นวัตกรรมการสื่อสารสุขภาพเพื่อการป้องกันและเฝ้าระวังโรคซึมเศร้า

Main Article Content

อาภัสสร อ้นวิเศษ
อุษา บิ้กกิ้นส์

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษารูปแบบ เนื้อหา และวิธีการสื่อสารสุขภาพเพื่อป้องกันและเฝ้าระวังภาวะซึมเศร้าผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (2) เพื่อสร้างนวัตกรรมการสื่อสารสุขภาพประเด็นโรคซึมเศร้าเชิงป้องกันเฝ้าระวัง กับกลุ่มผู้รับสารที่เป็นประชากรวัยทำงานอายุ 20 - 65 ปีในกรุงเทพมหานคร จำนวน 15 คน โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มย่อย ดังนี้ กลุ่มที่หนึ่ง คือกลุ่มอายุ 20-30 ปี กลุ่มที่สอง คือ กลุ่มคนอายุ 30 ปีขึ้นไปจนถึง 40 ปี กลุ่มที่สาม คือกลุ่มที่อายุ 40 ปีขึ้นไปจนถึง 65 ปี (3) ออกแบบเครื่องมือเพื่อศึกษาความต้องการใช้แอปพลิเคชั่น LINE มาสื่อสารสุขภาพประเด็นโรคซึมเศร้าเชิงป้องกันเฝ้าระวัง ผูวิจัยไดใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ อันประกอบไปดวยการวิจัยเชิงเอกสารวิเคราะหขอมูลจากหน้าเว็บไซต์ ยูทูบ แอปพลิเคชั่น เฟซบุ๊ก และทวิตเตอร์ เพื่อศึกษารูปแบบ เนื้อหา และวิธีการสื่อสารสุขภาพประเด็นโรคซึมเศร้าผ่านสื่อสังคมออนไลน์ และการสัมภาษณเจาะลึกกับกลุ่มตัวอย่าง 15 คน โดยสัมภาษณ์ 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 สัมภาษณ์ก่อนออกแบบเครื่องมือเพื่อศึกษาความต้องการที่จะใช้แอปพลิเคชั่น LINE มาสื่อสารสุขภาพประเด็นโรคซึมเศร้าเชิงป้องกันเฝ้าระวัง แล้วรวบรวมเพื่อออกแบบเครื่องมือนวัคกรรมสื่อสารสุขภาพตามที่กลุ่มตัวอย่างสนใจ โดยสร้างเป็น Platform เพื่อให้เห็นภาพรวมของเครื่องมือ และครั้งที่ 2 สัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างเดิมเพื่อศึกษาความพึงพอใจและประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากแอปพลิเคชั่น LINE โดยตั้งชื่อว่า m-Mental Health ที่ออกแบบมาเพื่อใช้ในการสื่อสารสุขภาพประเด็นโรคซึมเศร้าเชิงป้องกันเฝ้าระวัง             ผลการวิจัยพบว่า (1) รูปแบบและเนื้อหาการสื่อสารสุขภาพประเด็นโรคซึมเศร้าเชิงป้องกันเฝ้าระวังผ่านสื่อสังคมออนไลน์ 5 ประเภท ได้แก่ เว็บไซต์ทั้งหน้าเต็มไปด้วยรูปภาพกราฟิก เน้นความสวยงาม ดึงดูดความสนใจ ภาพบุคคล ยูทูบ แชร์เทคนิคการดูแลสุขภาพ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้วยระบบสี เสียง การเคลื่อนไหวแบบวีดิโอ แอปพลิเคชั่น แบ่งออกเป็นแบบใช้ฟรี กับแบบมีค่าใช้จ่ายเพื่อจัดการกับความวิตกกังวลและความเครียดของผู้ใช้ทำหน้าที่เป็นนักบำบัดออนไลน์ใช้งานได้ตลอดเวลา แต่เฟซบุ๊กทั้งในไทยและต่างประเทศพบว่าอาจทำให้ผู้ใช้งานเกิดความวิตกกังวลมากเกินไปจนอาจส่งผลให้เกิดความเครียด และปัญหาสุขภาพจิตตามมา ในทางกลับกันทวิตเตอร์ในต่างประเทศพบว่าเป็นพื้นที่สนับสนุนความรู้ที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับโรคซึมเศร้า