การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ป่าไม้ส่วนยุทธการด้านป้องกันและปราบปราม กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคล 2) ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปราม 3) ผลการปฏิบัติงาน 4) ผลความพึงพอใจ ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงาน และ 5) การเปรียบเทียบความพึงพอใจตามปัจจัยส่วนบุคคลของเจ้าหน้าที่ป่าไม้ส่วนยุทธการด้านป้องกันและปราบปราม กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา เป็นเจ้าหน้าที่ป่าไม้ส่วนยุทธการด้านป้องกันและปราบปราม สังกัดกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ที่ปฏิบัติงานในปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 จำนวนรวม 182 คน ประกอบด้วยกลุ่มตัวอย่างที่เป็นข้าราชการ จำนวน 35 คน และกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นลูกจ้างประจำ และพนักงานราชการที่สุ่มตัวอย่างแบบง่ายได้ 147 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ t-test และ One-Way ANOVA
ผลการวิจัยพบว่า เจ้าหน้าที่ป่าไม้ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 45.88 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) สมรสแล้วและอยู่ด้วยกัน มีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่ภาคเหนือ มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนเท่ากับ 18,633.77 บาท ส่วนใหญ่เป็นพนักงานราชการ และปฏิบัติงานภาคสนาม มีอายุราชการเฉลี่ย 13.23 ปี โดยมีระยะเวลาปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามเฉลี่ย 13.24 ปี ส่วนใหญ่ปฏิบัติงานในพื้นที่ภาคเหนือ มีภาวะหนี้สิน เคยได้รับการฝึกอบรมด้านการป้องกันและปราบปราม และส่วนใหญ่ไม่เคยได้รับความดีความชอบ ไม่มีโรคประจำตัวที่เป็นอุปสรรค และ
ไม่มีอาชีพเสริมระหว่างทำงาน ด้านความรู้ของเจ้าหน้าที่พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง ด้านผลการปฏิบัติงานพบว่า เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานด้านการลาดตระเวนตรวจปราบปรามมากที่สุด ด้านความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง นอกจากนี้ยังพบว่า ปัจจัยด้านภูมิลำเนา และลักษณะงานที่ปฏิบัติ มีผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ป่าไม้ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 สำหรับแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ป่าไม้ ควรเร่งปรับปรุงสวัสดิการ สิทธิประโยชน์ และค่าตอบแทนให้เหมาะสม ควรฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับระเบียบ กฎหมาย และปรับปรุงคู่มือการปฏิบัติงาน ควรมีการจัดสรรงบประมาณ อัตรากำลัง อุปกรณ์ในการปฏิบัติงานให้มีความเหมาะสมเพียงพอ และนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาประยุกต์ใช้ตามความเหมาะสม ควรพิจารณาความดีความชอบอย่างโปร่งใสเป็นธรรม รวมทั้งควรพิจารณาโยกย้ายสับเปลี่ยนหมุนเวียนเจ้าหน้าที่ป่าไม้ไปปฏิบัติงานในลักษณะงานด้านอื่นๆ เพื่อให้ได้เรียนรู้ลักษณะงานใหม่ๆ ที่อาจเป็นการกระตุ้นให้เกิดความกระตือรือร้นในการทำงาน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ ตารางประกอบ ที่ตีพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชแต่อย่างใด
บทความที่เสนอพิจารณาในวารสาร e-JODIL ต้องเป็นบทความที่ไม่เคยส่งไปลงพิมพ์ เผยแพร่ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตัดสินการตีพิมพ์บทความในวารสาร
References
กรมป่าไม้. (2558). โครงการจัดทำข้อมูลสภาพพื้นที่ป่าไม้ปี พ.ศ. 2556 - 2557. กรุงเทพฯ: สำนักจัดการที่ดินป่าไม้ กรมป่าไม้.
กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2557). แผนแม่บทแก้ไขปัญหาการทำลายทรัพยากรป่าไม้ การบุกรุกที่ดินของรัฐ และการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยกองทัพบก
กิตติภัค สารีรัตน์. (2548). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ป่าไม้ หน่วยประสานงานป้องกันรักษาป่า สังกัดสํานักงานประสานงานภาคสนามที่ 2 (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิตการบริหารทรัพยากรป่าไม้). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.
จุฬาวัลย์ พรหมสุวรรณ. (2553). การพัฒนาบทบาทของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านการควบคุมไฟป่า กรมป่าไม้ (วิทยานิพนธ์เกษตรศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี.
ชัชวาลย์ โตตั้ง. (2547). ปัจจัยที่มีผลต่อความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ป่าไม้ต่อผลการดำเนินคดีต่อผู้กระทำผิดกฎหมายว่าด้วยการป่าไม้ ในท้องที่จังหวัดชุมพร. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.
เดชา นิลวิเชียร. (2546). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ป่าไม้ประจำส่วนป้องกันและปราบปรามที่ 1 (ภาคกลาง) กรมป่าไม้ (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.
ธงชัย จารุพพัฒน์. (2541). สถานการณ์ป่าไม้ของประเทศไทยในช่วงระยะเวลา 37 ปี (พ.ศ.2504 - พ.ศ.2541). กรุงเทพฯ: ส่วนวิเคราะห์ทรัพยากรป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้.
พระราชกฤษฎีกาโอนกรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ไปเป็นกรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และปรับปรุงอำนาจหน้าที่และกิจการของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมป่าไม้ และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2546. (2546, 30 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 120 ตอนที่ 93 ก. หน้า 6 - 11.
เพิ่มศักดิ์ วงษ์ดี. (2547). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของลูกจ้างชั่วคราวป่าไม้ ด้านป้องกันและปราบปรามของอุทยานแห่งชาติ จังหวัดกาญจนบุรี. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิตการบริหารทรัพยากรป่าไม้).มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.
วรพจน์ ทรัพย์เกิด. (2550). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ป่าไม้ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. (การศึกษาอิสระปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.
วีระชัย รองเดช. (2551). การปฏิบัติงานและแนวทางพัฒนาเจ้าหน้าที่ป่าไม้ในจังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส (วิทยานิพนธ์เกษตรศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี.