พฤติกรรมการบริโภคอาหารไทยของประชาชนในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

Main Article Content

ทิพยาภรณ์ รัตนลาโภ
สังวรณ์ งัดกระโทก

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารไทยของประชาชนในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ 2) ศึกษาแบบแผนของพฤติกรรมการบริโภคอาหารไทยของประชาชนในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เก็บข้อมูลจากการสำรวจด้วยแบบสอบถามออนไลน์จากกลุ่มตัวอย่างในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ ไทย 395 คน และกลุ่มตัวอย่างจากเวียดนาม กัมพูชา อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ลาว สิงคโปร์ เมียนมา และบรูไนดารุสลาม จำนวน 232 คน วิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงบรรยาย การทำสเกลหลายมิติ การวิเคราะห์กลุ่มแฝง และไคสแควร์


ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ประชาชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รับรู้ว่าอาหารไทยมีความเหมือนกับต่างชาติในสองมิติ คือ ความใกล้ชิดของพื้นที่และส่วนประกอบของอาหาร 2) ผลการวิเคราะห์แบบแผนของพฤติกรรมการบริโภคอาหารไทยของประชาชนในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถจำแนกกลุ่มผู้ชอบอาหารไทยออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ชอบผัดไทย กลุ่มผู้ชอบต้มยำกุ้ง และกลุ่มผู้ชอบส้มตำ แกงเขียวหวาน และข้าวเหนียวมะม่วง โดยแบบแผนของพฤติกรรมการบริโภคอาหารไทยมีความสัมพันธ์กับอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤0.05) โดยผู้มีอายุ ≤ 20 ปีและ 21-40 ปี เป็นกลุ่มผู้ชอบส้มตำ แกงเขียวหวาน และข้าวเหนียวมะม่วง ส่วนผู้มีอายุ 21-40 ปี และ 41-60 ปี จะเป็นกลุ่มผู้ชอบต้มยำกุ้ง และกลุ่มผู้ชอบผัดไทย ตามลำดับ แต่ความสัมพันธ์ของแบบแผนของพฤติกรรมการบริโภคอาหารไทยกับตัวแปรภูมิหลังอื่นๆ ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chaliaophrom, C. (2010). Thai Food Consumption Consumer Behavior Foreigners and Thai Case study of the Caravanserai in Songkhla Province. In Creative RMUT and Sustainable Innovation for Thailand 4.0. Trang: RMUT.

Chiangrai Vocational College. (n.d.). ASEAN Food, Food Consumption Culture of ASEAN People. Retrieved from http://www.cvc.ac.th/cvc2011/files/150312099215057_1803210550006.pdf

CNN travel. (2021). Lite, But Better-Food: The world’s 50 best foods. Retrieved from https://edition.cnn.com/travel/article/world-best-food-dishes/index.html

Damrongtirarat, C., & Tomoko, I. (2013). Introduction to Thai food. Bangkok: Suan Dusit University.

Kamenidou, I., Stavrianea, A., & Bara, E. (2020). Generational Differences toward Organic Food Behavior: Insights from Five Generational Cohorts. Sustainability, 12(6), 1-25.

Paijitprapapon, A. (2022). Current Situation of Agri-Food Business and Future Trends. Retrieved from https://www.mreport.co.th/news/statistic-and-ranking/363-Thai-food-industry-overview-2021-and-trends

Panyaoyong, C. (2019). Study of ASEAN Food Culture for ASEAN Socio – Cultural Community. Institure of Culture and Arts Journal Srinakharinwirot University, 18(1), 43-52.

Ministry of Agriculture and Cooperatives. (2019). Agricultural Development Plan During the 12th National Economic and Social Development Plan (2017-2021). Retrieved from https://tarr.arda.or.th/static2/docs/development_plan2559.pdf

The MICHELIN Guide. (2018). MICHELIN Guide Bangkok. Nonthaburi: Amarin Book Center Company Limited

Voice Online. (2018). Global Media Wonders: Why Are There So Many Thai Restaurants in the US?. Retrieved from https://voicetv.co.th/read/HkCR2Dyjf.