เน้นการป้องกันรักษา แต่ในประเทศไทยทวิตเตอร์อาจเป็นตัวสนับสนุนให้เกิดการฆ่าตัวตายได้ในที่สุด สำหรับศึกษาเนื้อหาพบว่าสื่อออนไลน์ทั้ง 5 ประเภท มีการนำเสนอเนื้อหาไม่แตกต่างส่วนใหญ่ก็เพื่อรายงานอุบัติการณ์ความชุกของโรคซึมเศร้า เพื่อให้ความรู้สร้างความตระหนักและให้วิธีการดูแลสุขภาพ เพื่อให้คำปรึกษาในการดูแลสุขภาพและรับฟังปัญหา เพื่อแนะนำโรงพยาบาลและสถาบันที่ให้การรักษาโรคซึมเศร้า และสุดท้ายเพื่อให้ข้อมูลในการบำบัดรักษาและช่วยลดภาวะโรคซึมเศร้า (2) วิธีการสื่อสารสุขภาพประเด็นโรคซึมเศร้าเชิงป้องกันเฝ้าระวังผ่านสื่อสังคมออนไลน์ 5 ประเภท มีความแตกต่างกันออกไป ได้แก่ เว็บไซต์มีวิธีการสื่อสารแบบทางเดียว มีทั้งบทความ วารสาร งานวิจัย สื่ออินโฟกราฟิก ยูทูบเป็นการสื่อสารแบบทางเดียวนำเสนอแบบวีดิโอ บทสัมภาษณ์ มีการใช้ภาษาที่ดูเรียบง่าย ฟังเข้าใจง่าย แอปพลิเคชั่นมีหลากหลายรูปแบบทั้งใช้เป็นเครื่องมือในการจัดเก็บข้อมูล/ใช้ในการเผยแพร่แบ่งปันข่าวสาร/ใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการโรคซึมเศร้า วิธีการสื่อสารผ่านเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์มีวิธีการสื่อสารแบบสองทางเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนข้อมูลเน้นการแบ่งปันประสบการณ์ในรูปแบบข้อความ เสียงและวิดีโอ (3) ความต้องการในการใช้แอปพลิเคชั่น LINE Official Account มาสื่อสารสุขภาพประเด็นโรคซึมเศร้าเชิงป้องกันเฝ้าระวัง ผู้ใช้มีความต้องการอยู่ในระดับมาก พบมากสุดในกลุ่มอายุ 20-30 ปี มีเหตุผลที่ทำให้สนใจ คือ การใช้งานง่าย/เข้าถึงง่ายมากที่สุด ต้องการให้มีการนำเสนอข่าวสารในแบบข้อความ รูปภาพ อินโฟกราฟิกและวิดีโอ และให้ความสนใจวิธีการนำเสนอแบบอินโฟกราฟิก และแบบวิดีโอ อยู่ในระดับมากที่สุด (4) ออกแบบเครื่องมือแอปพลิเคชั่น LINE Official Account กลุ่มตัวอย่างต้องการให้มีเนื้อหาเกี่ยวกับแบบคัดกรองและแบบประเมินโรคซึมเศร้า วิธีการดูแลสุขภาพจิตด้วยตนเอง วิธีการป้องกันเฝ้าระวัง ช่องทางการติดต่อโรงพยาบาล และท้ายสุดต้องการให้มีเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความหมายของโรคซึมเศร้า และอาการระดับความรุนแรงของโรคซึมเศร้า (5) การทดสอบเครื่องมือแอปพลิเคชั่น LINE Official Account  พบว่าส่วนใหญ่มีความพึงพอใจมากที่สุดในด้านความทันสมัยของช่องทางและความสะดวกในทำแบบประเมินโรคซึมเศร้า ส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์มากที่สุดในด้านข้อมูลข่าวสารสามารถนำข้อมูลข่าวสารไปใช้ในการดูแลสุขภาพจิตใจและเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงสาธารณสุขกรมสุขภาพจิต. (2560). รายงานอัตราการฆ่าตัวตายในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม 2560 จาก https://www.dmh.go.th/report/suicide/stat_prov.asp

