ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่มีผลต่อหนี้สินของครัวเรือนในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาวะหนี้สินครัวเรือนไทย และ 2) ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่มีผลต่อหนี้สินครัวเรือนไทยจำแนกตาม 4 วัตถุประสงค์ คือ หนี้สินเพื่อใช้จ่ายในครัวเรือน หนี้สินเพื่อใช้ทำการเกษตร หนี้สินเพื่อใช้ทำธุรกิจที่ไม่ใช่การเกษตร และหนี้สินเพื่อใช้ซื้อ/เช่าซื้อบ้านและที่ดิน สำหรับปัจจัยทางเศรษฐกิจ 7 ตัวแปร ได้แก่ รายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่อครัวเรือน ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนต่อครัวเรือน เงินอุดหนุนทั่วไป ภาษีสรรพากร ภาษีสรรพสามิต การลงทุน และผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ โดยการเก็บข้อมูลทุติยภูมิในภาพรวมประเทศไทยจากส่วนราชการต่างๆ ในช่วงปี 2545–2560
การศึกษาสภาวะหนี้สินครัวเรือนไทยโดยการวิเคราะห์เอกสารและเนื้อหา (Document Content Analysis) และการวิเคราะห์ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่มีผลต่อหนี้สินครัวเรือนไทยโดยแบบจำลองการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Regression) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางเศรษฐกิจ (ตัวแปรอิสระ) กับหนี้สินจำแนกตามวัตถุประสงค์ (ตัวแปรตาม) โดยการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณรอบแรกจะวิเคราะห์ตัวแปรอิสระทีละตัวทั้งหมด 7 ตัวแปรเพื่อหาตัวแปรที่มีนัยสำคัญ หลังจากนั้นทำการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณในรอบต่อๆไปโดยการตัดตัวแปรอิสระที่ไม่มีนัยสำคัญออก แต่การวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณจะตัดตัวแปรอิสระที่ไม่มีนัยสำคัญมากที่สุดออกทีละตัว จนได้ผลลัพธ์สุดท้ายที่ตัวแปรอิสระทุกตัวมีนัยสำคัญ (ทั้งนี้ตัวแปรที่ไม่มีนัยสำคัญในการวิเคราะห์รอบแรกนั้นอาจมีค่านัยสำคัญในการวิเคราะห์ในรอบต่อๆไป)
ผลการศึกษาพบว่า ในภาพรวมของประเทศไทยช่วงปี 2545–2560 อัตราการเติบโตของหนี้สินครัวเรือนต่อมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และครัวเรือนจะมีหนี้สินเพื่อใช้จ่ายในครัวเรือนมากที่สุด รองลงมาเป็นหนี้สินครัวเรือนที่มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เช่า/ซื้อที่ดิน หนี้สินครัวเรือนที่ใช้เพื่อทำการเกษตร และหนี้สินที่ใช้ทำธุรกิจที่ไม่ใช่การเกษตร สำหรับปัจจัยทางเศรษฐกิจที่มีผลต่อหนี้ครัวเรือนจำแนกตาม 4วัตถุประสงค์ได้แก่ 1) หนี้สินครัวเรือนเพื่อใช้จ่ายในครัวเรือน มีความสัมพันธ์เชิงบวกได้แก่ รายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่อครัวเรือน เงินอุดหนุนทั่วไปและผลิตภัณฑ์มวลรวมภายใน ประเทศ และความสัมพันธ์เชิงลบได้แก่ ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนต่อครัวเรือน ภาษีเงินได้ และภาษีสรรพสามิต 2) หนี้สินครัวเรือนเพื่อใช้ทำการเกษตร มีความสัมพันธ์เชิงบวก ได้แก่ รายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่อครัวเรือน และความสัมพันธ์เชิงลบ ได้แก่ เงินอุดหนุนทั่วไปและการลงทุน 3) หนี้สินครัวเรือนเพื่อใช้ทำธุรกิจที่ไม่ใช่การเกษตร มีความสัมพันธ์เชิงบวก ได้แก่ รายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่อครัวเรือน และความสัมพันธ์เชิงลบ ได้แก่ เงินอุดหนุนทั่วไป ภาษีสรรพสามิต การลงทุน และผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ 4) หนี้สินครัวเรือนเพื่อใช้ซื้อ/เช่าซื้อบ้านและที่ดิน มีความสัมพันธ์เชิงบวก ได้แก่ รายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่อครัวเรือน และความสัมพันธ์เชิงลบ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนต่อครัวเรือน เงินอุดหนุนทั่วไป ภาษีสรรพสามิตและการลงทุน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ ตารางประกอบ ที่ตีพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชแต่อย่างใด
บทความที่เสนอพิจารณาในวารสาร e-JODIL ต้องเป็นบทความที่ไม่เคยส่งไปลงพิมพ์ เผยแพร่ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตัดสินการตีพิมพ์บทความในวารสาร
References
Bank of Thailand. (2019). Statistics. Retrieved January, 20 2020, from https://www.bot.or.th/App/BTWS_STAT/statistics/BOTWEBSTAT.aspx?reportID=891&language=TH
Bank of Thailand. (2019). Summarize the Total Number of Branches of All Commercial Banks in the System. Retrieved January, 20 2020, from https://www.bot.or.th/App/BTWS_STAT/statistics/ReportPage.aspx?reportID=201&language=th
Chuenchoksan, S., Chawalee, P., & Damrongsiri, W. (2019). 8 Facts about the Financial Problems of Thai Households. Retrieved March, 5 2020, from https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_30Oct2019.aspx.
National Statistical Office. (2017). Survey of Household Socioeconomic Conditions B.E. 2560. Retrieved January, 19 2020, from https://nso.gov.mt/en/News_Releases/View_Current_Year/Pages/2017-%5B1%5D.aspx.
Palasri, W. (2013). The Study of Determinants of the Household Poverty in Rural Area: Case Study of Mahasarakham Province. RajabhatMaha Sarakham University Journal, 7(1), 29-38.
Saranjit, T. (2015). Problem of Poverty in Thailand. EAU Heritage Journal Social Science and Humanities, 5(2), 12-21.
Sonsud, P., Kritsana, N., Tochim, S., Nuchpho, P., & Suwankesorn, S. (2017). Factors Affecting the Debt of Agriculture Group 7 Baan ThaChang, Tabphueng Sub-district, Si Samrong District Sukhothai Province. In The Conference on Creative RMUT and Sustainable Innovation for Thailand 4.0. Bangkok: Rajamangala University of Technology.
Srivises, R. (2000). Factors affecting Rural Poverty in Thai community: A Case Study of Ban Rangkrang, Suphanburi (Ph.D. dissertation). Chulalongkorn University. Bangkok.
Sukha, S. (2014). The Study of Relative Evaluation of Socio-Economic Factors Affecting the GDP. (Master’s independent study). Burapha University. Chonburi.
Supriaman, Firmansyah, & Edy, Y. (2018). Analysis of Factors Affecting Poverty in West Nusa Tenggara Province, Indonesia. in The 3rd International Conference on Energy, Environmental and Information System (ICENIS 2018). Semarang EDP Sciences.
Wanasuk, K., Kosago, C., & Chawalee, P. (2014). Household Debt and the Economics of Southern Thailand. In: Academic Seminar on the Economics of Southern Thailand. Bangkok.