การจัดการความคิดสร้างสรรค์ทรัพยากรมนุษย์ของสหกรณ์ออมทรัพย์ในประเทศไทย: การศึกษาแบบปรากฏการณ์วิทยา

Main Article Content

วรชัย สิงหฤกษ์
ศิริลักษณ์ นามวงศ์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบ/วิธีการในการจัดการความคิดสร้างสรรค์ทรัพยากรมนุษย์ในสหกรณ์ 2) ศึกษาปัจจัยสาเหตุที่ส่งผลกระทบต่อการจัดการความคิดสร้างสรรค์ทรัพยากรมนุษย์ 3) ศึกษาผลลัพธ์ของการจัดการความคิดสร้างสรรค์ทรัพยากรมนุษย์ 4) ปัญหา อุปสรรคและแนวทางในการจัดการความคิดสร้างสรรค์ทรัพยากรมนุษย์


การวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาแบบปรากฏการณ์วิทยา ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้บริหารระดับสูงของสหกรณ์ออมทรัพย์ในประเทศไทยที่ได้รับรางวัลสหกรณ์ออมทรัพย์ดีเด่นด้านการสร้างสรรค์นวัตกรรม ประจำปี 2560 จำนวน 13 สหกรณ์ โดยการเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก และการวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการแปลความและตีความข้อมูล เพื่อหาข้อสรุปในประเด็นต่างๆ


ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบ/วิธีการในการจัดการความคิดสร้างสรรค์ทรัพยากรมนุษย์ในสหกรณ์ สหกรณ์จำเป็นต้องพัฒนาบุคลากรในการให้มีความคิดใหม่ๆ ที่แตกต่างออกไปจากเดิมในการที่จะสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของสหกรณ์ได้ โดยสหกรณ์จะต้องดำเนินการ คือ (1) การบ่มเพาะความคิด สร้างจิตสำนึก และสร้างแรงจูงใจ (2) การไปอบรมศึกษาดูงาน (3) การให้ความรู้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง และ (4) การติดตามและประเมินผล 2) ปัจจัยสาเหตุที่ส่งผลกระทบต่อการจัดการความคิดสร้างสรรค์ทรัพยากรมนุษย์ในสหกรณ์ โดยผู้บริหารของสหกรณ์ต้องมีภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์เข้ามาบริหารการจัดการเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสิ่งใหม่ๆ สร้างความเชื่อมั่นให้กับบุคลากร และเป็นบรรทัดฐานในการทำงานเพื่อก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ การสร้างวัฒนธรรมองค์การเป็นการส่งเสริมและสร้างค่านิยมร่วมกันให้เกิดขึ้นในสหกรณ์ โดยให้บุคลากรสร้างพฤติกรรมการทำงานที่มุ่งหวังก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และเป็นนวัตกรรมได้ โดยมีกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้บุคลากรพัฒนาทักษะ ความรู้ และความสามารถเพื่อการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และการจัดการทรัพยากรในองค์การในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านกายภาพ ด้านการเงิน และด้านการจัดการทรัพยากรทางปัญญา 3) ผลลัพธ์ของการจัดการความคิดสร้างสรรค์ทรัพยากรมนุษย์ในสหกรณ์ การดำเนินงานของสหกรณ์มีเป้าหมายมุ่งที่จะพัฒนาสหกรณ์ให้มีศักยภาพสามารถที่จะแข่งขันกับองค์การธุรกิจภาคเอกชนได้ การนำข้อมูลสารสนเทศประกอบการตัดสินใจ เน้นการวัดผลการดำเนินงานทางการเงิน สิ่งสำคัญสหกรณ์ต้องมุ่งเน้นกระบวนการให้บุคลากร องค์การ ได้พัฒนาทักษะ ความรู้ ความสามารถและคุณลักษณะอื่นๆ เพื่อผลการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น 4) ปัญหาอุปสรรค พบว่า สหกรณ์ออมทรัพย์บางแห่งไม่มีการจัดการความรู้อย่างต่อเนื่อง ลักษณะการทำงานเป็นแบบเดิมๆ กรรมการสหกรณ์และเจ้าหน้าที่ไม่สนใจที่จะแสวงหาความรู้ใหม่ๆ ยึดติดกับสิ่งเดิมๆ ไม่คิดนอกกรอบ ไม่ค่อยกล้าแสดงความคิดเห็นในประเด็นต่างๆที่เกิดประโยชน์ต่อสหกรณ์ โดยแนวทางในการจัดการความคิดสร้างสรรค์ทรัพยากรมนุษย์ เพื่อสร้างสรรค์ให้เกิดเป็นนวัตกรรมและส่งผลต่อการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายตามที่ได้กำหนดไว้ โดยกำหนดเป็นเชิงนโยบายหรือกลยุทธ์เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่วงการสหกรณ์ต่อไปในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Amabile, T. M. (1997). Motivating Creativity in Organizations: On Doing What You Love and Loving What You Do. California Management Review, 40, 39-58.

