การพัฒนาต้นแบบระบบการฝึกอบรมแบบอิงประสบการณ์ออนไลน์เพื่อพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีเมฆาวิถีสำหรับอาจารย์มหาวิทยาลัยภาคตะวันออก: รายกรณีมหาวิทยาลัยบูรพา

Main Article Content

ณัฐวัณฏ์ รักษาทรัพย์
ทิพย์เกสร บุญอำไพ
พงศ์ประเสริฐ หกสุวรรณ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาต้นแบบระบบการฝึกอบรมแบบอิงประสบการณ์ออนไลน์เพื่อพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีเมฆาวิถีสำหรับอาจารย์มหาวิทยาลัยภาคตะวันออก: รายกรณีมหาวิทยาลัยบูรพา เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยบทความนี้เป็นการนำเสนอผลจากการดำเนินการในระยะที่ 1 การพัฒนาต้นแบบระบบการฝึกอบรมแบบอิงประสบการณ์ออนไลน์ ประกอบด้วย การศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การประเมินความต้องการต้นแบบระบบฯ การพัฒนากรอบแนวคิด การถามความเห็นผู้เชี่ยวชาญ และการร่างต้นแบบชิ้นงาน


ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบของต้นแบบระบบการฝึกอบรมแบบอิงประสบการณ์ออนไลน์ ประกอบด้วย (1) วัตถุประสงค์การฝึกอบรม (2) เนื้อหาการฝึกอบรม (3) กิจกรรมการฝึกอบรมแบบอิงประสบการณ์ (4) สื่อและแหล่งความรู้ (5) ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (6)  เทคโนโลยีเมฆาวิถี(7) การสื่อสารและปฏิสัมพันธ์ (8) บทบาทของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และ (9) การประเมินผล โดยกิจกรรมการฝึกอบรมแบบอิงประสบการณ์ออนไลน์ มี 3 ขั้นตอน ได้แก่ (1) ขั้นก่อนฝึกอบรม (2) ขั้นฝึกอบรม ประกอบด้วย ทดสอบก่อนเผชิญประสบการณ์ เผชิญประสบการณ์ ปฐมนิเทศการเผชิญประสบการณ์ เผชิญประสบการณ์ รายงานความก้าวหน้า แสดงผลงาน ร่วมกันสรุปความรู้ และ (3) ขั้นประเมินผล ประกอบด้วย ทดสอบหลังเผชิญประสบการณ์

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2559). แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.กรุงเทพฯ: กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.

ชัยฤทธิ์ โพธิสุวรรณ. (2552). การศึกษานอกระบบ: การเรียนรู้และการสอนผู้ใหญ่. กรุงเทพฯ: สาขาวิชาการศึกษาผู้ใหญ่, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2523). กระบวนการสันนิเวทนาการและระบบสื่อการสอน. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา หน่วยที่ 2. กรุงเทพฯ: สหมิตร.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2540). การผลิตและการใช้ชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์. ใน เอกสารการสอนชุดวิชา
ประสบการณ์วิชาชีพเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาหน่วยที่ 7. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2555). วิธีการจัดระบบและออกแบบการฝึกอบรม. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการสอนและการฝึกอบรม หน่วยที่ 8. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชาญ สวัสดิ์สาลี. (2552). คู่มือนักฝึกอบรมมืออาชีพ เทคนิคการฝึกอบรมและการจัดสถานที่ประชุม/ฝึกอบรม. กรุงเทพฯ: สวัสดิการสำนักงาน กพ.

ทิศนา แขมมณี. (2556). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 17). กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.

นภาภรณ์ ยอดสิน. (2552). การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมแบบร่วมมือบนเว็บเพื่อพัฒนาทักษะการคิดเป็นระบบครบวงจรสำหรับนักเทคโนโลยีการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, คณะครุศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปิยะ ศักดิ์เจริญ. (2553). การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนผ่านเว็บตามแนวคิดการเรียนรู้แบบนำตนเองและแบบใช้ทรัพยากรเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมการรู้สารสนเทศและการเรียนรู้แบบนำตนเองของผู้ใช้บริการศูนย์บรรณสารสนเทศทางการศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการศึกษานอกโรงเรียน, คณะครุศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยบูรพา. (2558). แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา เพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ความเป็นเลิศ ฉบับปรับปรุง. เข้าถึงได้จาก https://planning.buu.ac.th.

วรฤทธิ์ กอปรสิริพัฒน์. (2555). การพัฒนาโมเดลการฝึกอบรมบนเว็บโดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบนำตนเองสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วิวรรธน์ จันทร์เทพย์. (2553). การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมแบบผสมผสานด้วยการเรียนรู้เป็นทีมเพื่อพัฒนาสมรรถนะการออกแบบการเรียนการสอนแบบบูรณาการแบบสหวิทยาการสำหรับครูผู้สอนระดับชั้นประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาแห่งชาติ. (2551). กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2551 - 2565) (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. (2562). เปิดแผน 5 ปี EEC จับมือสถานศึกษาในพื้นที่ ปั้นหลักสูตรเข้มมาตรฐานสากลสร้างแรงงานเพิ่ม 4.75 แสนคน. เข้าถึงได้จาก www.eeco.or.th/pr/news/5YearsEducationManPowerPlanEECHDC.

อภิดา รุณวาทย์. (2556). การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมบนเว็บสำหรับการพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเรียนรู้. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาเทคโนโลยีการศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อาณัติ รัตนถิรกุล. (2558). ติดตั้งและบริหารระบบ e-Learning ด้วย Moodle (ฉบับสมบูรณ์).กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

Khan, B. H. (2001). Web-based training: an introduction. In B.H. Khan. (ed.). Web-Based Training. New Jersey: Educational Technology Publications.

Taro, Y. (1967). Statistics: An Introductory Analysis (2nd Edition). New York: Harper and Row.