การพัฒนาเว็บแอพพลิเคชั่น รายวิชาคอมพิวเตอร์และสารสนเทศเพื่องานอาชีพ เรื่อง การใช้โปรแกรม Microsoft excel สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1

Main Article Content

ศุภนันท์ ทับท่าช้าง
ดวงพร ธรรมะ
ดำรัส อ่อนเฉวียง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาเว็บแอพพลิเคชั่น รายวิชาคอมพิวเตอร์และสารสนเทศเพื่องานอาชีพ เรื่อง การใช้โปรแกรม Microsoft excel สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ E1/E2 = 80/80 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนจากการใช้เว็บแอพพลิเคชั่น รายวิชาคอมพิวเตอร์และสารสนเทศเพื่องานอาชีพ เรื่อง การใช้โปรแกรม Microsoft excel สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี ปีการศึกษา 2562 จำนวน 49 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เว็บแอพพลิเคชั่น รายวิชาคอมพิวเตอร์และสารสนเทศเพื่องานอาชีพ เรื่อง การใช้โปรแกรม Microsoft excel สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 แบบทดสอบผู้เรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบประสิทธิภาพ E1/E2 ผลการวิจัย พบว่า 1) เว็บแอพพลิเคชั่น รายวิชาคอมพิวเตอร์และสารสนเทศเพื่องานอาชีพ เรื่อง การใช้โปรแกรม Microsoft excel สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ E1/E2 = 80/80 เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ เท่ากับ 81.48/82.91 และ 2) ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อเว็บแอพพลิเคชั่น รายวิชาคอมพิวเตอร์และสารสนเทศเพื่องานอาชีพ เรื่อง การใช้โปรแกรม Microsoft excel สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}= 4.30, SD= 0.68).

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย

References

จรัส พงเจริญ. (2560). ผลการเรียนด้วยเว็บแอปพลิเคชันการศึกษาโดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเขียนโปรแกรมบนเว็บของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

บัวแก้ว สุกใส. (2561, 18 มกราคม). หัวหน้าสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ วิทยาลัยเทคโนโลยีชลบุรี. สัมภาษณ์.

เบญจมาศ เหมือนสุทธิวงศ์. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาในสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงของโรงเรียนระดับอาชีวศึกษาเอกชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วัชรินทร์ จันทิมา. (2558). การสร้างแอพพลิเคชั่นทางการศึกษา เรื่อง องค์ประกอบและการทำงานของคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศริณทร์ดา จิรายุพาพัทธ์. (2556). การศึกษาการออกแบบแอพพลิเคชั่นตราสินค้าของธุรกิจกาแฟบนโทรศัพท์ สมาร์ทโฟน. การค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศุภฤกษ์ จันทน์เทศ. (2558). การพัฒนาแอพพลิเคชั่นการเรียนรู้บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ เรื่อง ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์และเทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูล. วิทยานิพนธ์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต, สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์, คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

สิทธิชัย ลายเสมา. (2557. การจัดการความรู้ด้วยเทคโนโลยีภควันตภาพเพื่อมุ่งสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้. วารสารการอาชีวะและเทคนิคศึกษา, 4(7), 43-51.

หฤทัย อรุณศิริ. (2558). ปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัย กรุงเทพธนบุรีที่, 3(2), 43-51.

Azham, H., & Maria, K. (2009). Usability metric framework for mobile phone application. Retrieve from https://pdfs.semanticscholar.org/52c5/b1bd37509acdb203e9b1bbc951e1f6319e09