กาญจนา แก้วเทพ. (2543). สื่อสารมวลชน: ทฤษฎีและแนวทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงการณ์มหาวิทยาลัย.

กฤษณี เสือใหญ่. (2559). พฤติกรรมการใช้แอพลิเคชันไลน์ความพึงพอใจและการนําไปใช้ประโยชน์ของคนใน กรุงเทพมหานคร. ใน การประชุมสัมมนาวิชาการระดับชาติ ประจำปี 2559 นวัตกรรมนิเทศศาสตร์และการจัดการ (น.1-11). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

เกศปรียา แก้วแสนเมือง. (2559). พฤติกรรมการใช้และความพึงพอใจจากแอปพลิเคชั่นไลน์ (Line) ของผู้ที่อยู่ในกลุ่มอายุ 25-45 ปี ในเขตกรุงเทพมหานคร (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร. กรุงเทพฯ.

เฉลิมพล ก๋าใจ, ดาราวรรณ ต๊ะปินตา และสมบัติ สกุลพรรณ์. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างการติดเฟชบุ๊กและภาวะซึมเศร้าของวัยรุ่นในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐจังหวัดเชียงใหม่. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 5(2), 59-60.

ชฎาธาร วรรณปะโพธิ์, ฐิติกาญจน์ แสงสุดตา และฐิติพร สำราญศาสตร์. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกรับบริการดูแล ผู้สูงอายุผ่านแอปพลิเคชั่น. คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี. สืบค้นจาก https://www.mis.ms.su.ac.th

ฐิตินันท์ เอียดรักษ์. (2553). เรื่องการพัฒนาเว็บไซต์เวชระเบียนคลินิกออนไลน์ (ค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. กรุงเทพฯ.

ทรงสิทธิ์ สงวนศักดิ์. (2559). ทัศนคติและพฤติกรรมที่มีต่อแอปพลิเคชั่นไลน์ (Line) บนเครือข่ายสังคมออนไลน์: กรณีศึกษา นิสิตระดับปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี.

ธาม เชื้อสถาปนศิริ. (2560). โรคซึมเศร้าจากเฟซบุ๊ก (Facebook Depression Syndrome). สืบค้นเมื่อ 17 กรกฏาคม 2563, จาก https://sites.google.com/site/socheiylthaphirokhhit556/home/1-rokh-sum-sera-cak-fe-sbuk-facebook-depression-syndrome.

พัชรภรณ์ ไกรชุมพล. (2556). ทัศนคติและพฤติกรรมการสื่อสารผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ กรณีศึกษายูทูบเพื่อทราบ และเข้าใจว่าปัจจัยและเหตุผลใดที่มีผลต่อการรับรู้. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฏาคม 2563, จาก http://203.131.210.100/ejournal/wp-content/uploads/2013/03/55018.pdf.

วารีทิพย์ บุญยอ. (2562). การสื่อสารผ่านยูทูบที่มีผลต่อการรับรู้และทัศนคติโรคซึมเศร้าของกลุ่มคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดนนทบุรี. วารสารการสื่อสารและการจัดการ นิด้า, 5(3), 61-72.

สมภพ เรืองตระกูล. (2543). โรคซึมเศร้า และการฆ่าตัวตาย (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เรือนแก้วการพิมพ์.

สุทธานันท์ ชุนแจ่ม. (2554). การสำรวจงานวิจัยที่เกี่ยวกับการพยาบาลภาวะซึมเศร้าในประเทศไทย. รามาธิบดีพยาบาลสาร. 20(3), 289-303. สืบค้นจาก https://med.mahidol.ac.th/nursing/sites/default/files/public/journal/2557/issue_03/20_1.pdf

หทัยรัตน์ เหล็กกล้า. (2550). การศึกษาองค์ความรู้จากวิทยานิพนธ์ สาขาวิชานิเทศศาสตรพัฒนาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วารสารนิเทศศาสตร์, 25(2), 63-82.

อาภัสสร อ้นวิเศษ. (2556). พฤติกรรมการเปิดรับการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจของบุคลากรในสถาบันจิตเวชศาสตร์ สมเด็จเจ้าพระยาที่มีต่อนิตยสารสุขภาพในองค์กร (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ.

Nadeem, M., Horn, M., Coppersmith, G., & Sen, S. (2016). Identifying Depression on Twitter. Retrieved July 20, 2018, from https://www.infodocket.com/2016/08/12/new-research-articles-using-twitter-and-instagram-to-help-predict-depression/

World Health Organization. (2012). Fact Sheet N 369 October 2012 Depression Health Topic. Retrieved July 16, 2018, from http://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs369/en