วิธีการเชิงปริมาณ และวิธีการเชิงคุณภาพ สู่วิธีการวิจัยแบบผสม

Main Article Content

สมโภชน์ อเนกสุข

บทคัดย่อ

วิธีการเชิงปริมาณ แบบแผนการวิจัยจะถูกกำหนดไว้ล่วงหน้า เช่น นิยามของมโนทัศน์และนิยามปฏิบัติการ วิธีการวิจัยที่ใช้ การควบคุมความลำเอียง การกำหนดตัวอย่างให้เป็นตัวแทนประชากร การใช้เครื่องมือเก็บข้อมูลที่มีมาตรฐาน เป้าหมายของการทดสอบหรือการปรับปรุงทฤษฎี  การทดสอบสมมติฐาที่คาดหวัง วิธีการทางสถิติที่เหมาะสมสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล ส่วนอีกแนวทางหนึ่ง วิธีการเชิงคุณภาพ เป็นความพยายามทำความเข้าใจพฤติกรรมแบบองค์รวมของมนุษย์ภายใต้ปริบทและความซับซ้อนทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง นักวิจัยมักจะสนใจศึกษาประสบการณ์ของมนุษย์ โดยทำการศึกษาเชิงลึกกับกลุ่มคนจำนวนน้อย หรือเจาะจงศึกษากับกลุ่มประชาชนที่ต้องการ วิธีการเชิงคุณภาพมีความยืดหยุ่นในการศึกษาสิ่งที่เกิดขึ้น และนักวิจัยตอบสนองสิ่งที่ได้เรียนรู้ในกระบวนการที่ทำการศึกษา โดยที่นักวิจัยเป็นเครื่องมือสำคัญในการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ และการตีความ วิธีการวิจัยแบบผสม โดยทั่วไป เป็นการวิจัยที่ใช้วิธีการทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพร่วมกัน ได้แก่ การรวบรวม การวิเคราะห์ และการบูรณาการข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เพื่อตอบคำถามเฉพาะ หรือชุดคำถามในการศึกษาเรื่องเดียวกัน หรือมีการศึกษาหลายช่วงในเรื่องนั้น ในบทความนี้นำเสนอ 5 รูปแบบ คือ (1) แบบแผนการวิจัยแบบลู่เข้า (2) แบบแผนที่ใช้วิธีหนึ่งไปขยายผลของอีกวิธีหนึ่ง (3) แบบแผนเชิงสำรวจ (4) แบบแผนเชิงอธิบาย และ (5) แบบแผนปฏิสัมพันธ์หลายขั้นตอน

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิชาการ

References

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2547). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: เฮาส์ ออฟ เคอร์มิสท์.

รัตนะ บัวสนธ์. (2555). วิธีการวิจัยเชิงผสมผสานสำหรับการวิจัยและประเมิน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2545). วิธีวิทยาการวิจัยแบบผสม: กระบวนทัศน์ใหม่สำหรับการวิจัยทางการบริหารการศึกษา. ขอนแก่น: อักษราพิพัฒน์.

Bordens, K. S., & Abbott, B. B. (2007). Research and design methods: a process approach. New York, NY: Mc-Graw-Hill.

Babbie, E. (2013). The practice of social research. 13th.ed. Belmont, CA: Thomson Wadsworth.

Cozby, P. C. (2005). Methods in behavioral research. 9th.ed. New York, NY: McGraw-Hill.

Creswell, J. W. (2003). Research design: Qualitative, quantitative, and mixed method approaches. 2nd.ed. Thousand Oaks, CA: Sage.

Creswell, J. W. (2005). Educational research: planning, conducting, and evaluating quantitative and qualitative research. 2nd.ed. Upper-Saddle River, New Jersey: Pearson.

Greene, J. C. (2007). Mixed methods in social inquiry. San Francisco, CA: Jossey-Bass.

Hesse-Biber, S. N. (2010). Mixed methods research: Merging theory with practice. New York, NY: The Guilford Press.

Johnson, B., & Christensen, L. (2004). Educational research: Quantitative, qualitative, and mixed approach. 2nd. ed. Boston, MA: Pearson.

Laws, S., Harper, C., & Marcus, R. (2003). Research for development: A practical guide. New Delhi: VISTAAR.

Leedy, P. D., & Ormrod, J. E. (2015). Practical research: Planning and design. 11th. ed. Boston: Pearson.

McMillan, J. H., & Schumacher, S. (1997). Research in Education: A Conceptual Introduction. 4th. ed. New York: Longman.

Monette, D. R., Sullivan, T. R., & Dejong, C. R. (2011). Applied social research: A tool for the human services. 8th.ed. www.cengage.com/international: Book/Cole, Cengage Learning.

Moore, N. (2000). How to do research: The complete guide to designing and managing research project. 3rd.ed. London: Library Association Publishing.

Neuman, W. L. (2014). Social research methods: qualitative and quantitative approaches. Pearson New International Edition. www.pearsoned.co.uk: Pearson.