ผลการเรียนรู้ระยะไกล ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ด้วยการประชุมออนไลน์ ในรายวิชาทักษะรู้ดิจิทัล คณะศึกษาศาสตร์และนวัตกรรมการศึกษามหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

Main Article Content

อัญญปารย์ ศิลปนิลมาลย์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการเรียนรู้ระยะไกล ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค    ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ด้วยการประชุมออนไลน์ ในรายวิชาทักษะรู้ดิจิทัล 2) ศึกษาระดับความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนรู้ระยะไกล ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ด้วยการประชุมออนไลน์ ในรายวิชาทักษะรู้ดิจิทัล และ3) เปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนรู้ระยะไกลด้วยการประชุมออนไลน์ ในรายวิชาทักษะรู้ดิจิทัล จำแนกตามเพศ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์และนวัตกรรมการศึกษา มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ชั้นปีที่ 1 หมู่ 1 รวม 28 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 2) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (t-test dependent Sample) และการทดสอบที (t-test Independent Sample)


ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการเรียนรู้ระยะไกล ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ด้วยการประชุมออนไลน์ ในรายวิชาทักษะรู้ดิจิทัล ด้านความรู้ นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ ด้านทักษะ นักศึกษาปฏิบัติสร้างชิ้นงานผ่านเกณฑ์ปฏิบัติ คิดเป็นร้อยละ 100 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือร้อยละ 80 2) ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนรู้ระยะไกล ด้วยการประชุมออนไลน์ ในรายวิชาทักษะรู้ดิจิทัล เฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\inline&space;\dpi{100}&space;\bar{X}= 4.01, S.D. = 0.04) และ 3) ความพึงพอใจในการเรียนรู้ระยะไกล ด้วยการประชุมออนไลน์ จำแนกตามเพศ ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05   

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม. (2563). ประกาศกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เรื่อง มาตรการและการเฝ้าระวังการระบาดและโรคติดเชื้อของไวรัสโคโรน่า 2019 หรือโรคโควิด-19 (ฉบับที่ 3): การปฏิบัติการของสถาบันอุดมศึกษา เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด ของโรคโควิด-19. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2563, จาก www.ops.go.th/main/index.php/news-service/announcement/1983-covid-19

กฤติน ติ๊บปะละ. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานสถานีโทรทัศน์ และสถานีวิทยุแห่งหนึ่งใน เขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. กรุงเทพฯ.

กฤธยากาญจน์ โตพิทักษ. (2563). การประเมินการปฏิบัติ แนวคิดสู่การปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 1). พิษณุโลก: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

เครือหยก แย้มศรี. (2562). ประสิทธิผลของการใช้แอปพลิเคชั่น Zoom cloud meeting ช่วยสอนในรายวิชาปฏิบัติการผดุงครรภ์. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 16(2), 36-42.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ไพศาล วรคำ. (2554). การวิจัยทางการศึกษา. มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.

มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์. (2561). หลักสูตรการศึกษาทั่วไป ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2561. กาฬสินธุ์: มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์.

สำนักงานปลัดกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม. (2563). มาตรการการเตรียมความพร้อมรองรับสถานการณ์ไวรัสโคโรน่า 2019 ในปีการศึกษา 2563. สืบค้นเมื่อ 29 สิงหาคม 2563, จาก www.ops.go.th/main/index.php/news-service/announcement/1983-covid-19

อุมาสวรรค์ ชูหา, สุธาทิพย์ เดี่ยววานิชย์, ธีรเสฏฐ์ ศิราธนานนท์, เพชรไพลิน พิบูลย์เกษม และศิริภัททรา จุฑามณี. (2562). การศึกษาความพึงพอใจในการใช้แอปพลิเคชั่น Zoom cloud meeting ช่วยสอน ในรายวิชาปฏิบัติการผดุงครรภ์. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 16(1), 176-182.

Koenigsbauer, K. (2016). บทนำสู่ Microsoft Teams พื้นที่ทำงานที่เน้นการสนทนาใน Office 365. สืบค้นเมื่อ 29 สิงหาคม 2563, จาก https://www.microsoft.com/th-th/microsoft-365/blog/2016/11/02/introducing-microsoft-teams-the-chat-based-workspace-in-office-365/

Microsoft. (2019). การเรียนจากระยะไกลด้วย Microsoft 365: คำแนะนำสำหรับพ่อแม่และผู้ปกครอง. สืบค้นเมื่อ 29 มกราคม 2564, จาก https://support.microsoft.com/th-th/office/การเรียนจากระยะไกลด้วยMicrosoft365:คำแนะนำสำหรับพ่อแม่และผู้ปกครอง-89d514f9-bf5e-4374-a731-a75d38ddd588