การพัฒนารูปแบบแพลตฟอร์ม “STOU Media for all” สำหรับการศึกษาทางไกล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

Main Article Content

พิมพ์ประภา พาลพ่าย
วชิระ พรหมวงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบแพลตฟอร์ม “STOU Media for all” สำหรับการศึกษาทางไกลมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช โดยศึกษาความต้องการใช้แพลตฟอร์มฯ ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มสธ. ที่ลงทะเบียนเรียนชุดวิชา 10152 ไทยกับสังคมโลก จำนวน 265 คน ผลวิจัยพบว่าโดยภาพรวม มีความต้องการอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด มีดังนี้ (1) ด้านสื่อต้องการสื่อ แหล่งเรียนรู้และระบบสนับสนุนการเรียนบนแพลตฟอร์ม คือ สื่อสิ่งพิมพ์ดิจิทัลเพิ่มเติมเพื่อขยายเนื้อหาที่เข้าใจยาก (2) การใช้งานและออกแบบ คือ ความน่าสนใจของเมนูหน้าจอเครื่องมือการใช้งาน สื่อและเนื้อหาสาระบนแพลตฟอร์ม (3) ด้านคุณภาพของแพลตฟอร์ม คือ คุณภาพด้านการสื่อสารและมีปฎิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียนกับผู้สอนบนแพลตฟอร์ม (4) ด้านความคาดหวังของนักศึกษาใช้แพลตฟอร์ม คือนักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเนื้อหาดีขึ้น และผลการศึกษาเกี่ยวกับร่างกรอบแนวคิดของขั้นตอนหรือกระบวนการวิจัยหรือตัวแพลตฟอร์ม ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่า ร่างกรอบแนวคิดมีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก มีความเหมาะสมนำไปร่างต้นแบบ นอกจากนี้ ผลการประเมินคุณภาพต้นแบบขั้นตอนหรือกระบวนการผลิตแพลตฟอร์มและตัวแพลตฟอร์ม “STOU Media for all” พบว่าคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก ประกอบด้วย องค์ประกอบ และขั้นตอน ดังนี้ 1) องค์ประกอบด้านปัจจัยนำเข้า 2) องค์ประกอบด้านกระบวนการ 3) องค์ประกอบด้านผลลัพธ์ และขั้นตอนหรือกระบวนการผลิตแพลตฟอร์ม “STOU Media for all” มีดังนี้ ขั้นที่ 1 ศึกษาและวิเคราะห์คำอธิบายชุดวิชา วัตถุประสงค์ รายชื่อหน่วย แผนการสอนประจำหน่วยและตอน และรายละเอียดของเนื้อหา ขั้นที่ 2 กำหนดวัตถุประสงค์ที่ผู้เรียนได้รับจากการเรียนด้วยแพลตฟอร์ม “STOU Media for all” ขั้นที่ 3 รวบรวมเนื้อหาสาระและสื่อการศึกษาของชุดวิชา ขั้นที่ 4 ออกแบบและพัฒนารูปแบบของสื่อเพื่อใช้ในการนำเสนอเนื้อหาสาระและกิจกรรมการเรียนการสอน ขั้นที่ 5 นำสื่อการศึกษาและกิจกรรมของชุดวิชามาลงไว้ในแพลตฟอร์ม ขั้นที่ 6 ออกแบบช่องทางการมีปฎิสัมพันธ์นระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน และผู้เรียนกับผู้เรียน ขั้นที่ 7 จัดการเรียนการสอนโดยยึดแพลตฟอร์มเป็นสื่อหลักในการเรียนการสอน ขั้นที่ 8 ผลิต ควบคุม และตรวจสอบคุณภาพแพลตฟอร์ม “STOU Media for all” ขั้นที่ 9 ทดสอบประสิทธิภาพแพลตฟอร์ม “STOU Media for all”

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรุงเทพธุรกิจ. (2565). ข้อมูลล่าสุดสถิติใช้ดิจิทัลในไทย จากรายงาน We are social. สืบค้นจาก https://www.bangkokbiznews.com/columnist/989552

คณะกรรมการปฏิรูปมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (2561). ผลการดำเนินงานการปฎิรูปมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชประจำปีพุทธศักราช 2561. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

คณะกรรมการปฏิรูปมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (2565). แผนปรับแต่งแปลงโฉม พ.ศ. 2565-2569มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พ.ศ. 2565 – 2569. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

นฤมล พึ่งแก้ว. (2561). การใช้โปรแกรม Moodle E-learning ในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน นักศึกษาชั้นปีที่ 1. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้และสิ่งประดิษฐ์ ครั้งที่ 2. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

รุ่งหทัย บุญพรม. (2560). กลุ่มงานพัฒนานวัตกรรม ส่วนนวัตกรรมการเรียนรู้ สถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร.

สำนักงานสภามหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (2563). ผลกระทบการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Christensen, C. (2017). The Knowledge. Retrieved from www.okmd.or.th/upload/pdf/magazine/The_Knowledge_ vol_6.pdf

Saiz-Manzanares M. C., Marticorena-Sanchez R., & Garcia-Osorio, C. I. (2020). Monitoring Students at the niversity: Design and Application of a Moodle Plugin. Retrieved from https://www.researchgate.net/publication/341460843_Monitoring_Students_at_the_University_Design_and_Application_of_a_Moodle_Plugin