การพัฒนาบทเรียนผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เรื่อง ผังงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

ฐิพากาญษ์ โยธารักษ์
ภูเบศ เลื่อมใส
สุขมิตร กอมณี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เรื่อง ผังงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 90/90 และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อการเรียนรู้ เรื่องผังงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนบ้านชุมนุมปรกฟ้า สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 จำนวน 40 คน ได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม  ดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอน 8 ชั่วโมง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) บทเรียนผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เรื่อง ผังงาน   2)  แบบทดสอบท้ายบทเรียน  3) แบบทดสอบหลังเรียนบทเรียนออนไลน์ 4) แบบวัดความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีบทเรียนผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เรื่อง ผังงาน  ผลการวิจัย พบว่า 1) บทเรียนผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เรื่อง ผังงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ 95.33/90.00 เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 90/90 และ 2) ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เรื่อง ผังงาน พบว่า มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{X}= 4.14, SD=0.54)

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย

References

กิดานันท์ มลิทอง. (2544). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เข็มชาติ พงษ์พาน. (2554). การพัฒนาระบบการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสังคมออนไลน์เฟซบุ๊ก,วิทยานิพนธ์ครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต, สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

เปรื่อง กุมุท. (2519). การวิจัยและนวัตกรรมการสอน. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

ไพรัตน์ วงษ์นาม. (2543). หลักการวิจัยทางการศึกษา. ชลบุรี: ภาควิชาวิจัยและวัดผลการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ไพศาล ภาวสุทธิ. (2555). การพัฒนาบทเรียนเว็บบล็อกเรื่องคอมพิวเตอร์กราฟิกสำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. โรงเรียนบ้านประตูน้ำพระพิมล อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

รชา ขุนไทย. (2554). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์สำหรับฝึกอบรมบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง เครือข่ายสังคมออนไลน์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต, สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

โรงเรียนบ้านชุมนุมปรกฟ้า. (2560). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของผู้เรียนของโรงเรียนบ้านชุมนุมปรกฟ้า. ชลบุรี: โรงเรียนบ้านชุมนุมปรกฟ้า.

วินัย เพ็งภิญโญ และจรินทร อุ่มไกร. (2558). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ในรายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เรื่อง การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (รายงานการวิจัย). นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

สุรางคณา วายุภาพ. (2561). พฤติกรรมการใช้งานอินเทอร์เน็ตของคนไทย. กรุงเทพฯ: กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

สำนักงานประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (2561). กลยุทธ์ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ด้วยการใช้เฟซบุ๊ค(Facebook). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.

อมรินทร์ อำพลพงษ์. (2559). การพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตตามแนว ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการออกแบบและเทคโนโลยีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อำนวย เดชชัยศรี. (2553). พื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศ. กรุงเทพฯ: วัฒนาพานิช.

Bandura, A. (1971). Social learning theory. New York: General Learning.

Gagne, R. M. (1985). The Conditions of Learning and Theory of Instruction. New York: CBS College.

Edward, L. Thorndike. (1912). Education: A first book. New York: Macmillan.

Howard, R. (2008). Virtual world’s research: Past, present & future. Berkeley, Stanford: Howard Rheingold.