การสื่อสารเพื่อเผยแผ่พุทธศาสนาของยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์

Main Article Content

ประกายใจ อรจันทร์
วิทยาธร ท่อแก้ว
จันทนา ทองประยูร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ เกี่ยวกับ 1) กระบวนการสื่อสาร 2) การบริหารงานการสื่อสาร และ 3) แนวทางการพัฒนาการสื่อสาร


การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม และการสังเกต ซึ่งมีผู้ให้ข้อมูลหลัก ที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารเพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนามาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี รวมจำนวน 31 คน ได้แก่ วิปัสสนาจารย์ 7 คนโยคี 14 คน ผู้บริหารองค์การ 7 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน เลือกผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเจาะจง โดยมีเครื่องมือการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก ประเด็นการสนทนากลุ่ม และแบบสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการสร้างข้อสรุป


ผลการวิจัย พบว่า 1) กระบวนการสื่อสาร ผู้ส่งสารมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้รับสารเห็นหนทางแห่งการดับทุกข์ โดยผู้ส่งสารมีทัศนคติที่ดีต่อเนื้อหาหลักธรรมและผู้รับสาร เป็นผู้มีความน่าเชื่อถือ มีความรู้ในเนื้อหาหลักธรรม ความรู้รอบตัว มีทักษะการใช้สื่อ มีประสบการณ์ในการเผยแผ่ ซึ่งเนื้อหาที่เผยแผ่ ได้แก่ วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐานสี่ ตามหลักพระไตรปิฎกเถรวาท และหลักธรรมที่นำไปใช้ในชีวิตประจำวัน  เผยแผ่ด้วยภาษาที่ไม่เป็นทางการ ไม่ใช้ภาษาบาลี-สันสฤต  จัดเรียงและนำเสนอเนื้อหาเป็นลำดับ ยกตัวอย่างประกอบ และสร้างแรงบันดาลใจ สื่อหลักที่ใช้เผยแผ่ ได้แก่ สื่อบุคคลและสื่อกิจกรรม ในส่วนผู้รับสารมีความรู้ในหลักธรรมพื้นฐาน ข้อมูลวิปัสสนาจารย์ สถานปฏิบัติธรรม 2) การบริหารงานการสื่อสาร องค์การมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้ผู้ปฏิบัติธรรมเห็นหนทางการดับทุกข์ ต้องบริหารการเงินโดยลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มรายได้ มีโครงสร้างองค์การแบบแบ่งตามหน้าที่ ให้ความสำคัญกับกิจกรรมการสื่อสาร มีการสั่งการตามลำดับชั้น การคัดเลือกบุคลากรเข้าทำงานยึดหลักความชำนาญและศรัทธา สร้างแรงจูงใจด้วยเงินและศรัทธาต่อภารกิจ ประเมินผลงานทั้งระดับบุคคลและระดับฝ่าย 3) แนวทางการพัฒนาการสื่อสาร คือ ต้องพัฒนาผู้ส่งสารที่เป็นวิปัสสนาจารย์ให้มีวาทศิลป์และอดทนต่อคำวิจารณ์ มุ่งใช้สื่อใหม่ประเภทยูทูปและการสื่อสารผ่านสมาร์ทโฟน ขยายการสร้างเครือข่ายการเผยแผ่กับองค์การที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ ต้องพัฒนาการสร้างผู้ทำหน้าที่เผยแผ่ที่เป็นฆราวาส มีการฝึกอบรมผู้ทำหน้าที่เผยแผ่ศาสนาอย่างต่อเนื่อง และต้องสร้างระบบการประเมินผลการเผยแผ่เป็นการเฉพาะ รวมทั้งพัฒนาการบริหารให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

แก้ว ชิดตะขบ. (2553). ประวัติความสำคัญของการเผยแผ่พระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนา.

กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานเลขานุการกรม สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2560) ข้อมูลพื้นฐานทางพระพุทธศาสนาปี พ.ศ. 2560. สืบค้น 7 มิถุนายน 2563, จากhttp://www.onab.go.th/wpcontent/uploads/2016/12/onab_primaryinfo60edit.pdf

คูณ โทขันธ์. (2545). พุทธศาสนากับสังคมและวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.

ชยพล พงษ์สีดา (2559, 6 ตุลาคม). พศ. หวั่นคนไทยเป็น 'พุทธศาสนิกชนแบบติ๊ก' จี้วัดเร่งสร้างศรัทธา. ไทยรัฐออนไลน์. สืบค้น จาก https://www.thairath.co.th/content/745697

ดนัย วงศ์วัฒนชัย. (2554). การสื่อสารด้วยยุทธศาสตร์เชิงรุกเพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาของสถาบันวิมุตตาลัย (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ. .

ฐาปนา ฉิ่นไพศาล. (2559). องค์การและการจัดการ. นนทบุรี: บริษัท ธนธัชการพิมพ์ จำกัด

ทิพย์ชล เทพรังศิริกุล. (2553). การวิเคราะห์สื่อและการสร้างสารที่ใช้ในการเผยแผ่หลักธรรมทางพุทธศาสนากรณีศึกษาเปรียบเทียบแม่ชีศันสนีย์เสถียรสุตกับพระมหาสมปองตาลปุตฺโต (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ.

ณัฐสิทธิ์ วงค์ตลาด, พระครูสุธีคัมภีรญาณ, และเอกฉัท จารุเมธีชน. (2560). การจัดการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของสถานปฏิบัติติธรรมในจังหวัดอุดรธานี. วิชาการธรรมทรรศน์, 17(3), 263-274.

พระมหาทองสุข สุภโร. (2545). อิทธิพลของพระพุทธศาสนาที่มีต่อวิถีไทย. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระสมุห์สุนทร อภิชาโต. (2557). ศึกษาวิเคราะห์ความเป็นสากลของพุทธศาสนา (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย. นครปฐม.

พระณปวร โทวาท (2560). ต้นแบบบริหารจัดการเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของศูนย์เผยแผ่พระพุทธศาสนาประจำจังหวัดในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฏีบัญฑิต). มหาวิทยาลัยสยาม. กรุงเทพฯ.

พระนัฐวุฒิ สิริจนฺโท. (2561). คุณสมบัติของพระนักเผยแผ่ที่พึงประสงค์ในสังคมยุคใหม่ในอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฏีบัญฑิต). มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระนครศรีอยุธยา.

มหาเถรสมาคม. (2562). มติมหาเถระสมาคม: รายงานความคืบหน้าการจัดเก็บฐานข้อมูลพระภิกษุ สามเณร. สืบค้นเมื่อ 7 มิถุนายน 2563, จาก http://mahathera.onab.go.th/index.php?url=mati&id=9189

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2560). รายงานประจำปี 2560. (ม.ป.ท.).

ศิริโรจน์ นามเสนา. (2558). ภาพลักษณ์ของพระสงฆ์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฏีบัญฑิต). มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระนครศรีอยุทธยา

สมควร กวียะ. (2546). การสื่อสารมวลชน: บทบาทหน้าที่ สิทธิ เสรีภาพ ความรับผิดชอบ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: อักษราพิพัฒน์.

สุนัย เศรษฐ์บุญสร้าง. (2533). อุดมการณ์ทางการเมืองในพุทธศาสนา: ศึกษากรณีแนวคิดของสำนักสันติอโศก (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ.

Miles, M. B., & Huberman, A. M. (1994). Qualitative Data Analysis: An Expanded Sourcebook. Thousand Oaks, CA: Sage Publications.