การพัฒนากิจกรรมซ่อมเสริมการเรียนรู้แบบเชิงรุกร่วมกับชุดฝึกทักษะการอ่านและเขียนภาษาไทยการสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

ไอลดา เกิดนาค

บทคัดย่อ

การรายงานครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านและความสามารถด้านการเขียนภาษาไทยของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างก่อนและหลังเรียน และศึกษาพฤติกรรมการอ่านและการเขียนของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยกิจกรรมซ่อมเสริมการเรียนรู้แบบเชิงรุกร่วมกับชุดฝึกทักษะการอ่านและการเขียน รวมทั้งศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อกิจกรรมซ่อมเสริมการเรียนรู้แบบเชิงรุกร่วมกับชุดฝึกทักษะการอ่านและการเขียน กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 9 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะแจงตามความมุ่งหมาย (Purposive Sampling) จากนักเรียนที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีความบกพร่องทางการเรียนรู้ และสมัครใจร่วมเข้ารับการทดสอบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมซ่อมเสริมการเรียนรู้แบบเชิงรุก จำนวน 18 แผน ชุดฝึกทักษะการอ่านและการเขียน จำนวน 9 ชุด แบบทดสอบความสามารถด้านการอ่าน แบบทดสอบความสามารถด้านการเขียน แบบสังเกตพฤติกรรมการอ่านและการเขียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และโดยใช้สถิติ The Wilcoxon matched – pairs signed – ranks test ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่มีความบกพร่องในการเรียนรู้ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยกิจกรรมซ่อมเสริมการเรียนรู้แบบเชิงรุกร่วมกับชุดฝึกทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย มีความสามารถด้านการอ่านและการเขียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 รวมทั้งมีพฤติกรรมการอ่านและการเขียนที่สะท้อนแนวโน้มของการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมซ่อมเสริมการเรียนรู้แบบเชิงรุกร่วมกับชุดฝึกทักษะการอ่านและการเขียน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย

References

ทิศนา แขมณี. (2550). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญล้อม ศรีคร้าม. (2549). ความพึงพอใจของนักเรียนในช่วงชั้นที่3 ของโรงเรียนรัฐบาล จังหวัดปทุมธานีที่มีต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษกับครูชาวต่างชาติ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏวลัยอลงกรณ์.

ผดุง อารยะวิญญู. (2544). การศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แว่นแก้ว.

พรรณิภา กิจเอก. (2550). ผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบกระตือรือร้นต้อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อ วิชาเคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม.

พรพิไล เลิศวิชา และอัครภูมิ จารุกร. (2550). สมองวัยเริ่มเรียนรู้. กรุงเทพฯ : สถาบันวิทยาการเรียนรู้.

ไพฑูรย์ อนันต์ทเขต. (2562). Visual Thinking คืออะไร. สืบค้นจาก http://celt.li.kmutt.ac.th/km/index.php/what-is-visual-thinking/

ฟิสิกส์ ฌอณ บัวกนก และคณะ. (2562). “แนวทางการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ โรงเรียนบ้านโป่งน้ำร้อน ตำบลเสริมกลาง อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง,” วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 12(1) : มกราคม – มีนาคม.

มนัท สูงประสิทธิ์ และคณะ. (2561). โรคบกพร่องทางการเรียนรู้. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.

มนัส บุญประกอบ และคณะ. (2543). การวิจัยและพัฒนาเทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวทางยกระดับคุณภาพวิทยาศาสตร์ศึกษา. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

โรงเรียนเทศบาลวัดท่าสะต๋อย. (2560). รายงานการประเมินตนเองโรงเรียนเทศบาลวัดท่าสะต๋อย. เชียงใหม่: เทศบาลนครเชียงใหม่.

ศันสนีย์ ฉัตรคุปต์. (2543). ความบกพร่องในการเรียนรู้หรือแอลดี ปัญหาการเรียนรู้ที่แก้ไขได้. กรุงเทพ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

ศิราณี สนั่นเอื้อ. (2559). การพัฒนารูปแบบชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัยเกี่ยวกับ การฟัง พูด อ่าน เขียน วิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาลวัดเหนือ จังหวัดร้อยเอ็ด. ร้อยเอ็ด : โรงเรียนเทศบาลวัดเหนือ.

ศิริพร มโนพิเชษฐวัฒนา. (2547). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์แบบบูรณาการที่เน้นผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ที่กระตือรือร้น เรื่อง ร่างกายมนุษย์. ปริญญานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศิริลักษณ์ หินแก้ว. (2551). รายงานการใช้ชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ชุดพัฒนาผลสัมฤทธิ์และทักษะการเรียนรู้ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. สืบค้นจาก http://www.kroobannok.com/board_view.php?b_id=25019&bcat_id=16

สถาบันภาษาไทย สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2559). คู่มือการวัดและประเมินผลความสามารถในการอ่านและการเขียน” ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

สมศักดิ์ ทองช่วย. (2559). เอกสารประกอบการจัดการเรียนการสอนหลักภาษาไทยในชีวิตประจำวัน. กรุงเทพฯ : สาขาวิชาภาษาไทย โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์.

ไสว นามเกตุ. (2555). การปฏิบัติการพัฒนาการอ่านภาษาไทยเพื่อจับใจความโดยใช้แบบฝึกทักษะชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านโปร่ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1. วิทยานิพนธ์. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558). เอกสารชุดแนวทางพัฒนาการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). แนวทางพัฒนาการเรียนรู้สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.

สุทิน ชนะบุญ. (2560). สถิติและการวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัยด้านสุขภาพเบื้องต้น. เอกสารวิชาการ. สำนักงานสาธารณสุขขอนแก่น ขอนแก่น.

หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). หลักสูตรฝึกอบรมการนิเทศการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โดยกระบวนการ Coaching & Mentoring. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.