ความสามารถด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC ร่วมกับแบบฝึกการอ่านและการเขียนภาษาไทย

Main Article Content

บุญปารถนา มาลาทอง
วิมลรัตน์ จตุรานนท์
สิราวรรณ จรัสรวีวัฒน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC ร่วมกับแบบฝึกการอ่านและการเขียนภาษาไทยกับเกณฑ์ร้อยละ 75 และศึกษาเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้  แบบร่วมมือเทคนิค CIRC ร่วมกับแบบฝึกการอ่านและการเขียนภาษาไทย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านสระสี่เหลี่ยม จังหวัดชลบุรี ได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC ร่วมกับแบบฝึกการอ่านและการเขียนภาษาไทย แบบฝึกการอ่านและการเขียนภาษาไทย  แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทย และแบบวัดเจตคติต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC ร่วมกับแบบฝึกการอ่านและการเขียนภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และt-test ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถด้านการอ่านภาษาไทยหลังการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRCร่วมกับแบบฝึกการอ่านและการเขียนภาษาไทย มีค่าเฉลี่ยของคะแนน 33.04 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 4.78  คิดเป็นร้อยละ 82.60 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  2) ความสามารถด้านการเขียนภาษาไทยหลังการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC ร่วมกับแบบฝึกการอ่านและการเขียนภาษาไทย มีค่าเฉลี่ยของคะแนน 32.93 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 4.95 คิดเป็นร้อยละ 82.32 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  3) เจตคติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC ร่วมกับแบบฝึกการอ่านและการเขียนภาษาไทย อยู่ในระดับดี

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ ภู่ทิม, ชูชาติ พิณพาทย์ และ ปริญญา ทองสอน. (2560). การศึกษาความสามารถในการอ่านจับใจความและการเขียนสื่อความวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยการประยุกต์ใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC ร่วมกับการสอนอ่านแบบปฏิบัติการ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 21(1), 1-15.

กฤษณา พงษ์วาปี. (2550). การศึกษาความสามารถในการอ่าน และเขียนภาษาไทย และทักษะการทำงานร่วมกันของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยรูปแบบการสอน CIRC. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

ฉัตรแก้ว กิตติคุณ. (2546). ผลการเรียนแบบร่วมมือที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง แรง และเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยบูรพา

ณัฐกาญจน์ เลิศยะโส. (2553). การพัฒนาทักษะการเขียนความเรียงร้อยแก้วโดยใช้การสอนแบบร่วมมือ เทคนิค CIRC ร่วมกับแบบฝึกการเขียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการสอนภาษาไทย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ทิศนา แขมมณี. (2558). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 19). กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.

นงลักษณ์ เจนไร่. (2556). การศึกษาความสามารถในการอ่าน การเขียนภาษาไทย และพฤติกรรมการทำงานร่วมกันของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

นลินี บำเรอราช. (2542). การสอนแบบร่วมมือ. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

รัชนี นาหัวหนอง. (2556). การพัฒนาความสามารถอ่านคำควบกล้ำ ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC ประกอบแบบฝึกกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สถาบันภาษาไทย. (2557). การพัฒนาทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

สำนักงานเขตพื้นพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2. (2558). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษา. ชลบุรี: สำนักงานเขตพื้นพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2.

Slavin, R. E. (1995). Cooperative integrated reading and composition. Menlo park, CA: Addison-Wesley.