ผลกระทบของหนี้ครัวเรือนต่อเสถียรภาพและการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศไทย

Main Article Content

อภิญญา วนเศรษฐ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้ คือ 1) ศึกษาสภาพทั่วไปและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของหนี้ครัวเรือนไทย ในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2554-2563 2) ศึกษาผลกระทบของหนี้ครัวเรือนต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการเกิดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-Performing Loan: NPL) ของสถาบันการเงิน โดยในการวิเคราะห์เชิงปริมาณตัวแปรประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หนี้ครัวเรือน การบริโภคภาคครัวเรือน อัตราดอกเบี้ยนโยบาย และหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ และในการศึกษานี้ใช้เครื่องมือประกอบด้วยการทดสอบความนิ่งของข้อมูล การหาความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระยะยาว และการหาความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล โดยใช้ข้อมูลรายไตรมาส ระหว่าง พ.ศ. 2554-2563 ซึ่งเป็นช่วงที่อัตราหนี้ครัวเรือนต่อ GDP เริ่มเร่งตัวขึ้นและอยู่ในระหว่างร้อยละ 60-89.


ผลการศึกษาพบว่า 1) หนี้ครัวเรือนไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ณ ไตรมาส 4 พ.ศ. 2563 พบว่าประมาณ 1 ใน 3 ของหนี้ครัวเรือนทั้งหมดเป็นการกู้ยืมเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นการกู้เพื่อที่อยู่อาศัยเป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตามเมื่อรวมการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลอื่น การเช่าซื้อรถยนต์/จักรยานยนต์ บัตรเครดิต และการศึกษา ซึ่งนับเป็นกลุ่มการบริโภคด้วยกันจะมีสัดส่วนสูงถึงกว่าร้อยละ 40 ของหนี้ครัวเรือนทั้งหมด สะท้อนให้เห็นว่าเศรษฐกิจไทยได้พึ่งพาการบริโภคผ่านการก่อหนี้ค่อนข้างมากในช่วงที่ผ่านมา 2) ผลกระทบของหนี้ครัวเรือนต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการเกิดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ พบว่าการบริโภคภาคครัวเรือนมีบทบาทสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ หนี้ครัวเรือน และหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ในขณะที่หนี้ครัวเรือนเริ่มส่งผลกระทบต่อการบริโภคครัวเรือนที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ในขณะเดียวกันก็ส่งผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจและหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ที่ระดับนัยสำคัญ 0.10 นั่นคือหนี้ครัวเรือนสูงขึ้นประชาชนจะจับจ่ายใช้สอยหรือบริโภคสูงขึ้นในระยะแรก ส่งผลดีต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะสั้นจากแรงขับเคลื่อนของการบริโภคนั่นเอง แต่ในระยะต่อไปการบริโภคจะลดลงจากภาระหนี้ที่เพิ่มขึ้นและส่งผลลบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ รวมทั้งเร่งให้หนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้สูงขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (ม.ป.ป.). หนี้ครัวเรือน: ปัญหาที่ทุกคนต้องช่วยกันแก้. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2563, จาก https://www.bot.or.th/Thai/BOTMagazine/Pages/25650157TheknowledgeHouseholdDebt.aspx

Andreas, B. (2002). Intertemporal Intertemporal Choice. Retrieved June 24, 2021, from http://www. dartmouth.edu/~econ21/x02-topic1a.pdf

Chetan, P. (2018). Household debt. Retrieved December 20, 2021, from https://www.capitalideasonline.com/wordpress/household-debt-2/

Debelle, G. (2004). Household Debt and the Macroeconomy. BIS Quarterly Review, March, pp.51-64.

Grange, C.W. (1988) Some Recent Developments in the Concept of Causality. Journal of Econometrics, 39(1-2), 199-211.

Johansen, S. (1988). Statistical Analysis of Cointegration Vectors. Journal of Economic Dynamics and Control, 12(2-3), 231-254.

Kittiphongphat, N. (2018). The Relationship between Household Debt and Household Consumption in Thailand. School of Public Policy. The University of Tokyo. Tokyo. Japan.

Lombardi, M., Mohanty, M., & Shim, I. (2017). The Real Effects of Household Debt in the Short and Long Run. In BIS Working Papers no 607. Retrieved from https://www.bis.org/publ/work607.pdf.

Mian, A., Sufi, A., & Verner, E. (2015). Household Debt and Business Cycles Worldwide. In National Bureau of Economic Research. Working Paper 21581. Retrieved from https://www.nber.org/system/files/working_papers/w21581/w21581.pdf.

Punzi, M. T. (2018). Integrative Report: Household Debt in SEACEN Economies. In The SEACEN Centre. Retrieved from https://www.seacen.org/publications/RStudies/2018/RP102/1-IntegrativeReportHouseholddebt.pdf

Valckx, N. (2017). Rising Household Debt: What It Means for Growth and Stability. Retrieved from https://blogs.imf.org/2017/10/03/rising-household-debt-what-it-means-for-growth-and-stability/

Tejvan, P. (2008). Testing Marshall Lerner Condition. Retrieved December 20, 2021, from https://www.economicshelp.org/blog/164/trade/testing-marshall-lerner-condition/