ประสบการณ์การปรับตัวของผู้ต้องขังสูงอายุในเรือนจำกลางบางขวาง

Main Article Content

วีรยุทธ แสนพงค์
จิระสุข สุขสวัสดิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์การปรับตัวของผู้ต้องขังสูงอายุในเรือนจำกลางบางขวางโดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพแนวปรากฏการณ์วิทยา ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้ต้องขังที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป อาศัยอยู่ในเรือนจำกลางบางขวางไม่ต่ำกว่า 10 ปี เป็นผู้สูงอายุที่มีการปรับตัวได้ดี สามารถสื่อสารภาษาไทยได้ดี และยินดีเข้าร่วมการวิจัย จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แนวคำถามสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง แบบบันทึกการสังเกตแบบมีส่วนร่วม และแบบบันทึกภาคสนาม ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลทำการวิเคราะห์บริบทและเนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า ประสบการณ์การปรับตัว 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1) มูลเหตุแห่งทุกข์ มี 2 ประเด็นรอง คือ กระบวนการพิจารณาคดี และโลกใบใหม่ที่แปรเปลี่ยนไป 2) ความทุกข์ที่เกิดขึ้นก่อนเข้าสู่การปรับตัว มี 2 ประเด็นรอง คือ ความทุกข์ทางกาย และความทุกข์ทางใจ 3) กระบวนการปรับตัว มี 3 ประเด็นรอง คือ การปรับมุมมองความคิด การจัดการกับสภาวะที่ทำให้ใจขุ่นมัว และความรู้สึกด้านบวก และ 4) การเริ่มต้นของชีวิตที่เข้มแข็ง มี 3 ประเด็นรอง คือ การยืนหยัดเพื่อสู้กับปัญหา การก่อเกิดมิตรภาพ ในเรือนจำ และการวางแผนชีวิตหลังพ้นโทษ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมราชทัณฑ์. (2558). สถิติผู้ต้องขังประจำปีงบประมาณ 2558. นนทบุรี: กรมราชทัณฑ์.

กุลรัตน์ แก้วเป็ง. (2554). สุขภาวะทางจิตของผู้ป่วยสารเสพติดในระยะฟื้นฟูสมรรถภาพภายหลังได้รับการปรึกษาเชิงบุคคลรายบุคคลแนวพุทธ: การวิจัยเชิงคุณภาพแบบทีมผู้วิจัยเห็นชอบร่วมกัน. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จารุวรรณ คงยศ. (2551). การปรับตัวของผู้ต้องขังให้เข้ากับสภาพเรือนจำ: ศึกษาเฉพาะกรณีเรือนจำกลางคลองเปรม. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.

จิระสุข สุขสวัสดิ์ และอรัญญา ตุ้ยคำาภีร์. (2553). ประสบการณ์ความรุนแรง การเผชิญปัญหาและความสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย: การวิจัยนำาร่องแบบผสานวิธี. วารสารประชากรศาสตร์, 26(1), 22-47.

ชาย โพธิสิตา. (2550). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นทติ้งพับลิชชิ่ง.

ณสวง นเรนทรเสณี. (2553). ประสบการณ์ทางจิตใจผู้รอดชีวิตที่สูญเสียความสมบูรณ์ทางกายจากเหตุการณ์เพลิงไหม้ซานติก้าผับ. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นภาภรณ์ หะวานนท์ และคณะ. (2555). ชีวิตที่ถูกลืม เรื่องเล่าของผู้หญิงในเรือนจำ (พิมพ์ครั้งที่1) กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

นิภา นิ่มนวล. (2548). ปัจจัยที่มีผลต่อการปรับตัวของผู้ต้องขังเข้ากับสภาพแวดล้อมเรือนจำ ศึกษาเฉพาะกรณีของทัณฑสถานหญิงกลาง. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พรรณเลขา พลอยสระศรี. (2546). กระบวนการปรับตัวของผู้ต้องขังวัยหนุ่มในเรือนจำบางขวาง. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พุทธิกันต์ คงคา. (2555). ประสบการณ์ความทุกข์ของนิสิตนักศึกษาหอพักที่เข้ร่วมกลุ่มจิตวิทยาพัฒนาตนและการปรึกษาแนวพุทธ. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เพ็ญพรรษา ปกาสิทธิ์. (2553). บริบทเรือนจำและการยอมรับโทษประหารชีวิต. (วิทยานิพนธ์สังคมวิทยามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภีรวัฒน์ นนทะโชติ. (2555). ทัณฑสถานเปิดกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวตกรรม, 11(2), 1-18.

ยุหวาด หีมโต๊ะบุ๊ก และจิระสุข สุขสวัสดิ์. (2559). ประสบการณ์เส้นทางชีวิตสู่มหาบัณฑิตหลังกำแพง. วารสารศึกษาศาสตร์, 9(2), 230-241.

สำราญ วงศ์ขวัญ และนิธิพัฒน์ เมฆขจร. ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวที่มีต่อการควบคุมตนของผู้ต้องขังเรือนจำกลางบางขวาง. วารสารศึกษาศาสตร์, 9(2), 285-293.

สุพจน์ อารีย์สวัสดิ์ และจิระสุข สุขสวัสดิ์. (2559). ความมั่นคงในการควบคุมตนของคนหลังกำแพง.วารสารวิชาการคุณธรรมความดี., 5(1), 1-19.