สังคมผู้สูงอายุไทยกับการสื่อสารนโยบายการเตรียมความพร้อมเข้าสู่เศรษฐกิจผู้สูงวัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1.การสื่อสารความพร้อมเชิงนโยบาย มาตรการต่างๆ ที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจสูงวัย 2.ความพร้อมเชิงสุขภาวะของผู้สูงอายุต่อความต้องการของระบบเศรษฐกิจผู้สูงวัย 3. ปัญหา ความต้องการ ความท้าทายต่างๆ และข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุสู่เศรษฐกิจผู้สูงวัย 4. เพื่อเสนอแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุภายใต้บริบท ของเศรษฐกิจผู้สูงวัย กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มผู้สูงวัย อายุ 51–65 ปี จำนวน 100 คน กลุ่มผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ จำนวน 20 คน เครื่องมือได้แก่แบบสอบถามออนไลน์ ใช้วิธีการวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า 1.การสื่อสารความพร้อมเชิงนโยบาย มาตรการต่างๆที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจสูงวัย ได้แก่นโยบายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับส่งเสริมการทำงาน การสร้างอาชีพผู้สูงอายุของกลุ่มแกนนำผู้สูงอายุ อยู่ในระดับน้อย คือมีการแจ้งให้ทราบเกี่ยวกับนโยบายการจ้างงานผู้สูงอายุและการลดหย่อนภาษีน้อย 2.ความพร้อมเชิงสุขภาวะของผู้สูงอายุต่อความต้องการของระบบเศรษฐกิจผู้สูงวัย พบว่า ส่วนใหญ่ผู้สูงอายุ มีสุขภาพจิตที่ดี มีทัศนคติที่ดี มีมุมมองต่อชีวิตที่ดี สดชื่น มีสุขภาพดี สามารถทำงานได้ 3. ปัญหา ความต้องการ ความท้าทายต่างๆ และข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุสู่เศรษฐกิจผู้สูงวัย พบว่ารัฐต้องหาอาชีพเสริมที่เหมาะสมกับวัย สนับสนุนให้ผู้สูงอายุได้ทำงานที่ถนัด มีการรวมกลุ่มทำกิจกรรมร่วมกัน 4. แนวทางการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุภายใต้บริบทของเศรษฐกิจผู้สูงวัยพบว่ารัฐต้องมีการบริหารจัดการในองค์ประกอบที่เกี่ยวกับผู้สูงอายุอย่างเป็นรูปธรรมและเชื่อมต่อกันในบริบทต่างๆ ทั้งระยะสั้น ระยะยาว เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ ตารางประกอบ ที่ตีพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชแต่อย่างใด
บทความที่เสนอพิจารณาในวารสาร e-JODIL ต้องเป็นบทความที่ไม่เคยส่งไปลงพิมพ์ เผยแพร่ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตัดสินการตีพิมพ์บทความในวารสาร
References
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2560). สถานการณ์ผู้สูงอายุและการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมสูงวัยของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2561). แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (2555-2564). กรุงเทพฯ: กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ธันย์พัทธ์ ใคร้วานิช. (2562, 19 กุมภาพันธ์). เศรษฐกิจสีเงินในยุคดิจิทัล. INEWHORIZON. สืบค้นเมื่อ 27 เมษายน 2564, จาก http//www.inewhorizon.net/789621-2.
พิเชษฐ์ ณ นคร. (2561, 18 พฤษภาคม). Silver Economy เศรษฐกิจสูงวัย. ประชาชาติธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 27 เมษายน 2564,จาก https://www.prachachat.net/columns/news-160231.
สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2561). ศึกษาสังคมผู้สูงอายุกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย.
World Health Organization: WHO 2014). Active Ageing. Retrieved October, 21 2018, from http://www.who.int/ageing/global-strategy/