ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตภาคกลาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตภาคกลาง เพื่อพัฒนาโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาและเพื่อตรวจสอบความตรงของโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการและหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้โรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปีการศึกษา 2563 จำนวน 1,200 คน จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า5 ระดับของลิเคิร์ท วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการหาค่าสถิติพื้นฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและวิเคราะห์โมเดลด้วยโปรแกรม LISREL และตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา ประกอบด้วย 4 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยสภาพแวดล้อมของโรงเรียน ปัจจัยคุณลักษณะงานวิชาการ ปัจจัยพฤติกรรมการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาและปัจจัยการบริหารนวัตกรรมการเรียนรู้งานวิชาการของโรงเรียน แต่ละปัจจัยมีค่าเฉลี่ยระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) โมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา ประกอบด้วยตัวแปรแฝงภายนอก 2 ตัวแปร ได้แก่ ตัวแปรสภาพแวดล้อมของโรงเรียน และตัวแปรคุณลักษณะงานวิชาการ และตัวแปรแฝงภายใน 3 ตัวแปร ได้แก่ ตัวแปรพฤติกรรม การบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ตัวแปรการบริหารนวัตกรรมการเรียนรู้งานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาและตัวแปรประสิทธิผลการบริหารจัดการงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา 3) โมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณาได้จากค่าไคสแควร์ (χ2) ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ ( p > .05) มีค่าเท่ากับ 222.16 ค่าไคสแควร์สัมพัทธ์ (χ2 / df) เท่ากับ 1.105 ค่า GFI เท่ากับ 0.99 ค่า AGFI เท่ากับ 0.98 ค่า CFI เท่ากับ 1.00 ค่า RMSEA เท่ากับ 0.00 และสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้
Article Details
อ้างอิงแหล่งที่มา
References
กรกต พรหมประโคน. (2563). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อผลสำเร็จของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา,คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
โกมินทร์ ตั้งสวัสดิ์, ภิญโญ มนูศิลป์ และยุพร ริมชลการ. (2559). การพัฒนาตัวบ่งชี้การบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 10(1), 18-26.
ขวัญศิริ บุญสรรค์. (2562). ปัจจัยสาเหตุพหุระดับที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออก. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.
เขษมสร โข่งศรี และชัยรัตน์ บุมี. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 41. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร.
ทินกร ภาคสนาม. (2559). การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นภาวะผู้นำเชิงปฏิบัติการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 6(3), 59-68.
ธีรพงษ์ ก้านพิกุล. (2557). ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการโรงเรียนอนุบาลเมืองใหม่ชลบุรี สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.
นพรัตน์ ศรีสุวรรณ์, สมคิด สร้อยน้ำ และนวัตกร หอมสิน. (2561). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อ ประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชนในประเทศไทย. วารสารมนุษยศาสาตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยนครพนม, 9(2), 25-32.
บัญชา ปลื้มอารมย์. (2557). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อบรรยากาศโรงเรียนตามการรับรู้ของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.
ปฐมพงศ์ ชวาลิต. (2561). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาภาคใต้ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.
ศักดา กระแหมะตบ, นพรัตน์ ชัยเรือง และประยงค์ ชูรักษ์. (2561). แนวทางการพัฒนางานวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 10(2), 159-171.
สันติ บุญภิรมย์. (2552). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ: บุ๊คพอยท์.
สาริศา จันทร์แรม. (2562). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออก. ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). รายงานการศึกษาไทย พุทธศักราช 2561.กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานศึกษาธิการภาค 2. (2562). รายงานข้อมูลสารสนเทศพื้นฐานทางการศึกษาในพื้นที่สำนักงานศึกษาธิการภาค 2 ปีการศึกษา 2563. ลพบุรี: สำนักงานศึกษาธิการภาค 2.
สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2562). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. เข้าถึงได้จาก https://www.niets.or.th/uploads/editor/files/O-NET/ 3%20เผยแพร่%20rapid%20report%20M3-2563%20(1).pdf
สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2562). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. เข้าถึงได้จากhttp//www.niets.or.th/uploads/editor/files/O-NET/rapid%20report%20M6-2563-27-4-64.pdf
สุดาพร ทองสวัสดิ์. (2556). การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของการบริหารสถานศึกษา. ในการประชุมหาดใหญ่วิชาการ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ครั้งที่ 4 (หน้า 338-348). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
อธิวัฒน์ พันธ์รัตน์. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต,สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
อารีย์ ภูมิพันธุ์. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
Ball, G.A., & Trevino, L. K. (1994). Just and unjust punishment: Influences on subordinate performance and citizenship. Academy of Management Journal, 37(2), 299-322.
Hoy, W. K., & Miskel, C. G. (2008). Educational administration: Theory, research, and practice (8thed.). Boston: McGraw-Hill.
Sergiovanni, T. J. (1998). Educational governance and administration (3rded.). Boston: Allyn and Bacon.