สมรรถนะหลักของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการ ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2

Main Article Content

กนกพร โหงวเกิด
กัญภร เอี่ยมพญา
นิวัตต์ น้อยมณี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับสมรรถนะหลักของผู้บริหาร  2) ศึกษาระดับประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะหลักของผู้บริหาร กับ ประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา และ 4) ศึกษาสมรรถนะหลักของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครู จำนวน 297 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับสมรรถนะหลักของผู้บริหารโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการทำงานเป็นทีม รองลงมาคือ ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ ด้านการบริการที่ดี ส่วนสมรรถนะหลักด้านที่มีค่าเฉลี่ยในอันดับสุดท้าย คือ ด้านการพัฒนาตนเอง 2) ระดับประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ การพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา รองลงมาคือ การส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการแก่บุคคล ครอบครัว องค์กร หน่วยงาน สถานประกอบการและสถาบันอื่นที่จัดการศึกษา ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยในอันดับสุดท้าย คือ การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา  3) สมรรถนะหลักของผู้บริหารและประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการ มีความสัมพันธ์กันทางบวกอยู่ในระดับมาก (rxy = .689) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05  4) สมรรถนะหลักของผู้บริหาร ด้านการทำงานเป็นทีม ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ ด้านการบริหารที่ดี ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา ร่วมกันทำนายประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการได้ร้อยละ 57.10 สามารถเขียนเป็นสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐานได้ดังนี้ Zy = .202x1 + .153x2 + .567X4

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย

References

กรองกาญจน์ นาแพร่. (2560).การเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงาน
วิชาการในโรงเรียนประถมศึกษาของรัฐ จังหวัดสมุทรสาคร.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต,
สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
จันทรานี สงวนนาม. (2551). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3).
นนทบุรี: บุ๊คพอยท์.
ชัยยนต์ เพาพาน. (2559). แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐานการเป็นผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21.
วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2(1),1 – 19.
บรรลุ ชินน้ำพอง. (2556). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน
สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร
มหาบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ประจักษ์ ทรัพย์อุดม. (2550). แนวทางพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วย Competency. กรุงเทพฯ :
เอกสารอัดสําเนา.
ปาริฉัตร ช่อชิต. (2559). สมรรถนะผู้บริหารกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา,
บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พเยาว์ สุดรัก. (2553). ศึกษาสมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาเทคโนโลยีการบริหารการศึกษา, คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม,
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
เพียร์พันธ์ กิจพาณิชย์เจริญ. (2552). ศึกษาสมรรถนะการบริหารวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา
สังกัดสำนักงานเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต,
สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์โรฒ.
ยุพิน ภารนันท์. (2557). การบริหารงานวิชาการที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การเรียนรู้ของสถานศึกษา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 . วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต,
สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
วิโรจน์ บุญเรือง. (2552). ปัญหาและข้อเสนอแนะการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเทศบาลใน
จังหวัดชลบุรี. งานนิพนธ์บูรพา, การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาบริหารการศึกษา,
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบรูพา.
วิไลพร ศรีอนันต์. (2559). สมรรถนะผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารงานบุคคลโรงเรียนเอกชน
จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา,
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วีรกานท์ ศรีสมัย. (2551). สมรรถนะการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขต
พื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, การบริหารการศึกษา,
มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
วรรณชุรีย์ เกิดมงคล. (2551). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2 . วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา,
มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
สุจิตรา พันธศรี. (2559). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน
ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). แนวทางการกระจายอำนาจการบริหาร และการจัด
การศึกษาให้คณะกรรมการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาตามกฎกระทรวงกำหนด
หลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ.2550. กรุงเทพฯ:
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2. (2561). แผนปฏิบัติงานประจำปี 2560.
ฉะเชิงเทรา: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2547). หลักเกณฑ์และวิธีการพัฒนา
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาก่อนแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา. กรุงเทพฯ
: คุรุสภาลาดพร้าว
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). (ร่าง) กรอบทิศทางแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2575.
กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
อัชริตา ยิ้มสุคนธ์. (2560). พฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการ
ของโรงเรียนกลุ่มธนบุรี สังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต,
สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activites.
Educational and Psychoological Measurement, 30(3), pp. 607-610
Likert,R. (1967). New Pattern of Management. NY: McGraw-Hill.