การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ผ่านกระบวนการเรียนการสอน แบบโครงงานเป็นฐานของนักศึกษาวิชาชีพครู สาขาวิชาการสอนอิสลามศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาวิชาชีพครูให้พร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เป็นหน้าที่ที่สำคัญของสถาบันผลิตบัณฑิตวิชาชีพครู โดยทักษะสำคัญของครูในศตวรรษที่ 21 ที่จะนำพาครูไปสู่การพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ คือการพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์ และทักษะการทำโครงงาน ซึ่งงานวิจัยครั้งนี้มีเป้าหมายในการพัฒนานักศึกษาวิชาชีพครู ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาทักษะการคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาวิชาชีพครู สาขาการสอนอิสลามศึกษาก่อนและหลังจัดกระบวนการเรียนการสอนแบบโครงงานเป็นฐาน 2) เพื่อประเมินทักษะการทำโครงงานสื่อสร้างสรรค์ของนักศึกษาวิชาชีพครูหลังจัดกระบวนการเรียนการสอนแบบโครงงานเป็นฐาน 3) เพื่อประเมินผลผลิตโครงงานสื่อสร้างสรรค์ของนักศึกษาวิชาชีพครู โดยได้ดำเนินการวิจัยตามหลักการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน เก็บข้อมูลด้วยการทดลองกับนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา 762-318 การผลิตสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานจำนวน 4 แผน 2) แบบทดสอบทักษะการคิดสร้างสรรค์ 3) แบบประเมินทักษะการทำโครงงาน และ 4) แบบประเมินผลผลิตสื่อสร้างสรรค์ ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยกระบวนการเรียนการสอนแบบโครงงานเป็นฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที
ผลการวิจัยสรุปได้ว่า
1. นักศึกษามีทักษะการคิดสร้างสรรค์หลังเรียนด้วยกระบวนการเรียนการสอนแบบโครงงานเป็นฐานสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อพิจารณาทักษะรายด้านจากการทดสอบการวาดภาพและต่อเติมภาพให้สมบูรณ์ นักศึกษามีทักษะการคิดสร้างสรรค์ด้านความคิดละเอียดลออสูงที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.00 ส่วนการทดสอบชุดที่ 2 การวาดภาพและเขียนเล่าเรื่องสั้นๆ ประกอบภาพ นักศึกษามีทักษะการคิดสร้างสรรค์ด้านความคิดยืดหยุ่นสูงที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.03
2. กระบวนการเรียนการสอนแบบโครงงานเป็นฐานสามารถพัฒนานักศึกษาให้มีทักษะการทำโครงงานอยู่ในระดับดีทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านผลผลิตของโครงงาน รองลงมาคือด้านกระบวนการดำเนินงาน และด้านการเขียนรายงานตามลำดับ
3. นักศึกษาสามารถผลิตสื่อสร้างสรรค์ได้ในระดับดี และมีทักษะการคิดสร้างสร้างสรรค์อยู่ในระดับดีทุกด้าน โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 3.50-3.81
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ ตารางประกอบ ที่ตีพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชแต่อย่างใด
บทความที่เสนอพิจารณาในวารสาร e-JODIL ต้องเป็นบทความที่ไม่เคยส่งไปลงพิมพ์ เผยแพร่ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตัดสินการตีพิมพ์บทความในวารสาร
References
Akinoglu, O. (2008). Assessment of the Inquiry-Based Project Implementation Process in Science Education upon Students’ Points of Views. International Journal of instruction, 1(1), 1-12.
Bakoh, N., & Assalihee, M. (2020). Teaching Behaviors for Encouraging Student’s Creative Thinking: A Perception of Islamic Studies Teachers in Mueang District, Yala Province. Journal of Islamic Studies, Prince of Songkla University, 11(1), 14-32.
BasePlayhouse. (2020). 21st Century Skill. Retrieved from https://corporate.baseplayhouse.co/21st-century-skill-ทักษะแห่งศตวรรษที่-21/
Boonprasert, S., Chamnankit, B., & Chamnankit, N. (2016). The Developing of Project Teaching Style Enhancing Scientifically Creative Thinking for Industrial Trades Certificate Students. Journal of Graduate Studies in Northern Rajabhat Universities, 6(11), 51-66.
