การศึกษาองค์ประกอบของทรัพยากรการท่องเที่ยวที่สนับสนุนระบบโลจิสติกส์ ในเขตเมืองเก่าราชบุรี

Main Article Content

ภฤศญา ปิยนุสรณ์
ระชานนท์ ทวีผล
ธเนศ เกษรสิริธร
นิธิกร ม่วงศรเขียว
มนัสสินี บุญมีศรีสง่า

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ข้อจำกัดและอุปสรรคของระบบโลจิสติกส์สำหรับการท่องเที่ยวในเขตเมืองเก่าราชบุรี (2) การออกแบบเส้นทางการท่องเที่ยวที่มีเรื่องราวในเขตเมืองเก่าราชบุรี (3) องค์ประกอบของทรัพยากรทางการท่องเที่ยวที่สนับสนุนระบบโลจิสติกส์ในเขตเมืองเก่าราชบุรี เป็นงานวิจัยแบบพหุวิธี (Multi-Method) ภายใต้กระบวนทัศน์ของการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิทยาการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) จากกลุ่มนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น - ปลาย และอาชีวศึกษา จำนวน 40 คน และกลุ่มตัวแทนภาคประชาชนในเขตเมืองเก่าราชบุรี จำนวน 40 คน ร่วมกับวิธีวิทยาแบบกรณีศึกษาเฉพาะ (Case Study Approach) เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กลุ่มหน่วยงานภาครัฐและเอกชน จำนวน 10 คน ควบคู่กับการใช้เทคนิคการสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participation Observation) ผลการศึกษาพบว่า (1) โครงสร้างทางผังเมืองที่คับแคบและปริมาณรถยนต์โดยสารที่เพิ่มขึ้น ก่อให้เกิดปัญหาการจราจรติดขัดในพื้นที่โดยเฉพาะชั่วโมงเร่งด่วน (2) การออกแบบเส้นทางการท่องเที่ยวเป็นการกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านวัฒนธรรมและสังคมเป็นหลัก รวมทั้งการคัดเลือกแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมในมุมมองของชาวราชบุรีที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ผ่านการเรียบเรียงเนื้อหาที่กระชับเข้าใจง่าย (3) ทรัพยากรทางการท่องเที่ยวที่สนับสนุนระบบโลจิสติกส์มีองค์ประกอบที่สำคัญ 5 ด้าน ได้แก่ (3.1) อัตลักษณ์และความเป็นมา (3.2) การรักษาความปลอดภัย (3.3) ความสะอาดและความเป็นระเบียบ (3.4) โครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก และ (3.5) การส่งเสริมการประชาสัมพันธ์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรวรรณ รุ่งสว่าง และสุพักตรา สุทธสุภา. (2560). แนวคิดและองค์ประกอบของชุมชนเมืองสร้างสรรค์ ตามลักษณะท้องถิ่นในประเทศไทย. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ สถาปัตย์กระบวนทัศน์ ประจำปี พ.ศ. 2560 วันที่ 10 พฤศจิกายน 2560 (น. 23-41). กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร องค์การมหาชน.

เก็จกนก เอื้อวงศ์. (2562). การสนทนากลุ่ม: เทคนิคการเก็บข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ, 12(1), 17-30.

ชลิตา ตริยาวนิช และเอกนรี ทุมพล. (2562). การจัดการโลจิสติกส์สำหรับการท่องเที่ยวในเขตอำเภอเมืองจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 8(1), 23-33.

ชุลีรัตน์ เจริญพร. (2560). “เมืองน่าอยู่”: แนวคิดเพื่อการพัฒนาชุมชนแบบมีส่วนร่วม กรณีศึกษาชุมชนหลักหก ตำบลหลักหก อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี [ฉบับพิเศษ]. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 11, 1-13.

ณภัทร ทิพยศ์รี และขจี เจียตระกูล. (2558). การจัดการโลจิสติกส์การท่องเที่ยวของธุรกิจนำเที่ยวในจังหวัดเชียงราย. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 10(2), 60-70.

