้านการมีส่วนร่วมในการเลือกตั้งผู้แทน ในการร่วมตัดสินใจ ในการร่วมรับภาระหรือค่าใช้จ่ายและร่วมในการ ติดตามและประเมินผลเกี่ยวกับกิจการสาธารณะ 3) เพื่อศึกษาว่าการมีส่วนร่วมแบบร่วมกันรับผิดชอบขององค์การที่มีชุมชนเป็นฐานมีส่วนสนับสนุนบทบาทการบริหารจัดการท้องถิ่นที่ดีของเทศบาลตำบลหนองบัวระเหวอย่างไร การวิจัยครั้งนี้ใช้แนวทางการวิจัยเชิงปริมาณ พื้นที่ศึกษาคือ เทศบาลตำบลหนองบัวระเหว จังหวัดชัยภูมิ ศึกษาผู้บริหารเทศบาล สมาชิกสภาเทศบาล หัวหน้า รองหัวหน้าส่วนราชการ ตลอดจนหัวหน้ากลุ่มอาชีพ กลุ่มกองทุน และกลุ่มอาสาสมัครต่างๆ ทั้งสิ้น 451 ตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลคำนวณสถิติหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสหสัมพันธ์คาโนนิคอล (Canonical Correlation) ผลการศึกษา พบว่า 1) การบริหารจัดการท้องถิ่นที่ดีของเทศบาลตำบลหนองบัวระเหว ด้านการบริหารจัดการที่ดีแบบตอบสนอง แบบมีความรับผิดชอบ และแบบพร้อมรับการตรวจสอบ อยู่ในระดับมาก 2) การมีส่วนร่วมแบบร่วมกันรับผิดชอบของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลหนองบัวระเหวอยู่ในระดับมากทุกด้าน และ3) ผลการทดสอบความสัมพันธ์ พบว่า การมีส่วนร่วมแบบร่วมกันรับผิดชอบขององค์การที่มีชุมชนเป็นฐาน ด้านการติดตามประเมินผล และรับภาระหรือค่าใช้จ่ายในการจัดทำกิจกรรมสาธารณะมีความสัมพันธ์กับการบริหารจัดการท้องถิ่นที่ดีของเทศบาลตำบลหนองบัวระเหว
Article Details
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ ตารางประกอบ ที่ตีพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชแต่อย่างใด
บทความที่เสนอพิจารณาในวารสาร e-JODIL ต้องเป็นบทความที่ไม่เคยส่งไปลงพิมพ์ เผยแพร่ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตัดสินการตีพิมพ์บทความในวารสาร
References
จุมพล หนิมพานิช. (2548). การบริหารจัดการภาครัฐใหม่: หลักการ แนวคิด และกรณีตัวอย่างของไทย. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. (2550). การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการดำเนินนโยบายของรัฐบาลด้านการบริการจัดหางาน. กรุงเทพฯ: กองแผนงานและสารสนเทศ กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน.
บุญทิพย์ แก้วเนื้ออ่อน . (2548). การมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของคณะกรรมการสถานศึกษา ในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดยะลา. ปัตตานี: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์.
วิพุธ อ่องสกุล. (2551). การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้เสีย. กรุงเทพฯ: สำนักบริการการเปลี่ยนแปลงและนวัตรกรรมสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.
สถาบันพระปกเกล้า. (2548). โครงการขยายผลเพื่อนำตัวชี้วัดการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีระดับองค์กรไปสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.
สถาบันที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในราชการ. (2551). การบริหารรัฐกิจร่วมระหว่างรัฐบาล ท้องถิ่น และภาคประชาสังคม: ส่วนภูมิภาค. นนทบุรี.
Arendt, Hannah. (1987). Lectures on Kant's political philosophy. Japanese. His Kanto seiji tetsugaku no keogi
Andrews, Matthew, and Anwar Shah. (2005). “Citizen-Centered Governance: A New Aproach to Public Sector Reform.” In Public Expenditure Analysis, ed. Anwer Shah, 153-82. Washington, DC: World Bank.
Hood. (1991). “A Public Management for All Seasons?”. Public Administration, 69, pp 3-19.
Shah, Anwar. (2006). “The Principal and the Practice of Intergovernmental Transfers” In Intergovernmental Fiscal Tranfers: Principal and Practice, by Robin Boadway and Anwar Shah. Washington, DC: World Bank.
Stoker, Gerry, ed. (1999). The New Management of British Local Governance. London: Macmillan.