ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดจันทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17

Main Article Content

ชลธิชา นารี
วิโรฒน์ ชมภู
ประยูร อิ่มสวาสดิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยมุ่งเพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดจันทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ข้าราชการครูโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดจันทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต17ปีการศึกษา 2561 กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามตารางของ Krejcie and Morgan (1970) ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 274คน จากนั้นทำการสุ่มอย่างง่าย โดยใช้โรงเรียนเป็นเกณฑ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1)ปัจจัยด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ปัจจัยด้านแรงจูงใจ ปัจจัยด้านการสื่อสาร และประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดจันทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ปัจจัยด้านแรงจูงใจ ปัจจัยด้านการสื่อสาร กับประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดจันทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 โดยรวมมีความสัมพันธ์กันอยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ3) สมการพยากรณ์ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดจันทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 ในรูปสมการคะแนนดิบ ดังนี้  gif.latex?\widehat{Y}&space;=&space;0.667&space;+&space;0.365(X_{33})&space;+&space;0.334(X_{32})&space;+&space;0.141(X_{23})  หรือในรูปสมการคะแนนมาตรฐาน ดังนี้  gif.latex?\widehat{Z}&space;=&space;0.384(Z_{_{33}})&space;+&space;0.345(Z_{32})&space;+&space;0.152(Z_{23})

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย
Author Biographies

วิโรฒน์ ชมภู, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

หลักสูตรและการสอน บริหารการศึกษา เทคโนโลยีการศึกษา

ประยูร อิ่มสวาสดิ์, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

บริหารการศึกษา

References

กนกรัตน์ ภู่ระหงษ์. (2549). ประสิทธิผลการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาด้านผลผลิตของผู้บริหารและพนักงานครูในสถานศึกษา สังกัดเทศบาลจังหวัดสระบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

งามตา ธานีวรรณ. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายโสธร. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยบูรพา.

จตุรภัทร ประทุม. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยบูรพา.

ธวัชชัย ยวงคำ. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับประสิทธิผลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาน่าน เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

ประเวศ วะสี. (2544). ภาวะผู้นำ: ความเป็นไปในสังคมและวิธีการแก้ไข. กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน.

ภาวิณี เต็กเก๊า. (2559). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนศูนย์เครือข่ายแสนโสมสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต,สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยบูรพา.

ฤทัยรัตน์ บุญอินทร์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยบูรพา.

สายสมร พุทธิไสย. (2551). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลองค์การของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17. (2561). แผนพัฒนาการศึกษาประจำปี ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17. จันทบุรี: กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17.

สุนันท์ เลิศฤทธิ์พงศ์. (2547). รูปแบบการติดต่อสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารอาชีวศึกษา,สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

อรพรรณ ฉัตรกระโทก. (2558). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน กลุ่มสหวิทยาเขตพระพุทธบาทบัวบก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยบูรพา.

Bass, B. M., & Avolio, B. J. (1990). Transformational leadership development: Manual for the multifactor leadership questionnaire. Palo Alto, CA: Consulting Psychologists Press.

Herzberg, F., Mausner, B., & Snyderman, B. B. (1959). The motivation to work. New York: Jonh Wiley and Sons.

Hoy, W. K., & Miskel, C. G. (2001). Educational administration: Theory, research and practice (6th ed.). New York: McGraw-Hill.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities.Journal of Education and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Likert, L. E. (1976). New ways of managing conflict. New York: McGraw-Hill.

Stuart-Kotze, R., & Roskin, R. (1983). Success guide to managerial achievement. Reston, VI: Reston.