ผลของกิจกรรมบำบัดแนวผสมผสานที่มีต่อพฤติกรรมก้าวร้าวทางกายและผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของเด็กปฐมวัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.เปรียบเทียบพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กปฐมวัยทั้งก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรมบำบัดแนวผสมผสาน 2. ศึกษาความถี่ในการแสดงออกของพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กปฐมวัยขณะเข้าร่วมกิจกรรมบำบัดแนวผสมผสาน 3. ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเด็กปฐมวัยเมื่อเทียบกับเกณฑ์คะแนนการศึกษา 4. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพฤติกรรมก้าวร้าว การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กปฐมวัย ในโรงเรียนกิตติวิทย์บ้านพรุ จำนวน 17 คน กำลังศึกษาระดับชั้นอนุบาลปีการศึกษา 2562 ที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมบำบัดแบบผสมผสาน 3 กิจกรรม ได้แก่ การเล่นบำบัด ศิลปะบำบัด และวรรณกรรมบำบัดเพื่อลดพฤติกรรมก้าวร้าว แต่ละกิจกรรมจัด 8 ครั้งๆ ละ 45 นาที รวม 18 ชั่วโมง ดำเนินกิจกรรมเป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แบบวัดพฤติกรรมก้าวร้าว (SDQ (2) แบบสังเกตพฤติกรรมก้าวร้าว (3) โปรแกรมการจัดกิจกรรมบำบัดแก้ไขพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กปฐมวัย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน คะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ และ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ Pearson Correlation Coefficient ผลการวิจัย พบว่า 1)เด็กปฐมวัยที่เข้าร่วมกิจกรรมบำบัดแนวผสมผสานต่อพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กปฐมวัย หลังการทดลองมีพฤติกรรมก้าวร้าวลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) การใช้กิจกรรมบำบัดแนวผสมผสาน กล่าวคือ การเล่นบำบัด ศิลปะบำบัด และวรรณกรรมบำบัดต่อเด็กปฐมวัยส่งผลให้การแสดงความถี่ของพฤติกรรมความก้าวร้าวลดลง 3) ภายหลังการเข้าร่วมกิจกรรมบำบัดแนวผสมผสานเด็กปฐมวัยมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น จัดอยู่ในระดับดีมาก เมื่อเทียบกับเกณฑ์คะแนนการศึกษา 4) พฤติกรรมก้าวร้าวและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กปฐมวัยมีความสัมพันธ์ทางลบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ ตารางประกอบ ที่ตีพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชแต่อย่างใด
บทความที่เสนอพิจารณาในวารสาร e-JODIL ต้องเป็นบทความที่ไม่เคยส่งไปลงพิมพ์ เผยแพร่ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตัดสินการตีพิมพ์บทความในวารสาร
References
จักรี อย่าเสียสัตย์. (2556). ผลของการจัดโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพโดยใช้เกมการละเล่นพื้นบ้านไทยเพื่อลดพฤติกรรมก้าวร้าวของนักเรียนประถมศึกษา (ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.
ฉันทิดา สนิทนราทร เวชมงคลกร. (2561). การพัฒนาโปรแกรมการเล่นบำบัดเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงบริการของเด็กปฐมวัยที่มีภาวะสมาธิสั้นในโรงเรียนเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ.
ญาณี เหล่าวิริยะรัตน์. (2552). ผลของการเล่นบำบัดที่มีต่อพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของเด็กอนุบาล (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.
นัยนันต์ จิตประพันธ์. (2557). การป้องกันและดูแลเด็กกลุ่มอาการดาวน์. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 1(3), 73 - 87.
นฤมล พูลเพิ่ม. (2556). ผลการใช้กิจกรรมการพับเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 29(1), 47 – 56.
นิศารัตน์ อิสระมโนรส. (2552). ผลของการใช้กิจกรรมการเล่านิทานแบบไม่จบเรื่องที่มีต่อพฤติกรรมทางจริยธรรมของเด็กวัยอนุบาล. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.
เนตรชนก รักกาญจนันท์. (2558). การจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้วรรณกรรมเป็นรากฐานเพื่อเสริมสร้างทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัย. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพฯ.
รัชนีกร ชะตางาม. (2560). การสร้างสรรค์ศิลปะสื่อผสมพื้นที่แห่งความสุขกรณีศึกษาศิลปะบำบัดเพื่อพัฒนาสมาธิในเด็กสมาธิสั้น (วิทยานิพนธ์ศิลปมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.
วลัยภรณ์ สิงห์น้อย. (2556). ผลของการจัดกิจกรรมศิลปะแบบกลุ่มที่มีต่อการพัฒนาเชาวน์อารมณ์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 6(3), 11 – 19.
วลิฐินี เวทย์วิชานันท์ และวาระดี ชาญวิรัตน์ (2562). การใช้ชุดกิจกรรมศิลปะพัฒนาความสามารถในการจดจ่อตั้งใจทำงานของเด็กบกพร่องทางการเรียนรู้ที่มีภาวะสมาธิสั้น. วารสารราชพฤกษ์, 17(2), 88 – 94.
วาสนา บัวศรี, อลงกต ภูมิสายดร, ประวิทย์ สิมมาทัน และขุนเพชร ใจปันทา. (2552). เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์และความคงทนทางการเรียนสาระการเรียนรู้หน่วยธรรมชาติรอบตัวของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ระหว่างการเล่านิทานจากหนังสือภาพและการเล่านิทานโดยสื่อการ์ตูนแอนิเมชั่น 2 มิติ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 3(3), 89 – 100.
วรรณพร กองมงคล. (2552). การใช้วรรณกรรมบำบัดเพื่อปรับปรุงพฤติกรรมก้าวร้าวของนักเรียนที่มาจากครอบครัวหย่าร้าง (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่.
วรกัญ รัตนพันธ์. (2559). ผลของกลุ่มการเล่นบำบัดแบบเด็กเป็นศูนย์กลางต่อพฤติกรรมก่อกวนในเด็กระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.