นิตยา งามยิ่ง และละเอียด ศิลาน้อย. (2560). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ชุมชนบริเวณริมฝั่งคลองดำเนินสะดวก ในจังหวัดสมุทรสาครและจังหวัดราชบุรี. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 11(1), 149-166.

นิศา ชูโต. (2551). การวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: พริ้นต์โพร.

ปนัสยา สิระรุ่งโรจน์กนก. (2559). พฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อการจัดการโลจิสติกส์การท่องเที่ยว กรณีศึกษาตลาดน้ำอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม (งานนิพนธ์หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี.

ภัทร์อาภรณ์ เอี่ยมวิริยาวัฒน์. (2561). การพัฒนายุทธศาสตร์เพื่อยกระดับชุมชนสู่การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ของชุมชนบ้านพุน้ำร้อน อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี (วิทยานิพนธ์หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). สาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพฯ.

ยาใจ พงษ์บริบูรณ์. (2553). การศึกษาแบบกรณีศึกษา (Case Study). วารสารศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น, 33(4), 42-50.

วาสนา จรูญศรีโชติกำจร, สุภาภรณ์ หมั่นทำ, การันต์ เจริญสุวรรณ. กนิษฐา ศรีภิรมย์, วรารงค์ รามบุตร และชลธิชา แสงงาม. (2560). ประสิทธิภาพการจัดการโลจิสติกส์ของแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดกำแพงเพชร. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่, 10(2), 213-229.

วัลนิกา ฉลากบาง. (2560). การวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method). วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 7(2), 124-132.

ศิรณัฐ กิตติสุวรรณ. (2561). การพัฒนาเมืองเก่ารองรับการเป็นแหล่งท่องเที่ยว: กรณีศึกษาตำบลนาเกลือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี (วิทยานิพนธ์หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์. ปทุมธานี.

สกาวรัตน์ บุญวรรโณ, เกษตรชับ และพีม และบัณฑิต หลิมประดิษฐ์. (2563). การพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในย่านตะกั่วป่า จังหวัดพังงา. วารสารวิจัยราชภัฏเชียงราย, 21(1), 1-14.

สิทธา กองสาสนะ. (2552). การศึกษาเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย, 4(2), 35-58.

สำนักงานจังหวัดราชบุรี. (2563). คู่มือการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ 2563. ราชบุรี: สำนักงานจังหวัดราชบุรี ศาลากลางจังหวัดราชบุรี.

Chhetir, K., R. (2018). Tourism and Security in Nepal. Journal of Tourism Adventure, 1(1), 32-47.

Collier, A., & Harraway, S. (1997). Principler of Tourism. Auckland: Longman.

Hung, K., Huang, H., & Lyu, J. (2020). The Means and Ends of Luxury Value Creation in Cruise Tourism: The Case of Chinese Tourists. Journal of Hospitality and Tourism Management, 44(2020), 143-151.

Lundberg, C., & Kindstrom, N., K. (2020). Sustainable Management of Popular Culture Tourism Destinations: A Critical Evaluation of the Twilight Saga Servicescapes. Sustainability MDPI, 12(5177), 1-16.

Mohanty, P., Himanshi, & Choudhury, R. (2020). Events Tourism in the Eye of the COVID-19 Storm: Impacts and Implications. Canada: Apple Academic Press.

Mrnjavac, E., & Ivanovic, S. (2007). Logistics and Logistics Processes in a Tourism Destination. Tourism and Hospitality Management, 13(3), 531-546.

Shen, C., C., Liang, C., Hsu., C., Chien, J., & Lin, H. (2020). Sustainable Tourism Development in Protected Areas of Rivers and Water Sources: A Case Study of Jiuqu Stream in China. Water MDPI, 12(3311), 1-19.

Supich, A., Inthanjak, M., Trakansiriwanich, K., & Leelapattana, W. (2020). Area Potential in Creative Tourism Management of Lao Krang Ethnic Group in Nakhon Pathom Province through Social Network. International. Journal of the Computer, the Internet and Management, 28(3), 85-91.

Tian, C., & Peng, J. (2020). An integrated picture fuzzy ANP-TODIM multi-criteria decision-making approach for tourism attraction recommendation. Technological and Economic Development of Economy, 26(2), 331-354.