ยุทธศาสตร์อินโดแปซิฟิกของสหรัฐฯ เพื่อใคร ?
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของบทความชิ้นนี้คือ ประการแรก ยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิกภายใต้ทรัมป์และไบเดนนั้นเป็นความต่อเนื่องในนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ ต่อภูมิภาคดังกล่าว ทั้งในแง่ของการทวงคืนความเป็นผู้นำในภูมิภาค และในแง่ของการสกัดกั้นการขยายอำนาจและบทบาทของจีนในช่วงที่สหรัฐฯลดบทบาทของตนเองในภูมิภาคนี้ไปตั้งแต่การสิ้นสุดของสงครามเย็นเป็นต้นมา ประการที่สอง เพื่อแสดงให้เห็นว่า ไม่ว่าจะเป็นนโยบายหวนคืนสู่เอเชีย-แปซิฟิกของโอบามาหรือยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิกของทรัมป์และไบเดน ภายใต้พรรครีพับลิกันหรือพรรคเดโมแครต สาระสำคัญของยุทธศาสตร์ดังกล่าวก็คือเป็นนโยบายที่สนองตอบต่อผลประโยชน์แห่งชาติของสหรัฐฯ ในทางเศรษฐกิจและทางความมั่นคงของสหรัฐฯ ทั้งสิ้น และประการที่สาม เพื่อวิเคราะห์ความแตกต่างของยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิกโดยเฉพาะนโยบายด้านเศรษฐกิจและผลกระทบ หรือมรดกที่เป็นรูปธรรมของประธานาธิบดี โอบามา ประธานาธิบดี ทรัมป์ และ ประธานาธิบดีไบเดน ที่มีต่อความมั่งคั่งและความมั่นคงของประชาชนอเมริกัน
References
The White House. 2017. National Security Strategy of the United States of America, December.
. 2022. Indo-Pacific Strategy of the United States, February.
. 2022a. National Security Strategy, October.
. 2022b. Fact Sheet: Indo-Pacific Economic Framework for Prosperity (IPEF), February.
‘President Obama Addresses the Australian Parliament,’ Canberra, 17 November 2011, accessed 25 December 2023 Obamawhitehouse.archives.gov.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2024-05-30 (3)
- 2024-05-30 (2)
- 2023-12-31 (1)
How to Cite
License
Copyright (c) 2023 วารสารเอเชียตะวันออกและอาเซียนศึกษา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ตีพิมพ์ได้ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทัศนะและข้อคิดเห็นจาก บทความในวารสารเป็นของผู้เขียน ไม่ถือเป็นความรับผิดชอบของคณะผู้จัดทำและศูนย์การเมือง สังคม และอาณาบริเวณศึกษา การนำบทความในวารสารไปตีพิมพ์ซ้ำต้องได้รับอนุญาตจาก กองบรรณาธิการ