การดำเนินคดีแบบกลุ่มในศาลปกครอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา แนวคิด ทฤษฎีหลักการของการดำเนินคดีในลักษณะแบบกลุ่ม ในประเทศไทย โดยศึกษาในกฎหมายแพ่ง และกฎหมายปกครอง ทั้งนี้เพื่อเสนอแนะแนวทางในการแก้ปัญหาที่เหมาะสมเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิในการฟ้องคดีแบบกลุ่มในศาลปกครอง โดยการนำวิธีการดำเนินคดีในลักษณะแบบกลุ่ม หรือการดำเนินคดีแทนผู้เสียหายจำนวนมากมาใช้ในคดีปกครอง
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพใช้ในรูปแบบการวิจัยเอกสารเป็นหลัก (Documentary Research) โดยใช้การค้นคว้าเอกสาร ทั้งกฎหมายเฉพาะของประเทศไทย และต่างประเทศ และใช้วิธีการศึกษาเชิงวิเคราะห์เปรียบเทียบทางระบบกฎหมาย ระบบศาล และหลักกฎหมายโดยศึกษาข้อมูลจากเอกสาร ตำราวิชาการ บทความทางวิชาการ วารสารทางวิชาการ สิ่งตีพิมพ์ที่เกี่ยวข้อง บทความทางอิเล็กทรอนิกส์จากอินเทอร์เน็ต คำพิพากษาของศาลปกครอง คำวินิจฉัย หรือคำสั่ง ตัวบทกฎหมายประมวลกฎหมาย พระราชบัญญัติ เพื่อนำมาทำการวิเคราะห์ และนำมาแก้ไขปัญหากฎหมายต่อไป
ผลการวิจัยพบว่า วิธีพิจารณาคดีปกครองของศาลไทยได้มีการแก้ไขปัญหาในการพิจารณาคดีที่มีผู้เสียหายจำนวนมากด้วย แต่เป็นการใช้วิธีการรวมคดี และวิธีการร้องสอด ซึ่งวิธีการดังกล่าวมีลักษณะใกล้เคียงกับการดำเนินคดีแบบกลุ่ม แต่ไม่มีบทบัญญัติรับรองสิทธิและหน้าที่ไว้โดยตรงในการพิจารณาคดีปกครองเพื่อให้ศาลปกครองใช้เป็นแนวทางพิจารณาคดีแบบกลุ่ม ทั้งยัง ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ตรงจุดในการพิจารณาคดีมีผู้เสียหายจำนวนมากได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังมีข้อบกพร่องอยู่ด้วยกันหลายประการ หากนำวิธีการดำเนินคดีแบบกลุ่มมาปรับใช้กับคดีในศาลปกครอง ในคดีที่มีผู้เสียหายจำนวนมากจะเป็นการอำนวยความสะดวกในกระบวนการยุติธรรมแก่ประชาชน สร้างความเสมอภาคทางด้านสถานะคู่กรณี และให้ได้รับความเป็นธรรมอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งทำให้ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย ตลอดจนเป็นการลดปริมาณคดีที่จะขึ้นสู่ศาลปกครองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้การดำเนินคดีในปัญหาอย่างเดียวกันได้รับผลตามคำพิพากษาเป็นอย่างเดียวกัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ ตารางประกอบ ที่ตีพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชแต่อย่างใด
บทความที่เสนอพิจารณาในวารสาร e-JODIL ต้องเป็นบทความที่ไม่เคยส่งไปลงพิมพ์ เผยแพร่ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตัดสินการตีพิมพ์บทความในวารสาร
References
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง มาตรา 9 (3). (2542, 10 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 116 ตอนที่ 94 ก, หน้า 1-40.
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง มาตรา 9 วรรคหนึ่ง (2) (3) (4). (2542, 10 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 116 ตอนที่ 94 ก, หน้า 1-40.
ลัคนาวดี สายมิตร อรรถเษม. (2562). การดำเนินคดีแบบกลุ่มในระบบกฎหมายไทย และแนวทางการดำเนินคดีแบบกลุ่มในศาลปกครอง. วารสารวิชาการศาลปกครอง, 19(1), 79-125.
สมฤดี ธัญญสิริ. (ม.ป.ป.). สิทธิของผู้เสียหายในการฟ้องคดีต่อศาลปกครอง กรณีหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ “ละเลยต่อหน้าที่”. คอลัมน์รายงานพิเศษ หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์. สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2563, จาก http://122.154.22.188/newqsds/file_upload/2017-03-09-article-49.pdf.
สำนักงานศาลปกครอง. (2555). คดีปกครอง: รู้ไว้บอกต่อ “คดีปกครอง”. สืบค้นเมื่อ 1 มกราคม 2563, จาก http://admincourt.go.th/ADMINCOURT/upload/webcms/Oldnews/attach/news_attach/2012/07/book10072555.pdf.
สำนักงานศาลปกครอง. (2559). ข่าวศาลปกครอง ครั้งที่ 57/2559. สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2563, จาก http://admincourt.go.th/admincourt/site/08hotsuit_detail.php?ids=15478.
สำนักงานศาลปกครอง. (2559). ข่าวศาลปกครอง ครั้งที่ 6/2561. สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2563, จาก http://admincourt.go.th/admincourt/upload/webcms/News/News_310118_111650.pdf.
สำนักงานศาลปกครอง. (2562). ข่าวศาลปกครอง ครั้งที่ 63/2562. สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2563, จาก http://admincourt.go.th/admincourt/upload/webcms/News/News_260919_141621.pdf.
สำนักงานศาลปกครอง. (2562). ข่าวศาลปกครอง ครั้งที่ 76/2562. สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2563, จาก http://admincourt.go.th/admincourt/upload/webcms/News/News_261219_120504.pdf.
สุทธิพงษ์ บุญพอ, ประสาน บุญโสภาคย์ และประสาท พงษ์สุวรรณ. (2561). การพิจารณาคดีปกครองใหม่ [ฉบับพิเศษ]. วารสารเกษมบัณฑิต, 19, 103-123.