การรู้ดิจิทัลและพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ระดับปริญญาตรี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรู้ดิจิทัลและพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ เพื่อศึกษาความแตกต่างการรู้ดิจิทัล พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์จำแนกตามเพศและคณะ และเพื่อหาความสัมพันธ์การรู้ดิจิทัล และพฤติกรรมในการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ระดับปริญญาตรี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาความฉลาดทางดิจิทัล (Digital Intelligence Quotient) ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 150 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามการรู้ดิจิทัล และพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ Google Forms สถิตที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติทดสอบ t-test independent การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) และการวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย (Simple Regression Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า การรู้ดิจิทัลทั้ง 5 ด้านนั้น ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านการจัดการความเป็นส่วนตัว รองลงมา คือ ด้านการสื่อสารและการมีจริยธรรมในโลกออนไลน์ การจัดการการกลั่นแกล้งบนไซเบอร์ การรู้เท่าทันสื่อ และการใช้อุปกรณ์ดิจิทัล ตามลำดับ การรู้ดิจิทัลส่งผลทางบวกต่อพฤติกรรมในการใช้สื่อสังคมออนไลน์ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะศิลปศาสตร์มีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ สูงกว่าคณะวิทยาการคอมพิวเตอร์ การรู้ดิจิทัลในด้านการใช้อุปกรณ์ดิจิทัลของนักศึกษาหญิงและชายแตกต่างกัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ ตารางประกอบ ที่ตีพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชแต่อย่างใด
บทความที่เสนอพิจารณาในวารสาร e-JODIL ต้องเป็นบทความที่ไม่เคยส่งไปลงพิมพ์ เผยแพร่ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตัดสินการตีพิมพ์บทความในวารสาร
References
กาญจนา หฤหรรษพงศ์. (2562). การรู้ดิจิทัลของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้, 5(2), 27-40.
จุฑารัตน์ ศราวณะวงศ์, ขจร ฝ้ายเทศ, ดวงแก้ว เงินพูนทรัพย์ และวัลลภา จันทรดี. (2560). พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วารสารบรรณศาสตร์ มศว., 10(2), 16-31.
แววตา เตชาทวีวรรณ และอัจศรา ประเสริฐสิน. (2559). การประเมินการรู้ดิจิทัลของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารสารสนเทศศาสตร์, 34(4), 1-28.
Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Testing (3rd ed.). New York: Harper & Row.
Poomjan, P., Hongliam, N., & Odompet, P. (2015). Online Social Media Usage Behaviors of Preclinical Medical Students of Faculty of Medicine Siriraj Hospital. Siriraj Medical Bulletin, 8(1), 27-35.
White, C. M. (2012). Social Media, Crisis Communication, and Emergency Management: Leveraging Web 2.0 Technologies. Boca Raton, FL: CRC Press.