การผสานศาสตร์ละครกับวัฒนธรรมการศึกษาในศตวรรษที่ 21
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลการทบทวนองค์ความรู้ แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมการศึกษาของไทย ศาสตร์ละคร แนวคิดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อนำเอาความรู้ดังกล่าวนี้ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาการผสานศาสตร์ละครกับวัฒนธรรมการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ผลการทบทวนองค์ความรู้ พบว่า ศาสตร์ละครสามารถพัฒนาคุณลักษณะที่สำคัญของมนุษย์ได้ 10 คุณลักษณะ ได้แก่ (1) ทัศนคติเชิงบวก (2) การจรรโลงใจ คุณธรรมและจริยธรรม (3) การปรับตัวเข้ากับสังคมและวัฒนธรรมที่หลากหลาบ (4) การคิด สติปัญญา การใช้วิจารณญาณในการแก้ไขปัญหา (5) การทำงานร่วมกันกับผู้อื่นและผู้มีความคิดต่าง (6) ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ (7) ความคิดสร้างสรรค์ และสุนทรียะ (8) ความรอบรู้ในศาสตร์ต่างๆ (9) การอ่านและเขียน (10) การสื่อสารและภาษา ศาสตร์ละครสามารถนำมาพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างสอดคล้องและเป็นประโยนช์ต่อวัฒนธรรมการศึกษาในศตวรรษที่ 21 การผสานศาสตร์ละครกับวัฒนธรรมการศึกษามีขั้นตอน ดังนี้ (1) กำหนดแผนการเรียนรู้ (2) กำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ (3) กำหนดเนื้อหาการเรียนรู้เชื่อมโยงกับเนื้อหาละคร (4) จัดเตรียมสื่อการเรียนการสอนและอุปกรณ์สำหรับการแสดง (5) ดำเนินการซ้อมและจัดแสดง (6) ประเมินผลการเรียนรู้จากการดูละครเพื่อนำผลที่ได้มาเป็นแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงการผสานศาสตร์ละครกับการศึกษาในครั้งต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ ตารางประกอบ ที่ตีพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชแต่อย่างใด
บทความที่เสนอพิจารณาในวารสาร e-JODIL ต้องเป็นบทความที่ไม่เคยส่งไปลงพิมพ์ เผยแพร่ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตัดสินการตีพิมพ์บทความในวารสาร
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542. กรุงเทพฯ: บริษัทสยามสปอรต์ ซินดิเคท จำกัด.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). รายงานการศึกษาไทย พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.
กฤษรา (ซูไรมาน) วริศราภูริชา. (2551). งานฉากละคร เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จรวยพร ธรณินทร์. (2564). เด็กไทยหัวโต ตัวลีบ การเรียนรู้ที่ขาดความสมดุล. สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2564 จาก https://www.dailynews.co.th/education/739099.
จิตติมา อัครธิติพงศ์. (2561). แนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคไทยแลนด์ 4.0. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 20(1), 99 – 107.
ชนากานต์ สุวรรณรัตนศรี. (2562). คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของบุคลากรในยุคประเทศไทย 4.0. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6. นครราชสีมา: วิทยาลัยนครราชสีมา.
ทองทิพย์ มนตรี. (2558). การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 16. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ประจำปี 2558. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
ธิติพัฒน์ เอี่ยมนิรันดร์. (2548). แนวคิดนิเทศศาสตร์ศึกษา หน่วยที่ 1 ใน ประมวลสาระและแนวการศึกษาชุดวิชานิเทศศาสตร์ศึกษา. นนทบุรี: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
นพมาส ศิริกายะ. (2525). ประพันธศิลป์ของอริสโตเติล. กรุงเทพฯ: ภาควิชาศิลปกรรมการละคร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว. (2547). ศาสตร์แห่งการวิจัยทางการเมืองและสังคม (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2561). ครูในศตวรรษที่ 21 ต้องมีคุณลักษณะอย่างไร. สืบค้นมื่อ 15 เมษายน 2564 จาก https://www.trueplookpanya.com/education/content/68571/-teaartedu-teaart-teaarttea-.
วิจารณ์ พานิช. (2557). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. นครปฐม: บริษัท ส เจริญการพิมพ์ จำกัด.
สดใส พันธุมโกมล. (2531). ศิลปะการละครเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: องค์กรค้าคุรุสภา.
สุกัญญา แช่มช้อย. (2562). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย. (2560). นโยบายและยุทธศาสตร์ส่งเสริมศิลปะวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: กระทรวงวัฒนธรรม.
สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย สพฐ. (2564). แนวทางจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ
วาสนา ศรีอัครลาภ และจิราวรรณ คงคล้าย. (2559). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรแห่งยุคสารสนเทศ สู่องค์กรยุคใหม่ในอนาคต. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 9(2), 382 – 338.
Barranger, Milly S. (1995). Theatre: A Way of Seeing. Belmont, California: Wadsworth.
Belias, D., Velissariou, E., Kiriakou, D., & Vasiliadis, L. (2018). Greece as a Sports Tourism Destination. Switzerland: Nature Springer.
Brockett, Oscar G. (1964). The Theatre: an Introduction. New York: Holt, Rinehart and Winston, c1964.
World Economic Forum. (2016). New Vision for Education: Fostering Social and Emotional Learning through Technology. Switzerland Cologny/Geneva: World Economic Forum.