การสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยวิชาคณิตศาสตร์เรื่องการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในจังหวัดสมุทรสาคร

Main Article Content

สยุมพร สุ่มมาตย์
ภัฐธีร์ตา วัฒนประดิษฐ์
สมพงษ์ ปั้นหุ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยวิชาคณิตศาสตร์เรื่องการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในจังหวัดสมุทรสาคร 2) เพื่อหาคุณภาพด้านความตรงตามเนื้อหา (Content validity) ความยาก (Difficulty) อำนาจจำแนก (Discrimination)ความเที่ยง (Reliability) 3) เพื่อสร้างคู่มือแบบทดสอบวินิจฉัยในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ และวิธีหาคะแนนจุดตัด 4) เพื่อวินิจฉัยข้อบกพร่องของผู้เรียนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในจังหวัดสมุทรสาคร จำนวน  900 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบวินิจฉัยวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 1 ฉบับ มีจำนวน 70 ข้อ ผลการวิจัยปรากฏว่าแบบทดสอบวินิจฉัยคณิตศาสตร์ เรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.80 ถึง 1.00 มีค่าความยากตั้งแต่ 0.41 ถึง 0.72 ค่าอำนาจจำแนกใช้สูตรของ Brenan มีค่าตั้งแต่ 0.50 ถึง 0.81 ค่าความเที่ยงใช้สูตรของ Livingston มีค่าเท่ากับ 0.97 มีคะแนนจุดตัดหาโดยวิธีของ Angoff เท่ากับ 41 คะแนนจากคะแนนเต็ม 70 คะแนน พบว่า นักเรียนมีข้อบกพร่องมากที่สุดในเรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองที่เป็นผลต่างกำลังสอง การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองที่เป็นกำลังสองสมบูรณ์

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

มยุรี ศรีวรรณะ. (2555). การสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยวิชาคณิตศาสตร์เรื่อง พหุนาม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา,มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

รัตติยา หาญธงชัย, มะลิวัลย์ ถุนาพรรณ์ และ สุวิมล โพธิ์กลิ่น. (2553). การสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องการแปลงทางเรขาคณิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี เขต 4. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 16(2), เลขหน้า : 314-320.

วิสารัตน์ วงศ์ภูรี. (2556). การพัฒนาแบบสอบวินิจฉัยจุดบกพร่องทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง พหุนาม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาวัดผลการศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศศิชา ทรัพย์ล้น. (2556). การพัฒนาผลการเรียนรู้และทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่จัดการเรียนรู้แบบบูรณาการเทคนิค KWC กับแนวคิดการสร้างพลังการเรียนรู้. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์ มหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สมนึก ภัททิยธนี. (2553). การวัดผลการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2550). การวัดประเมินผลเพื่อคุณภาพ การเรียนรู้และตัวอย่างข้อสอบจากโครงการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ (PISA). กรุงเทพมหานคร: เซเว่นพริ้นติ้งกรุ๊ป.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2552). แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้า และพัสดุภัณฑ์.

สุริยาพร อดุลย์พงศ์ไพศาล. (2552). การสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยในการเรียนคณิตศาสตร์เรื่องความสัมพันธ์ และฟังก์ชันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์ มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.