การพัฒนาแบบวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านความซื่อสัตย์สุจริต สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

วิมลรัตน์ เทียนวิมลชัย
สุรีพร อนุศาสนนันท์
สรพงษ์ เจริญกฤตยาวุฒิ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบวัดความซื่อสัตย์สุจริตสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อตรวจสอบคุณภาพของแบบวัด การสร้างเกณฑ์ปกติวิสัยระดับท้องถิ่น และเพื่อสร้างคู่มือการใช้แบบวัดดังกล่าว กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน1,200 คน จำแนกออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มแรก การทดลองใช้ครั้งที่1 จำนวน 150 คน กลุ่มที่สอง การทดลองใช้ครั้งที่ 2 จำนวน 450 คน และกลุ่มที่สาม ใช้จริงครั้งที่ 3 จำนวน 600 คน โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านความซื่อสัตย์สุจริตซึ่งเป็นแบบสถานการณ์ 4 ตัวเลือก สร้างตามแนวคิดของแครธโวล บลูม และมาเซีย การตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดใช้ความตรงเชิงเนื้อหา ค่าอำนาจจำแนกรายข้อด้วยวิธีการทดสอบที ค่าความเที่ยงด้วยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค และความตรงเชิงโครงสร้างด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และเกณฑ์ปกติวิเคราะห์ด้วยคะแนนที


ผลการวิจัย พบว่า แบบวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านความซื่อสัตย์สุจริตมีความตรงเชิงเนื้อหา โดยมีค่า IOC ตั้งแต่ 0.60 ขึ้นไป ค่าอำนาจจำแนกทุกข้อ พบว่า ค่า tมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความเที่ยงของแบบวัดมีค่าเท่ากับ.70และการตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของแบบวัด พบว่า โมเดลการวัดความซื่อสัตย์สุจริตมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (df}=1.211,&space;RMSEA&space;=&space;0.022,&space;CFI&space;=&space;0991,&space;TLI&space;=&space;0.984,&space;SRMR&space;=&space;0.022) สำหรับเกณฑ์ในการแปลผลสามารถจำแนกออกเป็น 5 กลุ่มดังนี้ คะแนนทีตั้งแต่ 80 ขึ้นไป แปลว่า ความซื่อสัตย์สูงมาก คะแนนที 60-79 แปลว่า ความซื่อสัตย์สูง คะแนนที40-59 แปลว่า ความซื่อสัตย์ปานกลาง คะแนนที 20-39 แปลว่า ความซื่อสัตย์ต่ำ และคะแนนทีต่ำกว่า 19 แปลว่า ความซื่อสัตย์ต่ำมาก

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

แจ่มสิริ ภูไฟ. (2551). การพัฒนาแบบวัดความซื่อสัตย์และแบบประหยัด สำหรับนักเรียนการศึกษาขั้นพื้นฐาน ช่วงชั้นที่ 3-4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรลสถิติวิเคราะห์สำหรับงานวิจัย. กรุงเทพฯ; โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยทางการวัดและประเมินผล. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พวงพันธ์ โพธิ์ศรี. (2555). การสร้างแบบวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านความซื่อสัตย์สุจริต สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

รัตน์สิมาพร ดาวเรือง. (2549). การสร้างแบบวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการวัดผลการศึกษา, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2543). เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ลัดดา อะยะวงศ์. (2529). การทดสอบเชาว์ปัญญา. ขอนแก่น: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วิลัยภร จันนะรา. (2559). การสร้างแบบวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านความซื่อสัตย์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สมชัย จันทริมา. (2549). การพัฒนาแบบวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 1.วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการวัดผลการศึกษา, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สมนึก ภัททิยธนี. (2546). การวัดผลการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ. (2559). ความซื่อสัตย์สุจริต เป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาประเทศ. เข้าถึงจาก https://www.isranews.org/isranews/51740-a-51740.html

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พุทธศักราช 2560-2564. กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). แนวทางการพัฒนา การวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 .กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

สุนทรพจน์ ดำรงค์พานิช. (2555). โปรแกรม Mplus กับการวิเคราะห์ข้อมูลทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. มหาสารคาม: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุภมาส อังศุโชติ, สมถวิล วิจิตรวรรณา และรัชนีกูล ภิญโญภานุวัฒน์. (2554). สถิติวิเคราะห์ สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์: เทคนิคการใช้โปรแกรม LISREL (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.

สุรีพร อนุศาสนนันท์. (2554). การวัดและประเมินในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่1 .ชลบุรี : โรงพิมพ์เก็ทกู๊ดครีเอชั่น.

สุวิชชา ตรีพรหม. (2558). การศึกษาและพัฒนาแบบวัดความซื่อสัตย์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

สุวิมล ติรกานันท์. (2550). การวิเคราะห์ตัวแปรพหุในงานวิจัยทางสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิมล ติรกานันท์. (2546). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อนันต์ ศรีโสภา. (2524). การวัดและประเมินผลการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), pp. 607-610.

Nunnally, C. Ju. (1978). Psychometric theory. New York : McGraw-Hill.