การพัฒนากิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบโครงงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

สิริพร มงคล
ปานเพชร ร่มไทร
ปริญญา ทองสอน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)  เพื่อพัฒนากิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบโครงงานด้านคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ E1/E2 (75/75) 2) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนหลังเรียนด้วยกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบโครงงานด้านคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 3) เพื่อศึกษาเจตคติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบโครงงานด้านคอมพิวเตอร์  กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านแหลมแท่น จำนวน 20 คน ที่ได้จากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างง่ายโดยวิธีจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบโครงงานด้านคอมพิวเตอร์ 2) แบบทดสอบ เรื่อง การประยุกต์ใช้โปรแกรม Microsoft PowerPoint และ 3) แบบวัดเจตคติที่มีต่อกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบโครงงานด้านคอมพิวเตอร์  ผลการวิจัย พบว่า 1) กิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบโครงงานด้านคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 2) คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนด้วยกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบโครงงานด้านคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) เจตคติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบโครงงานด้านคอมพิวเตอร์อยู่ในระดับดี 

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ขนิษฐา คนกล้า. (2554). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบฝึกทบทวนบนอินเทอร์เน็ต โดยการใช้เทคนิคโครงงานเป็นฐาน รายวิชา การสร้างการ์ตูนด้วยโปรแกรม Adobe Flash เรื่องการใช้เครื่องมือการสร้างการ์ตูน. ปริญญานิพนธ์ครุศาสตร์ อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

จุไรรัตน์ ปึ้งผลพูล. (2555). การพัฒนาผลการเรียนรู้และทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่จัดการเรียนรู้แบบโครงงาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชามาศ ดิษฐเจริญ (2556). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานตามแนวคิดคอนสตรัคชั่นนิซึ่มในรายวิชาการเรียนโปรแกรมพัฒนาหุ่นยนต์ประยุกต์. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ดุษฎี โยเหลา และคณะ. (2557). การศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบ PBL ที่ได้จากโครงการสร้างชุดความรู้เพื่อสร้างเสริมทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของเด็กและเยาวชน: จากประสบการณ์ความสำเร็จของโรงเรียนไทย. กรุงเทพฯ : หจก. ทิพยวิสุทธิ์

ปัญญา ศรีผายวงษ์. (2556). การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนแบบโครงงานในรูปแบบบริษัทจำลอง รายวิชาโครงงานอาชีพ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. ปริญญานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ผกายมาศ เชวงชุติรัตน์. (2559). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาเรื่องการเสริมสร้างและการดูแลสุขภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้โครงงานเป็นฐาน. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.

เมธาวี โสรเนตร. (2560). การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคอมพิวเตอร์และความสามารถในการทำโครงงานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.

วิภาดา วงศ์สุริยา. (2560). การพัฒนากิจกรรมการเรียนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดยใช้โครงงานเป็นฐานภายใต้การจัดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียนรู้ เรื่องการประยุกต์ใช้โปรแกรมภาษา C++. ปริญญานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ศิรินทิพย์ เด่นดวง. (2554). การพัฒนาผลการเรียนรู้ด้านการฟังและดูเชิงคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2559). คู่มือบริหารจัดการเวลาเรียน “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้”. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สิริพร มงคล. (2561). การศึกษาสมรรถนะที่สำคัญของผู้เรียน รายวิชาคอมพิวเตอร์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561. ชลบุรี: โรงเรียนบ้านแหลมแท่น.