ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการลดพฤติกรรมเสี่ยงของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 18

Main Article Content

โนชญ์ ชาญด้วยกิจ
สุเมธ งามกนก
สมพงษ์ ปั้นหุ่น

บทคัดย่อ

               การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการลดพฤติกรรมเสี่ยงของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18เพื่อพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยเชิงสาเหตุ และเพื่อตรวจสอบความตรงของโมเดลโครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยเชิงสาเหตุ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 จำนวน 958 คน ตัวแปรที่ศึกษาประกอบด้วย ความสัมพันธ์ของครอบครัว อิทธิพลของสื่อ สภาพแวดล้อมในชุมชน ลักษณะสังคมและวัฒนธรรม ประสบการณ์ส่วนบุคคล ลักษณะกลุ่มเพื่อน และพฤติกรรมเสี่ยงของนักเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative method)  โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ของปัจจัย และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้โปรแกรม Amos ในการตรวจความตรงเชิงโครงสร้างของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ


               ผลการวิจัยพบว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการลดพฤติกรรมเสี่ยงของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ คือ ได้ค่าจากค่าไคว์-สแควร์ (gif.latex?\chi&space;^{2}) = 533.288     p = .00 df =  241  (gif.latex?\chi&space;^{2}/ df = 2.21 Comparative Fit Index (CFI) = .9 Goodness of Fit Index (GFI) = .95 Adjust Goodness of Fit Index (AGFI) = .94 Root Mean Squares Error of Approximation (RMSEA) = .03  ตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรการลดพฤติกรรมเสี่ยงของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นได้ร้อยละ 83

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย

References

จำรอง เงินดี. (2552). จิตวิทยาสังคม. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ปราณี รามสูต. (2545). จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพฯ: สถาบันราชภัฏธนบุรี.

พงษ์พันธ์ พงษ์โสภา. (2542). พฤติกรรมกลุ่ม. กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา.

เพ็ญนภา กุลนภาดล. (2560). การให้การปรึกษาวัยรุ่น (Adolescent counseling). กรุงเทพฯ: เนติกุลการพิมพ์.

โรงเรียนมกุฎเมืองราชวิทยาลัย. (2558). รายงานประจำปีการศึกษา 2558. ระยอง: โรงเรียนมกุฎเมืองราชวิทยาลัย.

ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2553). จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เสาวคนธ์ กลักทองกรณ์. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศในเยาวชนที่ใช้แอมเฟตามีน. วารสารพยาบาลศาสตร์, 34(1), 40-52.

Geldard, D., & Geldard, K. (2005). Basic personal counselling: A training manual for counsellors. NSW, Australia: Pearson Education.

Giancola, S. P. (1998). Student misbehavior: An exploratory study of individual, familial, social, and institutional influences. Dissertations available from ProQuest. AAI9913459.

Schumacker, R. E., & Lomax, R. G. (1996). A beginner's guide to structural equation modeling. Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum Associates.