De Jong, J., & Den Hartog, D. (2010). Measuring Innovative Work Behavior. Creativity and Innovation Management, 19(1), 23-36.

Ejaz, W., Shah, S., Saad, H., Aziz, J., Jaffari, A. R., Zaman, A., & Jaffari, M. R. (2011). Role of Self Concordant Goals in Obtaining Innovation and Creativity in the Employees. Interdisciplinary Journal of Contemporary Research in Business, 3(4), 172-181.

Giannopoulou, E., Gryszkiewicz, L., & Barlatier, P. J. (2014). Creativity for Service Innovation: A Practice-Based Perspective. Journal of Service Theory and Practice, 24(1), 23-44.

Grbich, C. (2013). Content Analysis of Texts: Qualitative Data Analysis. London: Sage Publications Ltd.

Holder, B. J., & Matter, G. (2008). The Innovative Organization. Retrieved December 11, 2020, from http://www.geocities.com/CollegePark/Library/1048/innova.html

Louise, S., & Temperley, J. (2012). Creative Leadership: A Challenge of Our Time. School Leadership and Management, 29(1), 65-78.

Lu, K., Zhu, J., & Bao, H. (2015). High-Performance Human Resource Management and Firm Performance: The Mediating Role of Innovation in China. Industrial Management & Data Systems, 115(2), 352-382.

Manu, P., Sarpal, D., Muir, O., M Kane, J., & U Correll, C. (2013). When Can Patients with Potentially Life-Threatening Adverse Effects be Rechallenged with Clozapine? A Systematic Review of the Published Literature. Schizophrenia Research, 134(2-3), 180-186.

Mueller, J. S., Goncalo, J. A., & Kamdar, D. (2011). Recognizing Creative Leadership: Can Creative Idea Expression Negatively Relate to Perceptions of Leadership potential?. Journal of Experimental Social Psychology, 47(2), 494-498.

Peng, Y. S., & Lin, S. S. (2008). Local Responsiveness Pressure, Subsidiary Resources, Green Management Adoption and Subsidiary’s Performance: Evidence from Taiwanese Manufactures. Journal of Business Ethics, 79, 199-212.

Puccio, G., Murdock, M., & Mance, M. (2017). Creative Leadership: Skills That Drive Change. London: Sage Publications.

Robbins, S.P., Odendaal, A., & Roodt, G. (2003). Organizational Behavior: Global and Southern African Perspectives (9th ed.). Cape Town: Pearson Education.

Sherwood, D. (2001). Smart Things to Know About Innovation & Creativity. Oxford: Capstone Publishing Limited.

Singharerk, W., & Jadesadaluck, V. (2018) Innovation and Information Technology Usage in Knowledge Management for Human Resource Development in Cooperative. Electronic Journal of Open and Distance Innovative Learning (e-JODIL), 9(1), 1-9.

Woodman, R. W. (2008). Creativity and Organizational Change: Linking Idea and Extending Theory. In Zhou, J., & Shalley, C.E. (Eds.), Handbook of organizational creativity (pp. 283–300). New York: Taylor & Francis Group.