การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสอนอ่านและเขียนภาษาไทย ของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 3

Main Article Content

วรนาฏ สุคนธรัตน์
วิมลรัตน์ จตุรานนท์
สิราวรรณ จรัสรวีวัฒน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสอนอ่านและเขียนภาษาไทย ของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 3 และศึกษาผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรม  กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย  คือ  ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยที่ไม่จบวิชาเอกภาษาไทย และสอนนักเรียนที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง จำนวน 20 คน  วิธีดำเนินการวิจัย มี 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม ระยะที่  2  การศึกษาผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรม  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ย 2 กลุ่มที่ไม่อิสระจากกัน และการหาค่าดัชนีประสิทธิผล  ผลการวิจัย  พบว่า 1)  หลักสูตรฝึกอบรมที่พัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบ คือ สภาพปัญหาและความจำเป็น  หลักการของหลักสูตรฝึกอบรม  จุดมุ่งหมายของหลักสูตรฝึกอบรม  เนื้อหาของหลักสูตรฝึกอบรม  กิจกรรมการฝึกอบรม  สื่อประกอบการฝึกอบรม  และการวัดและประเมินผลการฝึกอบรม   ซึ่งมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 2)  ผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรม พบว่า  คะแนนเฉลี่ยของผลการทดสอบความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการสอนอ่านและเขียนภาษาไทย หลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรม  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และค่าดัชนีประสิทธิผลของหลักสูตรฝึกอบรมเท่ากับ 0.6387 ผู้เข้ารับการ อบรมมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 63.87  มีการนำความรู้ไปใช้วางแผนเตรียมการสอนอ่านและเขียนภาษาไทย ไปปฏิบัติร้อยละ 84.41  และเจตคติที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรมในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด 

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย

References

นาตยา ปิลันธนานนท์. (2545). จากมาตรฐานสู่ชั้นเรียน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิพม์ไทยวัฒนาพานิช.
มธุรส ประภาจันทร์. (2559). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเสริมสร้างความสามารถในการสอนอ่าน และ
วินิจฉัยการอ่าน สำหรับครูระดับประถมศึกษาตอนต้น. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต,
การวิจัยและพัฒนาหลักสูตร, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
มนตรี วงษ์สะพาน. (2554). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูในการสร้างนวัตกรรมบทเรียน
คอมพิวเตอร์มัลดิมีเดียที่เน้นกระบวนการคิดวิเคราะห์. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎี
บัณฑิต, การวิจัยและพัฒนาหลักสูตร, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สนิท สัตโยภาส. (2556). การสอนภาษาไทยในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: บรรณกิจ 1991.สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). คู่มือการสอนอ่านเขียน โดยการแจกลูกสะกดคำ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). รายงานผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของ
ผู้เรียน (Reading Test: RT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2563. เข้าถึงได้จาก
http://180.180.244.43/NT/ExamWeb/FrLogin.aspx
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). รายงานผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่
3 ประจำปีการศึกษา 2563. เข้าถึงได้จาก http://180.180.244.43/NT/ExamWeb/FrLogin.aspx
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา (2557) เอกสารประกอบการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาบุคลากรครู
และศึกษานิเทศก์ด้านเทคนิคการประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนรู้. (อัดสำเนา)
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 3. (2562). รายงานสรุปผลการนิเทศติดตามการ
จัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. (อัดสำเนา)
Slavin, R. E. (1991). Student Team Learning: A Practical Guide to Cooperative Learning.
Washington DC: National Education Association.