การประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนนักศึกษาของวิทยาลัยเทคนิคเดชอุดม

Main Article Content

พงษ์ศักดิพล ทาแก้ว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงประเมิน มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนนักศึกษาของวิทยาลัยเทคนิคเดชอุดม ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการและด้านผลผลิต โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 818 คน ประกอบด้วย ผู้บริหาร จำนวน 4 คน ครูจำนวน 65 คน เจ้าหน้าที่ จำนวน 42 คน  นักเรียน นักศึกษา จำนวน 331 คน ผู้ปกครอง จำนวน 331 คน และผู้แทนชุมชน 45 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิและกำหนดขนาดตัวอย่างโดยการคำนวณจากตารางของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม จำนวน 4 ฉบับ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ผลการประเมินพบว่า 1) ด้านบริบท ผลการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน นักศึกษาของวิทยาลัยเทคนิคเดชอุดม โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าทุกข้อมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก  2) ด้านปัจจัยนำเข้า ผลการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน นักศึกษาของวิทยาลัยเทคนิคเดชอุดม โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าทุกข้อมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก  3) ด้านกระบวนการ ผลการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน นักศึกษาของวิทยาลัยเทคนิคเดชอุดม โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าทุกข้อมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก  4) ด้านผลผลิต ผลการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน นักศึกษาของวิทยาลัยเทคนิคเดชอุดม โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). คุณธรรม 8 ประการ. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2561 จากhttp://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=51267&Key=infographics

ขวัญนภา อุณหกานต์. (2553). การประเมินโครงการคุณธรรมนำความรู้สู่ความดีของโรงเรียนต้นแบบคุณธรรมนำความรู้สู่ความดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2. ครุศาสตรมหาบัณฑิต วิจัยและประเมินผลการศึกษา. กาญจนบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

ฉันทนา โรจน์บูรณาวงศ์. (2552). รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน โรงเรียนบ้านมะกอก โดยบูรณาการกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมรูปแบบเดิมกับแนวทางการปลูกฝังจิตสำนึกคุณธรรมผ่านระบบการศึกษาของมูลนิธิพุทธฉือจี้ไต้หวัน. รายงานการประเมินโครงการ โรงเรียนบ้านมะกอก.

ดลนภา การักษ์. (2556). การประเมินโครงการส่งเสริมเด็กดีมีคุณธรรมเข้าศึกษามหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกําแพงแสน. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ทัศน์พล เรืองคิริ. (2559). การประเมินโครงการค่ายเสริมสร้างค่านิยมหลัก 12 ประการสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดบุรีรัมย์. ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สุรีวิทยาสาส์น.

ปฏิวัติ ใจเมือง. (2556). การประเมินโครงการคุณธรรม จริยธรรมของโรงเรียนขี้เหล็กพิทยาคม อำเภออาจสามารถ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยวิทยาเขตร้อยเอ็ด. 5(2): 35.

ป๋วย อึ้งภากรณ์. (2545). ทัศนะว่าด้วยการศึกษา. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโกมลคีมทอง.

พรฉลอง พันธ์เกียรติ. (2553). การประเมินโครงการค่ายอบรมคุณธรรมจริยธรรมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร จังหวัดสระบุรี. ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน. สระบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

ยุวดี คำเงิน. (2561). การประเมินโครงการพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23. ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ราชกิจจานุเบกษา. (2560). การศึกษาแห่งชาติ. พ.ศ. 2542. แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2561 จาก https://www.bic.moe.go.th/images/stories/Porrorbor2542.pdf

วิทยาลัยเทคนิคเดชอุดม. (2561). คู่มือนักเรียนนักศึกษาประจำปีการศึกษา 2561. อุบลฯ: งานทะเบียน

วิทยาลัยเทคนิคเดชอุดม. (2562). รายงานผลการประเมินคะแนนคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน นักศึกษา ของวิทยาลัยเทคนิคเดชอุดม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561. อุบลราชธานี: วิทยาลัยเทคนิคเดชอุดม

ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม (ศูนย์คุณธรรม). (2551). สังคมมีคุณค่าจากต้นกล้าคุณธรรม. กรุงเทพฯ: ศูนย์คุณธรรม.

ศิริพร พุ่มแก้ว. (2553). การประเมินโครงการเสริมสร้างวินัยคุณธรรมและจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 5 (ธนวิถี) จังหวัดยะลา. ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารหารศึกษา. ยะลา: มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา.

สร้อยเพชร ชารินทร์. (2556). การประเมินโครงการพัฒนาวินัยเด็กและเยาวชนโรงเรียนบ้านโคกสำโรง อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สุพัตรา เชิดกฤษ. (2556). การประเมินโครงการส่งเสริมคุณลักษณะอันพึ่งประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านโค้งตะคร้อ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5. ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2558). คู่มือการใช้หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2556. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

อุทัย บุญมี และพรเทพ รู้แผน. (2555.) การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมและสร้างสำนึกความเป็นไทยเพื่อพัฒนาเด็กไทยอย่างยั่งยืนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2. วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 7(20): 95.

Cronbach, L, J. (1963). Course Improvement Through Evaluation. Teachers College Record, 64 (6), 672-683.

Krecie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Journal of Educational and Psychological Measurement. 30(3): 607-610.

Stufflebeam, D.L ed.al. (1971). Educational Evaluation and Decision Making. Illinois: F.E. Peacock Publishers.