การศึกษาผลการเรียนรู้รายวิชาโครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึมของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีห้องเรียนกลับทางร่วมกับการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้

Main Article Content

ปิยะวัฒน์ ทองแก้ว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบคะแนนผลต่างของคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังเรียนรายวิชาโครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึมกับเกณฑ์ร้อยละ 25 (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ก่อนและหลังเรียนรายวิชาโครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึม (3) ประเมินผลทักษะการจับใจความและสรุปผลทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะการสร้างชิ้นงานและทักษะการนำเสนอผลหน้าชั้นเรียน และ (4) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีห้องเรียนกลับทางร่วมกับการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้เรียนระดับปริญญาตรี หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์และระบบสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา 1125126 โครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึม จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1) แผนการจัดการเรียนรู้ (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ และ (3) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนาและการทดสอบค่าทีแบบอิสระ ผลการวิจัย พบว่า (1) ผู้เรียนมีคะแนนผลต่างของคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังเรียนเฉลี่ยเท่ากับ 10.60 คิดเป็นร้อยละ 32.02 ซึ่งผ่านเกณฑ์ร้อยละ 25 (2) ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (3) ผู้เรียนมีทักษะการจับใจความและสรุปผล ทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ และทักษะการสร้างชิ้นงานและทักษะการนำเสนอผลหน้าชั้นเรียนอยู่ในระดับดี และ (4) ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีห้องเรียนกลับทางร่วมกับการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้อยู่ในระดับดี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรด พิมพิศาล และสุวรรณ เทียนยุทธ. (2558). การพัฒนาทักษะการสืบค้นของนักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 7(13), 123 – 132.

กิตติพงษ์ พุ่มพวง และทิพรัตน์ สิทธิวงศ์. (2561). การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ สำหรับนิสิตระดับอุดมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 20(2), 1 – 11.

ณัฐวุฒิ ศิริวัฒน์ นุชนาฎ ใจดำรงค์ และนวลพรรณ วรรณสุธี. (2560). การพัฒนาบทเรียนผ่านโมบายล์เว็บ เรื่อง หลักการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ เพื่อการเขียนโปรแกรมภาษาจาวาสำหรับนิสิตปริญญาตรี. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 17(2), 24 – 36.

บุญชม ศรีสะอาด. (2539). การแปลผลเมื่อใช้เครื่องมือรวบรวมข้อมูลแบบมาตราส่วนประมาณค่า. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2(1), 64 – 70.

ปิยธิดา บัวประเสริฐยิ่ง. (2560). ผลของการอ่านหนังสือนอกเวลาที่มีต่อการเรียนรู้ ด้วยตนเองของผู้เรียนระดับอุดมศึกษาที่เรียนภาษาอังกฤษ ในฐานะภาษาต่างประเทศ. วารสารนานาชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(10), 80 – 99.

พัชรินทร์ บัวคำ และวาสนา กีรติจำเริญ. (2561). การศึกษาผลการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ การสืบค้นและการนำเสนอข้อมูลโดยใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากการจัดการเรียนรู้บูรณาการแบบสอดแทรก. วารสารชุมชนวิจัย, 12(2), 118 – 132.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2562). เกณฑ์การให้คะแนน:เครื่องมือสาหรับครูเพื่อประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ที่เที่ยงตรงและยุติธรรม. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ., 12(1), 1 – 16.

วันเฉลิม พูนใจสม อรปรียา คำแพ่ง และฆัมภิชา ตันติสันติสม. (2561). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ เรื่อง ไอพีวี 6 สำหรับนักศึกษาสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 5(2), 40 – 50.

วิวัฒน์ มีสุวรรณ์. (2561). ผลการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ เพื่อส่งเสริมทักษะด้านการสื่อสารสารสนเทศ ด้วยกระบวนการห้องเรียนกลับทาง. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 20(3), 162 – 172.

ศศิธร บัวทอง. (2560). การวัดและประเมินทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการ Veridian E –Journal, Silpakorn University, 10(2), 1856 – 1867.

ศิริพล แสนบุญส่ง และสมคิด แซ่หลี (2560). ผลการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน โดยใช้กระบวนการเรียนรู้โครงงานเป็นฐานเพื่อส่งเสริมผลงานสร้างสรรค์ และทักษะการทำงานร่วมกันเป็นทีมของนักศึกษาคณะครุศาสตร์สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 11(3), 195 – 207.

สรวงพร กุศลส่ง และมนสิช สิทธิสมบูรณ์. (2560). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมยุทธวิธีการรู้คิดสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(1), 114 – 130.

สุมาลี สิกเสน. (2562). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้บทเรียนออนไลน์ เรื่อง การสร้างภาพเคลื่อนไหวร่วมกับการจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 17(2), 239 – 252.

สุรไกร นันทบุรมย์. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างการเรียนรู้แบบผสานวิธี ห้องเรียนกลับทาง พื้นที่การเรียนรู้ และการเรียนรู้เชิงรุก. วารสารห้องสมุด, 61(2), 45 – 63.

แสงระวี ปัญญา. (2558). การพัฒนาทักษะการสืบค้นข้อมูลของนักศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. วารสารการวิจัยกาสะลองคํา, 9(1), 1 – 12.

Daniel J. Peterson. (2015). The Flipped Classroom Improves Student Achievement and Course Satisfaction in a Statistics Course: A Quasi – Experimental Study. SAGE Journal, 43(1), 10 - 15. https://doi.org/ 10.1177/0098628315620063.

Nouri, J. (2016). The Flipped Classroom: for Active, Effective and Increased Learning – Especially for Low Achievers. International Journal of Educational Technology in Higher Education, 13(33). https:// doi.org/10.1186/s41239-016-0032-z.

Polat, H., & Karabatak, S. (2022). Effect of Flipped Classroom Model on Academic Achievement, Academic Satisfaction and General Belongingness. Learning Environments Research, 25, 159-182. https:// doi.org/10.1007/s10984-021-09355-0