Dangthongdee, G. (2017). The Education of Thailand 4.0. Vocational Education Central Region Journal, 1(1), 1-20.
Dechakubt, P., Yindeesuk, P., & Meesri, R. (2013). Socratic Teaching with Project-Based Learning integrated 21st Century Skills (3rd ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Press.
Guilford, J. P. (1967). The Nature of Human Intelligence. New York, NY: McGraw-Hill Book Co.
Gunawan, Sahidu, H., Harjono, A., & Suranti, N. (2017). The Effect of Project Based Learning with Virtual Media Assistance on Student’s Creativity in Physics. Cakrawala Pendidikan, 36(2), 167-179.
Hanif, S., Chandra Wijaya, A.F., & Winarno, N. (2019). Enhancing Students’ Creativity through STEM Project-based Learning. Journal of Science Learning, 2(2), 50-57.
Hayima, E. (2017). States and Problems of Learning and Teaching of Islamic Studies in Government Schools Using Intensive Islamic Studies Program in Narathiwat Province (Master of Arts in Islamic Studies). Prince of Songkla University.
Jacques, L.A. (2017). What does Project-Based Learning (PBL) Look Like in the Mathematics Classroom?. American Journal of Educational Research, 5(4), 428-433.
Kaemanee, T. (2017). Science of Teaching: Knowledge for Effective Learning Process (21st ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Press.
Muendej, S., & Kaewurai, R. (2020). Development of Project-Based Learning Model Using Social Media to Enhance Creativity for Junior High School Students. Journal of Education Naresuan University, 22(2), 182-192.
Phoyen, K. (2019). Creative Thinking: Talent that Teachers Should Create to Student. Journal of Education Silpakorn University, 17(1), 9-27.
Po-ngaen, W., Pratumsuwan, P., & Hutamarn, S. (2021). Project-Based Learning. Bangkok: King Mongkut’s University of Technology North Bangkok
Poungchan, P. (2014). A Study of Creative Thinking in the Project Work Ability on the Relationship between the Kingdom of Thailand and the Republic of Indonesia of Mattayomsuksa 6 Students by Means of the Project-Based Learning for School Partnership Program between Secondary Schools in Thailand and Indonesia. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences, and Arts), 7(2), 534-547.
Puttasem, D. (2017). Learning Management for Creative Thinking Development and Team Learning Based on Project Based Learning Approach Via Infographics. Journal of Technology Management Rajabhat Maha Sarakham University, 4(1), 97-105.
Sirichai, D. (2015). Creative Thinking Development Process in the Creative Higher Education Institute. veridian E-Journal, Silpakorn University, 8(2), 1341-1360.
Sookpatdhe, T., & Soranastaporn, S. (2016). Simulation and Project Based Learning for Developing Creativity: From Classroom to Real Life. ThaiSim Journal: Learning Development (TSJLD), 1(1), 85-105.
Srinuan, N., & Srisomphan, J. (2015). Development of Web-Based Instruction’s Format by Using the Learning Techniques on Project-Based Creativity in Create Website Subject for Mathayomsuksa 3 Students. In 53rd Kasetsart University Annual Conference: Education, Economics and Business Administration, Humanities and Social Sciences (pp.129-137). Bangkok: Kasetsart University.
Suwanjaroen, J. (2019). Development Learning Model Enhancing Creative Thinking of Nursing Students in Boromrajonani College of Nursing Suratthani. Journal of Health Research and Innovation, 2(1), 38-47.
Syarifah, E.F., & Emiliasari, R.N. (2019). Project-Based Learning to Develop Students’ Ability and Creativity in Writing Narrative Story. Indonesian EFL Journal, 5(1), 85-94. doi: 10.25134/ieflj.v5i1.1627
Thatthong, K. (2016). Principles of Learning Management. Nakhon Pathom: Phetkasem Printing Group.
Torrance, E.P. (1962). Guiding Creative Talent. Englewood Cliffs, N.J.: Prentice Hall Inc.
Waesoh, S., Mamat. A., Chemoh, T., & Sama-e, N. (2015). Applying Islamic National Educational Test (I-NET) to Develop Students of Islamic Private Schools in the initiative HRH Princess Maha Chakri Sirindhorn's Chakri Sirindhorn, Office of Private Education Narathiwat Province. Al-Nur Journal of Graduate School of Fatoni University, 10(19), 39-51.