การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการประกันคุณภาพภายในที่มีประสิทธิภาพ ของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบรูปแบบการบริหารจัดการประกันคุณภาพภายในที่มีประสิทธิภาพของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมีวิธีดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย 2) การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการประกันคุณภาพภายในที่มีประสิทธิภาพของโรงเรียนมัธยมศึกษา โดยใช้เทคนิคเดลฟาย สอบถามความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญที่เจาะจงเลือก (purposive sampling) จำนวน 17 คน 3) ตรวจสอบรูปแบบการบริหารจัดการประกันคุณภาพภายในที่มีประสิทธิภาพของโรงเรียนมัธยมศึกษา ด้วยการสนทนากลุ่ม (Focus group) จากผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 8 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่ามัธยฐาน (Mdn.) และค่าพิสัยระหว่างควอร์ไทล์ (I.R.)
ผลการวิจัย พบว่า
- รูปแบบการบริหารจัดการประกันคุณภาพภายในที่มีประสิทธิภาพของโรงเรียนมัธยมศึกษา มี 5 องค์ประกอบได้แก่ 1) การวางแผน 2) การจัดการองค์การ 3) การนำ 4) การควบคุม 5) การปรับปรุง และจากองค์ประกอบ จะมีรายละเอียด รวมทั้งสิ้น 132 ประเด็น
- การตรวจสอบรูปแบบ พบว่า รูปแบบที่สร้างขึ้นมีความเหมาะสมและเป็นไปได้ในการปฏิบัติ ทั้ง 5 องค์ประกอบ
Article Details
อ้างอิงแหล่งที่มา
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2543). การประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับการศึกษา ขั้นพื้นฐาน : แนวทางการศึกษาและพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
จุมพล พูลภัทรชีวิน. (2535). เทคนิคการวิจัยแบบ EDFR เทคนิควิเคราะห์นโยบาย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชัยวัฒน์ ประสงค์สร้าง. (2553). รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการและประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาอุดมศึกษา, คณะครุศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณรงค์ ศิริเมือง. (2555). รูปแบบการบริหารงานประกันคุณภาพตามวงจรคุณภาพของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยนาท. ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการศึกษาและการเรียนรู้, คณะครุศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
ทวีศักดิ์ ไทยประดิษฐ์. (2545). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารโรงเรียนและกระบวนการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนที่ผ่านเกณฑ์และไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพผู้เรียนในสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะครุศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
ธนาชัย สุขวณิช. (2556). ทฤษฎีและแนวคิดการจัดการสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.
เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2556). การจัดการสมัยใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 8 ปรับปรุงใหม่). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์บริษัท -ทริปเพิ้ล กรุ๊ป.
บุญชม ศรีสะอาด. (2535). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวิริยาสาส์น.
บุญลือ มูลสวัสดิ์. (2546). กระบวนการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาที่ได้รับการประเมินคุณภาพภายนอก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะครุศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
พัชสิรี ชมพูคำ. (2552). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: แมคกรอ-ฮิล.
วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2553). “การวิจัยพัฒนารูปแบบ”. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร, 2(4), 1-16.
วีระยุทธ ชาตะกาญจน์. (2557). การวิจัยเพื่อพัฒนาการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วีระศักดิ์ เชื้อเจ็ดตน. (2550). การบริหารจัดการตามระบบการประกันคุณภาพการศึกษาตามทัศนของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอเวียงป่าเป้า สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เชียงราย เขต 2. การศึกษาอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะครุศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
ศรีสุดา ประเคนรี. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการประเมินคุณภาพภายนอก ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามทัศนะของครูและผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนสังกัดเทศบาล ในกลุ่มการศึกษาท้องถิ่นที่ 5. วารสารการวิจัยกาสะลองคำ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 8(1), 39-52.
สมคิด บางโม. (2558). องค์การและการจัดการองค์การ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: บริษัทจูน พับลิซซิ่ง.
สัญญา เคณาภูมิ และเสาวลักษณ์โกศลกิตติอัมพร. (2560). กรอบแนวคิดการศึกษาการวางแผนและการบริหารแผน. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 4(2), 407.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2561). แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (ม.ป.ป.). รายงานการวิเคราะห์การพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาให้รองรับการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทย พ.ศ.2560. เข้าถึงได้จาก http://backoffice.onec.go.th/uploads/Book/1593-file.pdf.
Bateman, S., & Snell, A. (2013). Management : Leading & collaborating in a competitive world. New York: McGraw-Hill.
Brooks, E. A. (1996). Quality assurance and improvement planning and the education of special education. Dissertation Abstracts International, 60(4), 946-A. UMI No. 7182493.
Certo, S. C., & Certo, T. S. (2006). Modern management. New Jersey: Pearson/ Prentice Hall.
Mason, M. H., & Khedourri, F. (1985). Management. New York: Harper & Row.
Neville, L. B. (1998). Quality assurance and improvement planning in two elementary schools: Case studies in Illinois school reform. Urbana Champaign: Illinois State University.
Robbins, S. P., & Coulter, M. (2007). Management. New Jersey: Pearson Prentice Hall.
Schermerhorn, John R. Jr. (2005). Management (8th ed.). New York: John Wiley & Sons.
Shokraiefard A. (2011). Continuous quality improvement in Higher Education A case study in Engineering School of Boras University. Master of Science with a Major in Quality and Environmental. University of Boras. Sweden.
Townsend, R. (1997). Reinventing leadership: Strategies to empower the organization. New York: Harper Paperbacks.