การส่งเสริมบทบาทของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชในการเป็นกลไกการพัฒนา จังหวัดนนทบุรีเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้

Main Article Content

วลัยวรรณ มธุรสปรีชากุล
เกวลิน ต่อปัญญาชาญ

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 4 ประการ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับเมืองแห่งการเรียนรู้ 2) เพื่อศึกษาบทบาทของมหาวิทยาลัยประเทศไทยและต่างประเทศในการเป็นกลไกการพัฒนาการเรียนรู้ของคนในเมือง 3) เพื่อศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ พระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ. 2542  (และที่แก้ไขเพิ่มเติม) และหลักการตามร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต พ.ศ. .... และบทบาทมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชในยุทธศาสตร์ กฎหมาย ข้อบังคับ และองค์ความรู้ด้านเนื้อหาของสาขาวิชาต่างๆ  เพื่อการเป็นกลไกการพัฒนาจังหวัดนนทบุรีเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ 4) เพื่อวิเคราะห์และเสนอแนะการส่งเสริมบทบาทของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชในการเป็นกลไกการพัฒนาจังหวัดนนทบุรีเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ วิธีการศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่ศึกษาวิจัยเอกสาร ประกอบกับการอภิปรายกลุ่มตัวอย่างจำนวน 3 กลุ่ม รวมจำนวน 22 คน ได้แก่ กลุ่มตัวแทนของภาครัฐ กลุ่มตัวแทนของผู้ปฏิบัติงาน และกลุ่มตัวแทนของนักวิชาการ


ผลการศึกษาวิจัยพบว่า 1) แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับเมืองแห่งการเรียนรู้ ได้แก่ หลักการของเมืองแห่งการเรียนรู้ แนวคิดพันธกิจของรัฐกับการส่งเสริมเมืองแห่งการเรียนรู้ แนวคิดการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมเมืองแห่งการเรียนรู้ แนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน 2) มหาวิทยาลัยประเทศไทยและต่างประเทศต่างมีบทบาทสำคัญในการเป็นกลไกการพัฒนาการเรียนรู้ของคนในเมือง เช่นการมียุทธศาสตร์ กฎ ระเบียบ นโยบายและกิจกรรมที่หลากหลาย 3) กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ พระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ. 2542  (และที่แก้ไขเพิ่มเติม) และหลักการตามร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต พ.ศ. ...ซึ่งสามารถสนับสนุนให้เกิดระบบนิเวศเมืองแห่งการเรียนรู้ นอกจากนี้จากการศึกษาพบว่าบทบาทของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชมียุทธศาสตร์ กฎหมาย ข้อบังคับ และองค์ความรู้ด้านเนื้อหาของสาขาวิชาต่างๆ ในการเป็นกลไกหนึ่งของการพัฒนาจังหวัดนนทบุรีเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ตามคุณลักษณะ 6 ประการของการเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ 4) แม้บทบาทของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชจะมีการดำเนินการเพื่อส่งเสริมจังหวัดนนทบุรีเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ได้ จากการศึกษาพบว่า อย่างไรก็ตามมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชยังมีข้อจำกัดบางประการอันจะนำไปสู่การส่งเสริมเมืองแห่งการเรียนรู้ให้มีความยั่งยืนและส่งเสริมเมืองให้มีการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น ได้แก่ การส่งเสริมการเรียนรู้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม การส่งเสริมการเรียนรู้ในครอบครัวและชุมชน การส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพในที่ทำงาน การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย การส่งเสริมคุณภาพและความเป็นเลิศในการเรียนรู้ การสนับสนุนวัฒนธรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างเข้มแข็ง

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Ministry of the Interior. (2021). UNESCO's Request for Membership in the Global Network of Learning Cities. Retrieved from https://nongmaingam.go.th/uploads/20160128141521BA4MNhc/20210407084231_3_rDfsn6X.pdf

Nonthaburi Provincial Education Office. (2022). Nonthaburi Provincial Education Office: Vision, Mission. Retrieved May 12, 2022, from http://www.nbipeo.go.th/index.php?page=phanthakit.

Nonthaburi Provincial Administrative Organization. (2018). Announcement of Nonthaburi Provincial Administrative Organization on Reporting of Operations in the Fiscal Year 2018. Nonthaburi: Nonthaburi Provincial Administrative Organization.

Research Institute for Educational Equity. (2021). What is a Learning City?. Retrieved May 12, 2022, from https://research.eef.or.th/learning-city/

Siamrath. (2021). Thammasat University is Recognized as a World-Class 'Sustainable University' by the European Educational Quality Assessment Institute Regarded as One of the Three Learning Models. Retrieved May 12, 2022, from https://siamrath.co.th/n/300282.

UNESCO Institute for Lifelong Learning. (2022). The City Featured in this Case Study Received the UNESCO Learning City Award in 2015. Retrieved from https://uil.unesco.org/es/node/6371

UNESCO Institute for Lifelong Learning. (2022). UNESCO Global Network of Learning Cities. Retrieved from https://uil.unesco.org/lifelong-earning/learning-cities

University of Phayao. (2022). Phayao.Learning City Development Project of 2nd Year. Retrieved May 12, 2022, from https://up.ac.th/th/NewsRead.aspx?itemID=23975