รูปแบบการติดตามนักเรียนนักศึกษาของวิทยาลัยเทคนิคเดชอุดมเพื่อป้องกันปัญหา การออกกลางคัน โดยนำระบบสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนารูปแบบการติดตามนักเรียนนักศึกษาของวิทยาลัยเทคนิคเดชอุดมเพื่อป้องกันปัญหาการออกกลางคัน โดยนำระบบสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการ โดยแบ่งการดำเนินการออกเป็น 4 ขั้นตอน มีขอบเขตการวิจัยดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพปัญหาการออกกลางคันของนักเรียน นักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคเดชอุดม ขั้นตอนที่ 2 พัฒนารูปแบบการติดตามนักเรียนนักศึกษาของวิทยาลัยเทคนิคเดชอุดม เพื่อป้องกันปัญหาการออกกลางคัน ขั้นตอนที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบการติดตามนักเรียนนักศึกษา เพื่อป้องกันปัญหาการออกกลางคันของวิทยาลัยเทคนิคเดชอุดม โดยการนำระบบสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการ ขั้นตอนที่ 4 ประเมินรูปแบบการติดตามนักเรียน นักศึกษา เพื่อป้องกันปัญหาการออกกลางคันของวิทยาลัยเทคนิคเดชอุดม โดยการนำระบบสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการ โดยการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการติดตามนักเรียนนักศึกษา และเปรียบเทียบจำนวนนักเรียนนักศึกษาที่ออกกลางคันในปีการศึกษา 2560, 2561 และ 2562 ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัญหาการออกกลางคันของนักเรียนนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคเดชอุดม โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) รูปแบบการติดตามนักเรียนนักศึกษาของวิทยาลัยเทคนิคเดชอุดมเพื่อป้องกันปัญหาการออกกลางคัน โดยนำระบบสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ วัตถุประสงค์ของรูปแบบ องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ การดำเนินงานของรูปแบบ การประเมินผล และ 3 เงื่อนไขความสำเร็จ 3) ผลการทดลองใช้รูปแบบการติดตามนักเรียนนักศึกษา เพื่อป้องกันปัญหาการออกกลางคันของวิทยาลัยเทคนิคเดชอุดม โดยนำระบบสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการ พบว่า ปีการศึกษา 2562 นักเรียนนักศึกษาออกกลางคันคิดเป็นร้อยละ 7.21 และ 4) ผลการประเมินรูปแบบการติดตามนักเรียนนักศึกษาเพื่อป้องกันปัญหาการออกกลางคันของวิทยาลัยเทคนิคเดชอุดมโดยนำระบบสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการ โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และจำนวนนักเรียนนักศึกษาที่ออกกลางคัน ปีการศึกษา 2562 ลดลงเหลือร้อยละ 7.21
Article Details
อ้างอิงแหล่งที่มา
References
จักรภพ เนวะมาตย์. (2559). การพัฒนารูปแบบการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือผู้เรียนของวิทยาลัยเทคนิคตาก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วิทยาลัยเทคนิคตาก, ตาก.
ชาคริต จองไว. (2559). การใช้โปรแกรมติดตามผู้เรียนเพื่อลดจำนวนการออกกลางคันของนักศึกษา. การประชุมวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรมระดับชาติ ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ธีระ รุญเจริญ. (2550). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.
นิพนธ์ แก้วเกิด. (2555). การพัฒนาระบบการดูแลสนับสนุนนักเรียนเพื่อลดจำนวนการออกกลางคันของนักเรียนอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุรีวิยาสาส์น.
มธุกันตา แซ่ลิ้ม. (2559). การบริหารงานฝ่ายพัฒนากิจการนักเรียนนักศึกษาที่ส่งผลต่อสาเหตุการออกกลางคันของนักเรียนนักศึกษาอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดนครปฐม. ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
วิทยาลัยเทคนิคเดชอุดม. (2560). รายงานข้อมูลนักเรียนนักศึกษา. อุบลฯ: งานทะเบียน.
วิทยาลัยเทคนิคเดชอุดม. (2560). รายงานการประชุมผู้ปกครอง. อุบลฯ: งานกิจกรรมนักเรียนนักศึกษา.
วิทยาลัยเทคนิคเดชอุดม. (2560). คู่มือนักเรียนนักศึกษา. อุบลฯ: งานทะเบียน.
วิทยาลัยเทคนิคเดชอุดม. (2561). รายงานข้อมูลนักเรียนนักศึกษา. อุบลฯ: งานทะเบียน.
วิทยาลัยเทคนิคเดชอุดม. (2562). รายงานข้อมูลนักเรียนนักศึกษา. อุบลฯ: งานทะเบียน.
สมาน อัศวภูมิ. (2550). การใช้วิจัยพัฒนารูปแบบในวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 2(2): 10.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2560). เอกสารประกอบการปฏิบัติงานโครงการลดปัญหาการออกกลางคันของผู้เรียนอาชีวศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: สำนักติดตามและประเมินผลการอาชีวศึกษา.