โมเดลการพัฒนาเกษตรกรมืออาชีพของสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

อรัญ สิงห์คำ
บำเพ็ญ เขียวหวาน
เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ
สมจิต โยธะคง

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความคิดเห็นของผู้เรียน ผู้สอน และผู้บริหารต่อปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเกษตรกรมืออาชีพ (2) วิเคราะห์และสังเคราะห์คุณลักษณะของเกษตรกรมืออาชีพ (3) วิเคราะห์และพัฒนาโมเดลการพัฒนาเกษตรกรมืออาชีพ (4) ทดลองและประเมินโมเดลการพัฒนาเกษตรกรมืออาชีพ และ (5) เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้สอนและผู้เรียนต่อโมเดลการพัฒนาเกษตรกรมืออาชีพ


          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Method) ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเกษตรกรมืออาชีพใช้แบบสอบถามแบบมีโครงสร้างเป็นข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ สุ่มตัวอย่างแบบง่าย เป็นรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ 10 ราย ผู้สอน 50 ราย ผู้เรียน 240 ราย สุ่มตัวอย่างแบบง่ายจากประชากร 1,480 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา 2) การพัฒนาโมเดล ใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเป็นข้อมูลเชิงคุณภาพ สุ่มตัวอย่างแบบง่าย เป็นเกษตรกรต้นแบบ 10 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การจัดหมวดหมู่และวิเคราะห์เนื้อหา 3) การประเมินการพัฒนาโมเดล ใช้แบบสนทนากลุ่มแบบมีโครงสร้างเป็นข้อมูลเชิงคุณภาพ สุ่มตัวอย่างแบบง่าย เป็นคณะกรรมการสภาสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 18 ราย ผู้อำนวยการวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 10 ราย รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ 10 ราย หัวหน้าโครงการอาชีวศึกษาเพื่อการพัฒนาชนบท 10 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการจัดหมวดหมู่และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา 4) การทดลองใช้โมเดล ใช้แบบสอบถามแบบมีโครงสร้างเป็นข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ สุ่มตัวอย่าง ผู้เรียน 40 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และ 5) การประเมินการทดลองใช้โมเดล ใช้แบบสอบถามแบบมีโครงสร้างเป็นข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ สุ่มตัวอย่าง เป็นผู้อำนวยการ 10 ราย ผู้สอน 10 ราย ผู้เรียน 240 ราย สุ่มตัวอย่างแบบง่าย จากประชาการ 1,480 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติพรรณนา


ผลการวิจัยพบว่า (1) ความคิดเห็นต่อปัจจัยการพัฒนาเกษตรกรมืออาชีพ ได้แก่ด้านครูผู้สอนในการทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการจัดการเรียน ด้านผู้เรียนคือการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริงในไร่นา ด้านเนื้อหาการเรียน ต้องทันสมัย ด้านสื่อการเรียนที่สามารถกระตุ้นความสนใจให้กับผู้เรียน ด้านสภาพแวดล้อม มีแปลงสาธิตและฟาร์มที่ทันสมัย (2) คุณลักษณะของเกษตรกรมืออาชีพ พบว่า ด้านความรู้ ต้องมีความรู้เรื่องการตลาด การแปรรูป การผลิต ด้านทัศนคติ มีองค์ความรู้ มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีเครือข่าย ด้านทักษะ มีทักษะในสาขาที่ประกอบอาชีพ การตลาดและเทคโนโลยีสารสนเทศ (3) โมเดลการพัฒนาเกษตรกรมืออาชีพ พบว่า โมเดลประกอบด้วย การวิเคราะห์อาชีพ การพัฒนาหลักสูตร การจัดแผนการเรียนรู้ การพัฒนาผู้เรียน การจัดการเรียนโดยยึดอาชีพเป็นฐาน และขั้นตอนการพัฒนาเกษตรกรมืออาชีพ (4) ผู้เรียนกลุ่มทดลองใช้โมเดลการพัฒนาเกษตรกรมืออาชีพมีความคิดเห็นต่อโมเดลการพัฒนาเกษตรกรมืออาชีพก่อนและหลังใช้โมเดลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ และ (5) ผู้สอน กับผู้เรียนมีความคิดเห็นต่อโมเดลการพัฒนาเกษตรกรมืออาชีพแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2559). Young Smart Farmer อนาคตและทิศทางภาคการเกษตรไทยกรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพุทธศาสนาแห่งชาติ.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2557). การทำงาน อนาคต การจัดสรรผลประโยชน์. สืบค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม 2561, จาก http://www.kriengsak.com/A-professional-Do-not-be-a-profession.

ฤทัยชนก จริงจิตร. (2556). เจาะลึก “Smart Farmer” แค่แนวคิดใหม่ หรือจะพลิกโฉมการเกษตรไทย. สืบค้นเมื่อวันที่ 26พฤษภาคม 2561, จาก http://www.tpso.moc.go.th/sites/default/files/1074-img.pdf

นลทวรรณ มากหลาย. (2558). แนวทางการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ (วิทยานิพนธ์ปรัชญาเกษตรศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี.

พงศธร สินธุรัตน์. (2558). ความต้องการพัฒนาการเรียนการสอนวิชาเกษตรของครู-อาจารย์ในสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคกลาง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง. กรุงเทพฯ.

มูลนิธิอาจารย์จำเนียร สาระนาคและภาคีเครือข่าย. (2559). ผลการเรียนรู้ หลักสูตร ทายาทเกษตรกรมืออาชีพ รุ่นที่ 2. กรุงเทพฯ: มูลนิธิอาจารย์จำเนียร สาระนาค.

ยงยุทธ แฉล้มวงศ์. (2561). การผลิตและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคไทยแลนด์ 4.0 Production and Human Resource Development In the Thailand 4.0. สืบค้น 26 พฤษภาคม 2561, จาก https://tdri.or.th/2018/10/human-resource-th-4-0/

รัชดา เพชรรัตน์. (2557). กระบวนการเรียนรู้เพื่อการพึ่งพาตนเองของเกษตรกรภายใต้โครงการสร้างและพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สถาบันการอาชีวศึกษาเกษตร. (2561). เอกสารประกอบการประชุมผู้อำนวยการสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตร. ร้อยเอ็ด: สถาบันการอาชีวศึกษาเกษตร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). ขับเคลื่อนแผนฯ 12 สู่ อนาคตประเทศไทย. ในเอกสารประกอบการประชุมประจำปี (2560) ของ สอศ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

อภิชาต ใจอารีย์, นิรันดร์ ยิ่งยอด และนนทวัชร์ สิริพัฒนนันท์. (2559). แนวทางการพัฒนากำลังคนเพื่อเป็นผู้ประกอบการเกษตรบนเส้นทางอาชีวเกษตร ถอดประสบการณ์โครงการสร้างและพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่. วารสารการเมืองการปกครอง, 6(1), 248.