การพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถ ในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ลำดับ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
Main Article Content
บทคัดย่อ
การดำเนินการวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ลำดับ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้กระบวนการของการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ 2) เพื่อประเมินรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการ 4) หลักการตอบสนอง 5) ระบบสังคม 6) ระบบสนับสนุน โดยองค์ประกอบด้านกระบวนการประกอบด้วย 6 ขั้นตอน คือ ขั้นทบทวนความรู้เดิม ขั้นเติมความรู้ใหม่ ขั้นทำความเข้าใจปัญหา ขั้นพิจารณาคำตอบ ขั้นประยุกต์ใช้ ขั้นสรุปและประเมินค่า โดยรูปแบบการสอนมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
2. รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ที่พัฒนาขึ้นมีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 94/82.87 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ และนักเรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก
Article Details
อ้างอิงแหล่งที่มา
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กนกรัตน์ บุญไชโย. (2559). โมเดลสภาพแวดล้อมการเรียนรู้แบบ Flipped Classroom ตามหลักการการใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์สําหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา. ปริญญานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2553). การคิดเชิงสร้างสรรค์ = Creative thinking (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ : ซัคเซสมีเดีย.
ชนาพร ทัพภูมี. (2556). การพัฒนารูปแบบการสอนตามแนวคิดของกานเยและซิปปาเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1) : 7-20.
ดุษฎี โยเหลา และคณะ. (2557). การศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบ PBLที่ได้จากโครงการสร้างชุดความรู้เพื่อสร้างเสริมทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของเด็กและเยาวชน : จากประสบการณ์ความสำเร็จของโรงเรียนไทย. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ทิพยวิสุทธิ์.
ทิศนา แขมมณี. (2552). รูปแบบการเรียนการสอน : ทางเลือกที่หลากหลาย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี. (2560). 14 วิธีสอนสำหรับครูมืออาชีพ (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิภา พิศลืม. (2556). การเปรียบเทียบการคิดวิเคราะห์ ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ LT กับการเรียนรู้แบบปกติ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
บุณยาพร สารมะโน. (2559). การพัฒนารูปแบบการประเมินตามสภาพจริงที่มีผลต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. ปริญญานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการวิจัยและประเมินผลการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2551). การพัฒนาการคิด. กรุงเทพฯ : 9119 เทคนิค พริ้นติ้ง.
มาเรียม นิลพันธ์. (2553). วิธีวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 4). นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สิริพร ทิพย์คง. (2558). คู่มือครู คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ.
สุวิทย์ มูลคำ. (2551). กลยุทธ์...การสอนคิดเชิงกลยุทธ์ เล่ม9. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2551). การจัดกิจกรรมที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
สำลี ทองธิว. (2555). กลวิธีการเผยแพร่นวัตกรรมทางการศึกษาสำหรับผู้บริหารและครู ก้าวหน้า. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ.
Bruner, S. (1968). Studies in Cognitive Growth : A Collaboration at the Center for Cognitive Studies. New York : John Willy and SONS.
Joyce, B. R. and Weil, M. (2009). Model of Teaching. (8ed ed). New York : Allyn & Bacon.
Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Kruse, K. (2007). Introduction to Instructional Design and the ADDIE Model. New York : John Wiley.
Morse, P.M. (1958). Queues, inventories, and maintenance : the analysis of Operational system with variable demand and supply. New Jersey : Wiley.
Piaget, J. (1964). Six Psychological Studies. New York : Vintage.
Riasat A. (2010). Effect of Using Problem Solving Method in Teaching Mathematics on The Achievement of Mathematics Students. Asian Social Science. 6(2) :67–72.
Russell, R.F. (2001) "The role of values in servant leadership", Leadership & Organization Development Journal, 22(2) : 76-84.
Smith, E.W. and Others. (1980). The Education ,s Encyclopedia. New York : Prenctice–Hall.