สมรรถนะครูพลศึกษาในศตวรรษที่ 21

Main Article Content

อัสรี สะอีดี
สิทธิศักดิ์ บุญหาญ
จิตรัตดา ธรรมเทศ

บทคัดย่อ

          สมรรถนะ (competency) เป็นปัจจัยในการทำงานที่เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่องค์การ  โดยเฉพาะการเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ เพราะสมรรถนะเป็นปัจจัยช่วยให้พัฒนาศักยภาพของบุคลากรเพื่อให้ส่งผลไปสู่การพัฒนาองค์การ


          การเปลี่ยนแปลงในยุคศตวรรษที่ 21 ส่งผลต่อวิถีชีวิตของคนในสังคม ระบบการศึกษาจึงจำเป็นต้องพัฒนาเพื่อตอบสนองต้องการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้ด้วย เดิมการศึกษามุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีทักษะเพียงอ่านออกเขียนได้ (Literacy) เท่านั้น แต่สำหรับในศตวรรษที่ 21 ต้องมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ การปฏิบัติและการสร้างแรงบันดาลใจไปพร้อมกัน


          สำหรับสมรรถนะครูพลศึกษาในศตวรรษที่ 21 หมายถึง พฤติกรรมซึ่งเกิดจากการรวมความรู้ ทักษะ คุณลักษณะ ทัศนคติ และแรงจูงใจของครูพลศึกษาในศตวรรษที่ 21 และส่งผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่อย่างโดดเด่น ประกอบด้วยสมรรถนะ 6 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านความรู้วิชาการ การจัดการเรียนการสอนทักษะทางการกีฬาและการออกกำลังกาย 2) ด้านการส่งเสริมพัฒนาผู้เรียน โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 3) ด้านการสื่อสารและการมีมนุษยสัมพันธ์ทั้งกับนักเรียน ผู้ปกครอง เพื่อนครู และผู้บริหาร 4) ด้านการรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศและดิจิทัล 5) ด้านการพัฒนาตนเองในความเป็นครูพลศึกษา และ 6) ด้านการปรับตัวให้เข้ากับนักเรียนและยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลง

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิชาการ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). นโยบายและจุดเน้นการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. สืบค้นจาก https://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID= 53359&Key=news_act

เจริญ ภูวิจิตร. (2560). การพัฒนาครูเพื่อคุณภาพของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. สืบค้นจาก https://www.nidtep.go.th/webnidtep2015/files/170560_Teachers%20Development21

ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (ม.ป.ป.). การเรียนรู้ในยุคสมัยหน้า: ตอนรูปแบบและทฤษฎี การเรียนรู้อนาคต. สืบค้นจาก https://thanompo.edu.cmu.ac.th

นวพร ชลารักษ. (2558). บทบาทของครูกับการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 9(1), 64-71.

ประเวศ วะสี. (2557). อภิวัฒน์การเรียนรู้...สู่จุดเปลี่ยนประเทศไทย. กรุงเทพฯ: บริษัท มาตา จํากัด

พัชราภา ตันติชูเวช. (2560). เจเนอเรชันแอลฟา : เจเนอเรชันใหม่ในสังคมไทยศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ภาสกร เรืองรอง และคณะ. (2557). เทคโนโลยีการศึกษากับครูไทยในศตวรรษที่ 21. วารสารครูไทยปัญญาภิวัฒน์, 3(ฉบับพิเศษ), 195-207

วรศักดิ์ เพียรชอบ. (2548). รวมบทความเกี่ยวกับ ปรัชญา หลักการ วิธีสอนและการวัดเพื่อประเมินผลทางการพลศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วาสนา คุณาอภิสิทธิ์. (2543). สมรรถนะเฉพาะวิชาชีพ ครูสุขศึกษาและพลศึกษา. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และนันทนาการ, 32 (2), 21-27.

อัสรี สะอีดี. (2562). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของครูพลศึกษาในศตวรรษที่ 21 โดยประยุกต์ใช้การอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ร่วมกับการสอนแบบเสริมศักยภาพ. ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา คณะครุศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์. (2550). มาตรฐานวิชาชีพครูสุขศึกษาและพลศึกษา. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 35(4), 57-63.

American Association for Health Education Teacher Preparation Standards. (2008). National Standards for Initial Physical Education Teacher Education. Retrieved from https://www.shapeamerica.org//accreditation/upload/2008-National-Initial-Physical-Education-Teacher-Education-Standards-Edited-1-5-12.pdf

PEteacherEDU.org. (2019). Becoming a PE Teacher through a Traditional Teacher Preparation Program. Retrieved from https://www.peteacheredu.org/?fbclid=IwAR1nlc1JBgNTuyRPsR_FEflNRbTPYUBnzc5pDlq_1aXXIeK5_sSux3I8tnY

Suzanne Lundvall. (2003). Physical literacy in the field of physical education – A challenge and a possibility. Journal of Sport and Health Science, 4(2), 113-118.