ระบบเกษตรกรรมเพื่อความมั่นคงทางอาหารของชาวนาในเขตลุ่มน้ำปากพนัง

Main Article Content

ชมภูรัฐ ศิริโชติ
พรชุลีย์ นิลวิเศษ
บำเพ็ญ เขียวหวาน
สมจิต โยธะคง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความมั่นคงทางอาหารและการพึ่งพาตนเองของชาวนาชั้นนำด้านข้าวและชาวนาทั่วไปในเขตลุ่มน้ำปากพนัง 2) ระบบเกษตรกรรมของชาวนาชั้นนำด้านข้าว และ 3) ยุทธศาสตร์และแนวทางการดำเนินการส่งเสริมระบบเกษตรกรรม แผนงาน และโครงการ เพื่อความมั่นคงทางอาหาร ใช้วิธีวิจัยแบบผสม กลุ่มตัวอย่างได้แก่ 1) ชาวนาชั้นนำด้านข้าว ใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง และชาวนาทั่วไป ทำการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนในแต่ละจังหวัด จำนวนกลุ่มละ 80 คน ในเขตลุ่มน้ำปากพนัง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ และการสังเกต 2) ชาวนาชั้นนำด้านข้าว ใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 11 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ 3) ผู้แทนที่เกี่ยวข้องกับการทำการเกษตร จำนวน 24 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ และ 4) ผู้แทนที่เกี่ยวข้องกับการทำการเกษตรเข้าร่วมสัมมนา จำนวน 15 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การจำแนก และการศึกษาความเป็นเหตุและผล


ผลการวิจัยพบว่า 1) ชาวนาชั้นนำด้านข้าวและชาวนาทั่วไปมีความมั่นคงทางอาหารระดับมากทั้งสองกลุ่ม และมีการพึ่งพาตนแองระดับมาก และระดับปานกลาง ตามลำดับ 2) ระบบเกษตรกรรมของชาวนาชั้นนำด้านข้าว 3 ระบบ ใน 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสงขลา ทำนาร่วมกับการเลี้ยงสัตว์ จังหวัดพัทลุง ทำนาร่วมกับการปลูกพืช และเลี้ยงปลา และจังหวัดนครศรีธรรมราช ทำนาร่วมกับการทำสวน ทำไร่ เลี้ยงสัตว์ และเลี้ยงปลา และ 3) ยุทธศาสตร์เพื่อความมั่นคงทางอาหาร โดยมีแผนงานและโครงการภายใต้ ทั้ง 5 ยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย (1) การเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิตโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ และการส่งเสริมการผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน (2) การสร้างความมั่นคงทางอาหาร โดยส่งเสริมความรู้ด้านการผลิตที่หลากหลายเกื้อกูลกัน (3) การส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา โดยนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์ (4) การส่งเสริมการทำกิจกรรมการเกษตรแบบผสมผสาน โดยส่งเสริมการทำฟาร์มทางเลือก และการทำฟาร์มผสมผสาน และ (5) การเสริมสร้างคุณภาพชีวิต โดยสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สร้างความเข้มแข็งและยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกศสุดา สิทธิสันติกุล, ขนิษฐา เสถียรพีระกุล และบัญจรัตน์ โจลานันท์. (2558). แนวทางพัฒนาความมั่นคงทางอาหารในชุมชนเกษตรอินทรีย์ ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร, 35(3), 63-72.

จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา. (2550). เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ. วารสารอันเนื่องมาจากพระราชดำริ, 4, 27-28.

ฌัชชภัทร พานิช, ทิพธิญา ภาวะพรหม และสวรส พืชหมอ. (2560). การพัฒนารูปแบบการทำเกษตรกรรมที่เหมาะสมกับพื้นที่ต้นน้ำโครงการสวมหมวกใส่รองเท้าให้ภูเขาหัวโล้น จังหวัดน่าน (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: สถาบันวิทยาลัยชุมชน.

ณัฐกาล เรืองอุดม. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างการพึ่งตนเองกับทุนทางสังคมของชุมชนตลาดน้ำคลองลัดมะยม แขวงบางระมาด เขตตลิ่งชัน (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร. นครปฐม.

ณิชชา สุขสบาย, ปรวรรณ วงษ์รวยดี, นันญารัตน์ แดงรักสกุล, กชกร ไกรวัตนุสสรณ์, กมลนันท์ เพาะปลูก, จันทร์จิรา เสาวพันธ์,... อารียา รอดหิรัญ. (2555). รูปแบบการเกษตรของชาวคลองจินดาที่สอดคล้องกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธนันชัย มุ่งจิต. (2555). แนวทางการเสริมสร้างศักยภาพด้านความมั่นคงทางอาหารบ้านแม่สุริน อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน (รายงานการวิจัย). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

บำเพ็ญ เขียวหวาน. (2554). การบริหารงานส่งเสริมการเกษตร ใน ประมวลสาระชุดวิชาการส่งเสริมการเกษตรเพื่อการพัฒนา

สาขาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ปิยนาถ อิ่มดี. (2547). ความมั่นคงทางอาหารของชุมชนชนบท: ศึกษาเฉพาะกรณีบ้านป่าคา หมู่ที่ 1 ตำบลสวก อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ปทุมธานี.

ราชศักดิ์ นิลศิริ. (2553). ครัวไทยสู่ครัวโลก. เนชั่นเนล จีโอกราฟฟิก, 9(103), 66-76.

วิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ. (2554). บทวิเคราะห์ และปฏิบัติการทางนโยบาย. นนทบุรี: พิมพ์ลักษณ์.

วิรัลพัชร ประเสริฐศักดิ์. (2558). ความมั่นคงทางอาหาร: จากพัฒนาการเกษตรสู่เศรษฐกิจพอเพียง. วารสารการเมืองการปกครอง, 5(2), 144-160.

สยาม หยองเอ่น, บดินทร์ อยู่หว้า และขนิษฐา นวลศรี. (2559). การพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีการผลิตข้าวในระบบเกษตรกรรมยั่งยืน (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม.

สุเมธ ตันติเวชกุล. (2550). การนำเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิตและประกอบธุรกิจ [รายการโทรทัศน์]. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). ขับเคลื่อนแผนฯ สู่อนาคตประเทศไทย 12. วารสารเศรษฐกิจและสังคม, 54(2), 1-68.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2563). สศก. เผยผลศึกษาเศรษฐกิจสังคมครัวเรือนเกษตรในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง รอบ 10 ปี. สืบค้นจาก http://www.oae.go.th/view/1/รายละเอียดข่าว/ข่าว%20สศก./35018/TH-TH

อัสวิน ภักฆวรรณ. (2561). ข้าวพื้นเมืองภาคใต้ ราคาดี มีเสถียรภาพ. สืบค้นจาก https://www.technologychaoban.com/ agricultural-technology/article_73189

อำพล เสนาณรงค์. (2550). องคมนตรีของคนไทยช่วยกันเผยแพร่เศรษฐกิจพอเพียง. สืบค้นจาก http://www.manager.co.th/ QOL/View News.aspx