แนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดการการเกษตรในเขตจัดรูปที่ดินและ เขตระบบน้ำเพื่อเกษตรกรรม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการจัดการการเกษตร 2) ปัญหาการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการจัดการการเกษตร และ 3) แนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดการการเกษตรในเขตจัดรูปที่ดินและเขตระบบน้ำเพื่อเกษตรกรรม
ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการจัดรูปที่ดินและเขตระบบน้ำเพื่อเกษตรกรรม จังหวัดชัยนาท กาฬสินธุ์ และพัทลุง จำนวน 348, 595 และ 567 คน ตามลำดับ กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ ที่ระดับความเชื่อมั่น 0.1 ได้กลุ่มตัวอย่าง 78, 86 และ 85 คน ตามลำดับ สุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับปัจจัยการมีส่วนร่วมและปัญหาการมีส่วนร่วมของเกษตรกร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ 2) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วม ได้แก่ เกษตรกร ผู้ประกอบการ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร และนักวิชาการทางการเกษตรในมหาวิทยาลัย จำนวน 50 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า 1) การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจของปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมของเกษตรกร จำนวน 13 ตัวแปร ผลปรากฏว่ามี 12 ตัวแปรทุกตัวถูกจัดเข้าองค์ประกอบ โดยสรุปได้เป็น 2 องค์ประกอบ ได้แก่ ปัจจัยภายใน มีจำนวน 8 ตัวแปร และปัจจัยภายนอก มีจำนวน 4 ตัวแปร 2) การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจของปัญหาการมีส่วนร่วมของเกษตรกรจำนวน 22 ตัวแปร ผลปรากฏว่า ตัวแปรทุกตัวถูกจัดเข้าองค์ประกอบ โดยสรุปได้เป็น 5 องค์ประกอบ ได้แก่ ปัญหาด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดระบบการเกษตรและวางแผนการผลิต มีจำนวน 7 ตัวแปร ปัญหาด้านสมาชิกและผู้นำในการมีส่วนร่วมในการจัดระบบการเกษตร มีจำนวน 6 ตัวแปร ปัญหาด้านภูมิปัญญา/เทคโนโลยีทางการผลิตและกติกา/ข้อตกลงทางการผลิต มีจำนวน 4 ตัวแปร ปัญหาด้านทุนและทรัพยากร มีจำนวน 3 ตัวแปร และปัญหาด้านสิ่งจูงใจในการได้รับผลตอบแทน มีจำนวน 2 ตัวแปร 3) แนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมประกอบไปด้วย 6 แนวทาง ได้แก่ (1) การส่งเสริมการมีส่วนร่วมทุกขั้นตอนของกระบวนการทำงาน (2) การส่งเสริมให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน (3) การออกแบบวิธีการ/กิจกรรมที่เหมาะสมกับบริบทชุมชน (4) การสร้างกิจกรรมให้เกิดการมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่อง (5) การสร้างกลไกขับเคลื่อนกระบวนการมีส่วนร่วมในระดับต่างๆ และ (6) การเชื่อมโยงหน่วยงานภาคีเครือข่าย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ ตารางประกอบ ที่ตีพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชแต่อย่างใด
บทความที่เสนอพิจารณาในวารสาร e-JODIL ต้องเป็นบทความที่ไม่เคยส่งไปลงพิมพ์ เผยแพร่ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตัดสินการตีพิมพ์บทความในวารสาร
References
Creighton, J.L. (2005). The Public Participation Handbook: Making Better Decisions Through Citizen Involvement. San Francisco: Jossey Bass.
Kaewkummul, P. (2017). Participatory Public Administration: Technique and Practices. Bangkok: Kaew-Jawjom Media and Printing Center, Suan Sunandha Rajabhat University. [In Thai].
Ministry of Agriculture and Cooperatives. (2016). The Twenty-Year Agriculture and Cooperative Strategy 2017-2036. Retrieved from www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER2/DRAWER049/GENERAL/DATA0000/00000022.PDF. [In Thai].
Royal Irrigation Department. (2020). Research on Achievement of Operation in Land Readjustment Fund. In Bureau of Central Land Consolidation (Chair), Symposium Conducted at the Meeting of Bureau of Central Land Consolidation. Bangkok: Royal Irrigation Department. [In Thai].
van Dusseldorp, D.B.W.M. (1981). Participation in Planned Development Influenced by Governments of DEveloping Countries at Local Level Areas. In Essays in rural sociology: in honour of R.A.J. van Lier (pp. 25-88). Wageningen Agricultural University.
Vanichbuncha, K. (2016). Analysis of Advanced Statistics by SPSS for Windows (11th ed.). Bangkok: Department of Statistics, Chulalongkorn Business School, Chulalongkorn University. [In Thai].
Yooprasert, B. (2012). Research on Participation in Agricultural Extension. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University. [In Thai].