การศึกษาการประเมินผลการเรียนรู้และหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในภาพรวมของนักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการ) หลักสูตรปรับปรุงพ.ศ. 2560 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

Main Article Content

สุรเดช หวังทอง
ณัฐปภัสษ์ จุ้ยเจริญ
จีราภรณ์ สุธัมมสภา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการเรียนรู้และหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในภาพรวมของนักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการ) หลักสูตรปรับปรุงพ.ศ. 2560 โดยการศึกษานี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาปัจจุบันในหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการ) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560 ที่เข้าศึกษาในปีการศึกษา 2561 และยังคงมีสถานภาพนักศึกษาในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 400 ราย ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้เป็น สถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistic) โดยใช้สมการถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression) ผลการวิจัยพบว่า ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง (X1) ข้อกำหนดของหลักสูตร (X2)  โครงสร้างและเนื้อหาของหลักสูตร (X3) กลยุทธ์การเรียนและการสอน (X4)  การประเมินผู้เรียน (X5)  คุณภาพบุคลากรสายสนับสนุน (X6)  คุณภาพผู้เรียน (X7) การสนับสนุนและการให้คําปรึกษาผู้เรียน (X8) และสิ่งอํานวยความสะดวกและโครงสร้างพื้นฐาน (X9)  สามารถร่วมกันพยากรณ์ความพึงพอใจของนักศึกษาได้ร้อยละ 72.8 โดยมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานในการพยากรณ์เท่ากับ 0.26611 และมีสมการพยากรณ์ดังนี้คือ  gif.latex?Z\hat{y} = 0.109ZX1 + 0.146ZX2 + 0.089ZX3 + 0.082ZX4 + 0.102ZX5 + 0.249ZX6 + 0.151ZX7 + 0.134ZX8 + 0.099ZX9

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัญญดา อนุวงศ์, อาจรี ศุภสุธีกุล, วัยวุฑฒ์ อยู่ในศิล และกรัณฑ์รัตน์ สุนทรพันธ์. (2561). ความคิดเห็นและการปฏิบัติของคณาจารย์ในการใช้ระบบประกันคุณภาพการศึกษาเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (AUN-QA) ระดับหลักสูตรในประเทศไทย. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 10(20), 1 – 16.

จารุวรรณ สนองญาติ, กัญญดา อนุวงศ์, สุทัศน์ เหมทานนท์ และพรฤดี นิธิรัตน์. (2562). การใช้ระบบประกันคุณภาพการศึกษาเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (AUN-QA) ระดับหลักสูตรในวิทยาลัยพยาบาล. The Journal of Baromarajonani College of Nusing, Nakhonratchasima, 25(2), 247-260.

เถลิงพร เต้าตะโร, สุธาสินี บุญญาพิทักษ์, และวัลลยา ธรรมอภิบาล อินทนิน. (2561). การประเมินหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาการวัดและประเมินทางการศึกษา (4 ปี) โดยประยุกต์ใช้เกณฑ์การประกันคุณภาพระดับหลักสูตร (AUN-QA). วารสาร AL-NUR บัณฑิตวิทยาลัย, 13(24), 149-164.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

สมภพ มูฮัมหมัด. (2561). การรับรู้และการมีส่วนร่วมของบุคลากรสายสนับสนุนต่อการประกันคุณภาพการศึกษา กรณีศึกษา สำนักงานอธิการบดี สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สิทธิชัย แสงอาทิตย์. (2563). ประสบการณ์การใช้เกณฑ์การประเมินเพื่อรับรองหลักสูตรตามแนวทาง ABET และ AUN-QA. ใน การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25 (หน้า CEE01 - 9). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ASEAN University Network. (2020). Guide to AUN-QA Assessment at Programme Level Version 4.0. Retrieved from https://www.aunsec.org/application/files/2816/7290/3752/Guide_to_AUN-QA_Assessment_at_Programme_Level_Version_4.0_4.pdf

Yamane, T. (1970). Statistic: An Introductory Analysis (2nd ed). New York: Harper & Row.