การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงสำหรับการพัฒนาทักษะการออกแบบสื่อ ตามทฤษฎีการสื่อสาร สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ และ เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงสำหรับการพัฒนาทักษะการออกแบบสื่อตามทฤษฎีการสื่อสาร สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ที่ลงเรียนวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา ชั้นปีที่ 1 จำนวน 38 คน เครื่องมือและวิธีการที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ รูปแบบการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงสำหรับพัฒนาทักษะการออกแบบสื่อตามทฤษฎีการสื่อสาร แบบวัดทักษะการสื่อสาร ดำเนินการในการศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการวิจัยแบบการวิจัยก่อน และหลังการทดลอง ออกแบบแผนการศึกษาแบบกลุ่มเดียว
ผลวิจัยพบว่า ขั้นตอนของรูปแบบการเรียนรู้มี 9 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การให้ผู้เรียนได้เผชิญกับวิกฤติการณ์ที่ไม่เป็นไปตามมุมมองเดิมของตน ขั้นตอนที่ 2 การตรวจสอบตนเอง ขั้นตอนที่ 3 การประเมินสมมติฐานแบบดั้งเดิม ขั้นตอนที่ 4 การค้นหาทางเลือกใหม่ ขั้นตอนที่ 5 การวางแผนการกระทำใหม่ ขั้นตอนที่ 6 การหาความรู้และทักษะสำหรับปฏิบัติตามแผน ขั้นตอนที่ 7 การเริ่มทดลองทำตามระบบใหม่ ขั้นตอนที่ 8 การสร้างความสามารถและความมั่นใจในบทบาทและความสัมพันธ์ใหม่ และขั้นตอนที่ 9 การบูรณาการแบบผสมผสานกลายเป็นวิถีชีวิตใหม่ของตน
ผลการทดลองใช้รูปแบบพบว่า เมื่อพวกเขาประเมินจากปริมาณจุดที่ไม่เป็นไปตามทฤษฎีการสื่อสารในสื่อที่ออกแบบตามการเรียนรู้ในรูปแบบการเรียน และต้องแก้ไข พบว่าครั้งแรก (ขั้นตอนที่3) นักศึกษามีจุดที่ต้องแก้ไขเฉลี่ย 5.27 จุด ครั้งที่ 2 (ขั้นตอนที่ 8) นักศึกษามีจุดที่ต้องแก้ไขเฉลี่ย 2.45 จุด และครั้งสุดท้าย (ขั้นตอนที่ 9) ทดลองให้งานชิ้นใหม่ โดยอาศัยหลักการประเมินเดิม พบว่า นักศึกษามีจุดที่ต้องแก้ไขเฉลี่ย 0.72 จุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ ตารางประกอบ ที่ตีพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชแต่อย่างใด
บทความที่เสนอพิจารณาในวารสาร e-JODIL ต้องเป็นบทความที่ไม่เคยส่งไปลงพิมพ์ เผยแพร่ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตัดสินการตีพิมพ์บทความในวารสาร
References
โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์. (2553). อุดมศึกษาเพื่อการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง. ใน งานระพีเสวนา ครั้งที่ 5. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล
กรธนา โพธิ์เต็ง. (2558). การพัฒนาทักษะการสื่อสารและความสามารถในการทำโครงงานโดยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.นครปฐม.
พิศิษฐ์ พลธนะ, นภดล เลือดนักรบ และภราดร ยิ่งยวด. (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อการปลี่ยนแปลงเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดสร้างสรรค์และความฉลาดทางอารมณ์ของผู้นำนักศึกษา [ฉบับพิเศษ]. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 28, 42-52.
พัชรี ศรีษะภูมิ. (2560). การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านทักษะการคิดแก้ปัญหาโดยผสานแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมและทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง. วารสารศึกษาศาสตร์¬, 11(2), 120-132.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542. กรุงเทพฯ: บริษัทสยามสปอรต์ซินดิเคท จำกัด.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). การเสริมสร้าง "ทักษะชีวิต" ตามจุดเน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนระดับประถมศึกษา-มัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
เสถียร พูลผล, ขนิษฐา สาลีหมัด, เฉลิมศรี ภุมมางกูร และจิตรา ดุษฎีเมธา. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารทางวิชาชีพเภสัชกรรมสำหรับนักศึกษาเภสัชศาสตร์ตามทฤษฎีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง. E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 11(1), 2450-2467.
ปัทมา สายสอาด. (2551). ทักษะการติดต่อสื่อสารของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรีเขต 2 (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากรนครปฐม.
นภดล เลือดนักรบ, สุภาณี เส็งศรี และเทิดศักดิ์ ผลจันทร์. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน โดยจัดการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 10(2), 209-221.
ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2558). ทุกสิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับการสอนผู้เรียนในระดับอุดมศึกษา ในศตวรรษที่ 21. ใน คู่มืออาจารย์ด้านการสอน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่: สำนักพัฒนาคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์.
สุดเฉลิม ศัสตราพฤกษ์ และไพศาล บรรจุสุวรรณ์. (2558). ธรรมาภิบาลเพื่อการจัดการและการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน. วารสารการพัฒนาชุมชน และคุณภาพชีวิต, 3(3), 271-283.
หฤทัย อนุสสรราชกิจ. (2556). กระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงตนเองสำหรับการพัฒนาครูปฐมวัย (รายงานการวิจัย). จันทบุรี: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
เหงียน ถิ ทู ฮ่า และสิรินาถ จงกลกลาง. (2561). การศึกษาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายจังหวัดกาวบั่ง ประเทศเวียดนาม. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6 (2), 14-24.
Hosogi, M., Okada, A., Fujii, C., Noguchi, K., & Watanabe, K. (2012). Importance and Usefulness of Evaluating Self-Esteem in Children. BioPsychoSocial Medicine, 6(9), 1-6.
Mezirow, J. (2000). Learning as Transformation: Critical Perspectives on a Theory in Progress. San Francisco: Jossey Bass.