ความคาดหวังและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อการจัดการสภาพแวดล้อมบริเวณ หาดทรายแก้ว อุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า – หมู่เกาะเสม็ด จังหวัดระยอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลทั่วไปของนักท่องเที่ยว 2) ระดับความคาดหวังของนักท่องเที่ยวต่อการจัดการสภาพแวดล้อมบริเวณหาดทรายแก้ว 3) ระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อการจัดการสภาพแวดล้อมบริเวณหาดทรายแก้ว 4) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับความคาดหวังและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อการจัดการสภาพแวดล้อมบริเวณหาดทรายแก้ว และ 5) ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะด้านการจัดสภาพแวดล้อมบริเวณหาดทรายแก้ว
ประชากรสำหรับการวิจัยเชิงสำรวจ คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ที่มาท่องเที่ยว จำนวน 1,000 ราย โดยกำหนดจำนวนตัวอย่างจากตารางของเครซีและมอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 278 คน ที่ความเชื่อมั่นร้อยละ 95 โดยเลือกใช้วิธีการสุ่มแบบง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลในเดือนพฤษภาคม 2561 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์เพื่อทดสอบสมมติฐาน โดยใช้ไคสแควร์
ผลการศึกษาพบว่า 1) นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 20-30 ปี อาชีพพนักงานบริษัท มีรายได้เดือนละ 10,001-20,000 บาท การศึกษาปริญญาตรี และสถานภาพโสด 2) ความคาดหวังของนักท่องเที่ยวต่อการจัดการสภาพแวดล้อมบริเวณหาดทรายแก้ว ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อยดังนี้ ด้านสวัสดิภาพและ ความปลอดภัย ด้านสิ่งดึงดูดใจ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกและสาธารณูปโภค ด้านการคมนาคม และด้านสุดท้ายด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม 3) ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อการจัดการสภาพแวดล้อมบริเวณหาดทรายแก้ว ภาพรวมอยู่ในระดับมากโดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านสวัสดิภาพและความปลอดภัย ด้านสิ่งดึงดูดใจ ด้านการคมนาคม ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกและสาธารณูปโภค และด้านสุดท้ายด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม 4) เพศ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา และสถานภาพสมรส มีความสัมพันธ์กับความคาดหวังและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อการจัดการสภาพแวดล้อมบริเวณหาดทรายแก้ว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนรายได้ ไม่มีความสัมพันธ์กับความคาดหวังและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อการจัดการสภาพแวดล้อมบริเวณหาดทรายแก้ว และ 5) สำหรับข้อเสนอแนะควรขยายถนน และจัดทำป้ายบอกเส้นทางเข้า - ออก ให้ชัดเจน และควรเพิ่มเจ้าหน้าที่ในการรักษาความปลอดภัยให้มากขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ ตารางประกอบ ที่ตีพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชแต่อย่างใด
บทความที่เสนอพิจารณาในวารสาร e-JODIL ต้องเป็นบทความที่ไม่เคยส่งไปลงพิมพ์ เผยแพร่ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตัดสินการตีพิมพ์บทความในวารสาร
References
กรมอุทยาน. (2562). อุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า –หมู่เกาะเสม็ดเน้นการทำงานอย่างเป็นระบบ...ย้ำคุมเข้มในทุกมิติ. สืบค้นเมื่อ 19 มกราคม 2562 จาก https://www.ryt9.com/s/prg/3077487.
ชลธิรศน์ สุขหอม. (2556). ความคาดหวังและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติต่อการให้บริการของศูนย์บริการข้อมูลท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต) จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.
ทัศนา เกื้อเส้ง, เยาวดี ศราม และวิทิต บัวปรอท. (2555). ความคาดหวังและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อการจัดสภาพในแหล่งท่องเที่ยวน้ำตกทรายขาว (รายงานการวิจัย). ยะลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
ดวงดาว โยชิดะ, ชวลีย์ ณ ถลาง, สุทธินันทน์ พรหมสุวรรณ และสหนนท์ ตั้งเบญจสิริกุล. (2561). ความคาดหวังและความพึงพอใจในการเดินทางท่องเที่ยวประเทศไทยของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่น [ฉบับพิเศษ]. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 12(19), 127-137.
ทัศตะวัน ด่วนตระกูลศิลป์. (2554). ความคาดหวังและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทย ที่มีต่อการท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติในกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.
ธัญวลัย ชุติมาวัฒนานันทน์. (2559). ความคาดหวังและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เดินทางกับคณะทัวร์ที่ส่งผลต่อความภักดีต่อการท่องเที่ยวเมืองพัทยา (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.กรุงเทพฯ.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2550). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: วี. อินเตอร์ พริ้นท์.
ประสาท อิศรปรีดา. (2547). สารัตถะจิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: นําอักษรการพิมพ.
มนต์ชัย เทียนทอง. (2548). การออกแบบและพัฒนาชอฟแวร์ สำหรับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
สมหมาย เสถียรธรรมวิทย์. (2554). ความคาดหวังและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อตลาดน้ำคลองลัดมะยมในเขตตลิ่งชันกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. ปทุมธานี.
สำนักอุทยานแห่งชาติ. (2562). อุทยานแห่งชาติเขาเเหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด. สืบค้นเมื่อ 19 มกราคม 2562, จาก http://park.dnp.go.th/visitor/nationparkshow.php?PTA_CODE=1034
สำนักงานอุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด. (2562). สถิตินักท่องเที่ยวที่เข้าไปในอุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด ประจำปี 2562. ระยอง: อุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด.
หาดทรายแก้ว เกาะเสม็ด. (2562). หาดทรายแก้ว เกาะเสม็ด. สืบค้นเมื่อ 19 มกราคม 2562,จาก https://www.ceediz.com /th/travel/rayong/koh-samed.